พิษโนรู 9 อำเภอในโคราชอ่วม เขื่อนขนาดใหญ่-กลาง 19 แห่งน้ำเต็มแล้ว

  •  
  •  
  •  
  •  

กรมชลประทาน จับตาพื้นที่ 9 อำเภอ ในจังหวัดนครราชสีมาเกิดน้ำท่วมขัง หลังเกิดฝนตกหนัก ขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง และขนาดกลางอีก 17 แห่ง ปริมาณน้ำเต็มความจุแล้ว ยืนยันอ่างเก็บน้ำทุกเขื่อนมีความมั่นคงแข็งแรงดี ใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ

นายเกรียงไกร ภาคพิเศษ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีฝนที่ตกชุกต่อเนื่องตลอดทั้งจากอิทธิพลของพายุ “โนรู” ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา และส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำต่างๆอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ในเขตจังหวัดนครราชสีมา ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2565 จำนวน 27 แห่ง ดังนี้

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่  อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 358 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันละ 4.87 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายวันละ 0.91 ล้าน ลบ.ม., อ่างเก็บน้ำมูลบน อำเภอครบุรี มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 141 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันละ 1.86 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายวันละ 0.70 ล้าน ลบ.ม., อ่างเก็บน้ำลำแชะ อำเภอครบุรี มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 264.80 ล้าน ลบ.ม. หรือ 96 % ของความจุอ่างฯ มีน้ำไหลลงอ่างฯ วันละ 3.80 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายวันละ 0.03 ล้าน ลบ.ม., และ อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อำเภอปักธงชัย มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 151 ล้าน ลบ.ม. หรือ 97% ของความจุอ่างฯ มีน้ำไหลลงอ่างฯ วันละ 3.25 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายวันละ 2.58 ล้าน ลบ.ม.

ส่วน อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 23 แห่ง เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำระหว่าง 51% – 80% ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 แห่ง มีปริมาณน้ำระหว่าง 81% – 100% ของความจุอ่างฯ จำนวน 5 แห่ง และอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำในอ่างฯ มากกว่า 100% ของความจุอ่างฯ อีก 17 แห่ง ดังนี้

อ่างเก็บน้ำห้วยบ้านยาง อำเภอเมืองนครราชสีมา มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 6.88 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างวันละ 0.29 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำวันละ 0.28 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 1.32 เมตร , อ่างเก็บน้ำห้วยยาง อำเภอปักธงชัย มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 5.74 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างวันละ 0.23 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำวันละ 0.24 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 1.15 เมตร

อ่างเก็บน้ำห้วยปราสาทใหญ่ อำเภอด่านขุนทด มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 8.92 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างวันละ 0.34 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำวันละ 0.46 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 2.60 เมตร, อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนบน) อำเภอด่านขุนทด มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 8.88 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างวันละ 0.80 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำวันละ 0.63 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 2.38 เมตร

อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง)อำเภอโนนไทย มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 31.88 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีน้ำไหลลงอ่างวันละ 2.83 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำวันละ 3 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 1.13 เมตร, อ่างเก็บน้ำหนองกก อำเภอพระทองคำ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 3 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีปริมาตรน้ำไหลลงอ่างวันละ 0.03 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำวันละ 0.026 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 0.95 เมตร

อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำเค็ม อำเภอบัวใหญ่ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 0.67 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีการระบายน้ำวันละ 0.002 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 1.50 เมตร, อ่างเก็บน้ำห้วยยางพะไล อำเภอแก้งสนามนาง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 13.94 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีการระบายน้ำวันละ 0.11 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 3.05 เมตร

อ่างเก็บน้ำบึงกระโตน อำเภอประทาย มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 11.41 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯวันละ 0.056 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำ 0.034 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 0.99 เมตร, อ่างเก็บน้ำห้วยสะกาด อำเภอพิมาย ปริมาณน้ำในอ่างฯ 3.66 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯวันละ 0.16 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำวันละ 0.16 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 1.43 เมตร

อ่างเก็บน้ำลำฉมวก อำเภอห้วยแถลง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 26.77 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯวันละ 1.76 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำ 2.43 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสเขื่อน 1.31 เมตร, อ่างเก็บน้ำห้วยเพลียก อำเภอครบุรี มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 1.51 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯวันละ 0.185 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำวันละ 0.18 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 3.45 เมตร

อ่างเก็บน้ำห้วยหิน อำเภอเสิงสาง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 1.96 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯวันละ 0.009 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำวันละ 0.002 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 1.96 เมตร, อ่างเก็บน้ำลำสำลาย อำเภอปักธงชัย มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 48 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีปริมาตรน้ำไหลลงอ่างวันละ 1.56 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำวันละ 1.78 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 1.52 เมตร

อ่างเก็บน้ำบ้านสันกำแพง อำเภอวังน้ำเขียว มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 6.58 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯวันละ 0.57 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำวันละ 0.66 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 3 เมตร, อ่างเก็บน้ำลำเชียงสา อำเภอวังน้ำเขียว มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 7.60 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีน้ำไหลลงอ่างฯวันละ 1.38 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำวันละ 1.43 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 3.50 เมตร, และ อ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ อำเภอเสิงสาง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 101.77 ล้าน ลบ.ม. เต็มความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯวันละ 5.12 ล้าน ลบ.ม. มีการระบายน้ำ 3.51 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน 5.54 เมตร

ทั้งนี้ อ่างเก็บน้ำทุกแห่งยังมีความมั่นคงแข็งแรง และมีระดับน้ำต่ำกว่าระดับสันเขื่อน สำหรับการระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำ จะพิจารณาควบคุมให้มีความสอดคล้องกับปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่าง ส่วนอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 100% ของความจุอ่างฯ นั้น จะระบายไหลผ่านอาคารระบายน้ำล้น ซึ่งเป็นอาคารที่ทำหน้าที่เพื่อให้น้ำล้นผ่าน ในปริมาณที่สัมพันธ์กับปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างฯ พื้นที่ด้านท้ายบางแห่งอาจมีน้ำท่วมขังในบริเวณที่เป็นที่ลุ่มต่ำบ้าง เนื่องจากมีปริมาณน้ำจากฝนที่ตกในพื้นที่มาเสริมด้วย

ทั้งนี้สำนักงานชลประทานที่ 8 ได้เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ ด้วยการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ตามเกณฑ์ควบคุม พร้อมทั้งปรับการระบายน้ำให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำที่มีระดับน้ำเกินระดับเก็บกัก(Upper Rule Curve) จะพิจารณาระบายน้ำ โดยไม่กระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายหรือกระทบน้อยที่สุด เพื่อให้มีพื้นที่รองรับน้ำฝนที่จะตกลงมาอีกในระยะต่อไป

นอกจากนี้ ยังได้เตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ รถแบคโฮ/รถขุด รถเทรลเลอร์ เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เครื่องผลักดันน้ำ ไว้ในพื้นที่เสี่ยง สามารถนำไปช่วยเหลือได้ทันที มีการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญได้ปฏิบัติตาม 13 มาตรการ รับมือฤดูฝนปี 2565 ของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ตลอดจนทำการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ถึงสถานการณ์น้ำและแนวทางในการบริหารจัดการน้ำให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะสิ้นสุดฤดูฝน