กรมชลฯเตรียมเตรียมรับมือพายุโซนร้อน “คมปาซุ” ขึ้นฝั่งวันนี้

  •  
  •  
  •  
  •  

กรมชลประทาน เตรียมพร้อมรับมือ พายุโซนร้อน “คมปาซุ” ขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนวันนี้ (13 -14 ต.ค.) ต้องเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมงทั้ง 4 ภาค หวั่นเกิดน้ำไหลหลาก ดินถล่ม  และน้ำล้นตลิ่ง

      นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่องพายุโซนร้อนกำลังแรง “คมปาซุ” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 13 – 14 ตุลาคม 2564 จะอ่อนกำลังลง และทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ประกอบกับในช่วงวันที่ 12 – 16 ตุลาคม 2564 ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

     ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ทางกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)ได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ (ONE MAP) แล้วพบว่า มีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง และดินถล่มในช่วงวันที่ 13 – 20 ตุลาคม 2564 ทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ แม่น้ำมูล 3 จังหวัดคือดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ 

    ส่วนภาคกลาง บริเวณ แม่น้ำป่าสัก 4 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี  ลพบุรี  และสุพรรณบุรี ภาคตะวันออก  จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด ขณะที่ภาคตะวันตก ได้แก่ จ.กาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี ภาคใต้ จังหวัดระนอง และพังงา เป็นต้น นอกจากนี้ให้เฝ้าระวังระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้น กระทบบริเวณพื้นที่ท้ายอ่างฯ ทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาท นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และสกลนคร าคตะวันออก จ.ครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด  ภาคกลาง ที่ จ.นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี  และภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี

ทั้งนี้ทางกรมชลประทาน ได้สั่งการโครงการชลประทานในพื้นที่เสี่ยง ให้เฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศรวมทั้งสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ  พร้อมปรับแผนบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 หรือเกณฑ์ควบคุมสูงสุด (Upper Rule Curve) ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์พิจารณาปรับการระบายน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำที่จะเพิ่มขึ้น และเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ รวมทั้งใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นแก้มลิงหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลากตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคารชลประทานให้พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ เป็นต้น