กอนช. เฝ้าระวังภัยแล้งในพื้นที่ ตอนกลางและภาคอีสานตอนล่างที่มี ฝนตกน้อย เผยกรมอุตุฯ ประเมินพบโอกาสจะมีพายุหมุ นเขตร้อนผ่านเข้าประเทศไทย 1-2 ลูก ช่วยเติมน้ำต้นทุนในช่วงเดือน ส.ค. – ก.ย. นี้ แต่เน้นย้ำต้องไม่ประมาท เตรียมพร้อมบริหารความเสี่ยงทั้ งกรณีภัยแล้งจากเอลนีโญและอุ ทกภัยในช่วงฤดูฝนอย่างมีประสิ ทธิภาพ พร้อมรณรงค์ในเรื่องการประหยั ดน้ำและงดทำนาปีต่อเนื่อง รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้หน่ วยงานท้องถิ่นและประชาชน ให้ร่วมช่วยขุดลอก ขุดสระเก็บน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำในช่วง 2 เดือนนี้ที่มีโอกาสที่อาจจะมี ฝนตกไว้ให้ได้มากที่สุด
วันที่ 3 สิงหาคม 2566 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำ แห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้ อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยภายหลังเป็ นประธานการประชุมการประเมิ นสถานการณ์น้ำ กอนช.กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ อาคารจุฑามาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯว่า เนื่องจากในช่วงนี้มีร่องมรสุ มพาดผ่านในพื้นที่ ตอนบนของประเทศ ส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มี กำลังแรงขึ้น ทำให้มีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้ นในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ชายขอบของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดย กอนช. ได้มีการประกาศแจ้งเตือนพื้นที่ เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ ยวข้องในการให้ความช่วยเหลื อประชาชนอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมามีพื้นที่ ประสบอุทกภัยใน 4 จังหวัด ได้แก่ จ.ตาก จ.อำนาจเจริญ จ.นครพนม จ.อุดรธานี ซึ่งคาดว่าสถานการณ์น้ำจะคลี่ คลายกลับสู่ภาวะปกติในเร็ววันนี้ ทั้งนี้นับเป็นสัญญาณดีที่มีฝนตกมากขึ้ น ซึ่งช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ หลายพื้นที่และเพิ่มปริมาณน้ำต้ นทุนให้อ่างเก็บน้ำต่าง ๆ โดยเฉพาะอ่างฯ ที่มีปริมาณน้ำน้อย เช่น เขื่อนสิริกิติ์ เชื่อนภูมิพล เป็นต้น โดยในช่วงวันที่ 27 ก.ค. – 2 ส.ค. 66 มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ รวม 1,221 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) แต่ยังคงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับพื้นที่ ตอนกลางของประเทศและภาคตะวั นออกเฉียงเหนือตอนล่าง ยังคงมีฝนค่อนข้างน้อยกว่าปกติ และมีแนวโน้มประสบปัญหาภัยแล้ง จึงจำเป็นต้องติดตามเฝ้าระวั งสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่ อเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลื อประชาชน
ดร.สุรสีห์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีปริมาณน้ำทั้งประเทศ 41,413 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 50% ของความจุรวม โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การเพียง 17,307 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 30% แม้ว่าสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ ต่าง ๆ จะดีขึ้น แต่ยังถือว่ามีปริมาณน้ำน้อย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง นอกจากนี้ ปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศก็ยั งคงต่ำกว่าค่าปกติ 19% จึงไม่สามารถประมาทได้แม้มี ฝนตกเพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้ โดย กอนช. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้ องในการติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เตรียมพร้อมเครื่องจักรเครื่ องมือ และเร่งสูบน้ำจากลำน้ำเข้าสู่พื้ นที่ที่ขาดแคลนน้ำ เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ได้รั บความเดือดร้อนน้อยที่สุด และบูรณาการความร่วมมือทั้ งกรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งหน่วยงานท้องถิ่น ในการบริหารจัดการน้ำทั้ งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทา นให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งนี้ คาดว่าในระยะนี้จะยังมี ฝนกระจายตัวแต่ปริ มาณจะลดลงจากช่วงที่ผ่านมา แต่ยังคงมีแนวโน้มที่ปริ มาณฝนจะเพิ่มขึ้นในช่วงเดือน ส.ค. – ก.ย. นี้ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาประเมิ นสถานการณ์ว่ามีโอกาสที่จะมี พายุหมุนเขตร้อนผ่านเข้ามาได้ 1-2 ลูก โดย สทนช. ได้มีการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ และการซักซ้อมการตั้งศูนย์บริ หารจัดการน้ำส่วนหน้า เพื่อเตรียมรับมือกรณีมี ฝนตกมากจากพายุดังกล่าว รวมทั้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้ องร่วมขับเคลื่อน 12 มาตรการรับมือฤดูฝนอย่างเคร่ งครัด ในขณะเดียวกัน ได้เตรียมบริหารความเสี่ ยงในกรณีที่ไม่มีพายุจรเข้ามา โดยได้วางแผนบริหารจัดการน้ำ 2 ปี เพื่อให้มีน้ำเพียงพอถึงช่วงฤดู แล้ง ปี 2567/68 ภายใต้สภาวะเอลนีโญ พร้อมรณรงค์ในเรื่องการประหยั ดน้ำและงดทำนาปีต่อเนื่อง รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้หน่ วยงานท้องถิ่นและประชาชน ร่วมช่วยขุดลอก ขุดสระเก็บน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำในช่วง 2 เดือนนี้ที่มีโอกาสที่อาจจะมี ฝนตกไว้ให้ได้มากที่สุด นับว่าต้องอาศัยความร่วมมื อของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง
สำหรับสถานการณ์น้ำในภาคตะวั นออกซึ่งมีหลายภาคส่ วนแสดงความกังวลถึงปริมาณน้ำที่ อาจจะมีไม่เพียงพอและเสี่ยงเกิ ดภัยแล้งนั้น ขณะนี้ภาคตะวันออกมีการบริหารจั ดการน้ำในลักษณะของโครงข่ายน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำบางพระ ที่ปัจจุบันมีปริมาณน้ำน้อย จะมีการผันน้ำจากโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาพระองค์ไชยานุชิ ตและจากแม่น้ำบางปะกง เข้าไปช่วยเหลือ เช่นเดียวกับ จ.ฉะเชิงเทรา ในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง ที่หากมีปริมาณน้ำไม่เพี ยงพอในช่วงฤดูแล้ง จะมีการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำ บางพระกลับมาเพื่อสนับสนุนน้ำอุ ปโภค บริโภค โดย กอนช. ให้ความสำคัญในการบริหารจั ดการน้ำในภาพรวมของพื้นที่ ภาคตะวันออกเพื่อป้องกันปั ญหาขาดแคลนน้ำภายใต้สภาวะเอลนี โญ