เลขาฯ สทนช.ชี้ปีนี้น้ำท่วมบางจุด ยันไม่ซ้ำรอยปี 54 หลังพบ 4 เขื่อนหลักน้ำมีน้อยมาก

  •  
  •  
  •  
  •  

               

                            พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นำคณะตรวจสถานการณ์น้ำที่ชัยนาท

“ประยุทธ์” นำคณะลุยพื้นที่ ติดตามสถานการณ์น้ำที่เขื่อนเข้าพระยาจังหวัดชัยนาท “เลขาฯเลขาฯ สทนช.” ยันน้ำเหนือปีนี้ไม่ใกล้เคียงปี’54  ระบุจะท่วมบางจุดในช่วงฝน เผยที่น่าห่วงตือน้ำฤดูแล้งหน้า หลัง 4 เขื่อนหลักปริมาณน้ำยังน้อย

     วันที่ 15 กันยายน 2564  ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ขึ้นเฮลิคอปเตอร์สำรวจสถานการณ์น้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนเข้าร่วมประชุมกับคณะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนเจ้าพระยาและการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ณ สำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท 

                             (จากซ้าย)ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์- ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล

     ดร.สมเกียรติ กล่าวถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำลุ่มเจ้าพระยาที่มีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาจากอิทธิพลาของพายุ “โกนเซิน”ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ในอัตราเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา สถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ ระดับตลิ่ง 26.20 ม. ความจุลำน้ำ 3,590 ลบ.ม./วินาที น้ำไหลผ่านวัดได้ 1,906 ลบ.ม./วินาที ต่ำกว่าตลิ่ง 3.87 ม. ขณะนี้ระดับน้ำทรงตัวแล้ว

     สำหรับการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ สทนช.ได้รายงานต่อที่ประชุมถึงสถานการณ์น้ำในภาพรวม แนวทางการบริหารจัดการน้ำ พร้อมทั้งนายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการเพื่อให้ทุกหน่วยงานพร้อมปฏิบัติการเพื่อลดผลกระทบในช่วงฤดูฝนต่อเนื่องถึงช่วงฤดูแล้งหน้าใน 7 ประเด็นสำคัญ คือ

     1.ปัจจัยที่เป็นเหตุให้อาจเกิดน้ำท่วมปี’64 จะแตกต่างจากปี’54 ได้แก่ ปริมาณฝน และปริมาณน้ำในแหล่งน้ำ ที่ยังต่ำ โดยเฉพาะการเตรียมการมอบหมายทุกหน่วยงานเป็นเจ้าภาพที่เป็นระบบเป็นการล่วงหน้า เช่น การปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อน การตัดยอดน้ำ การพร่องน้ำ การเตรียมพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อรับน้ำเข้าหลัง 15 ต.ค.นี้      การเร่งระบายน้ำผ่านแม่น้ำสายหลักในช่วงนี้ โดยหลีกเลี่ยงการระบายน้ำเข้าระบบชลประทานที่จะระบายน้ำได้ช้ากว่า เป็นต้น

      2.คาดการณ์พายุในช่วงปลายเดือน ก.ย – ต.ค อาจมี 1-2 ลูก เข้ามาบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคตะวันออก ซึ่งก็ไม่น่ากังวลนักเนื่องจากแหล่งน้ำและพื้นที่ยังสามารถรับน้ำได้

      3. ภาคเหนือและภาคกลาง พบว่า ฝนยังตกน้อยและปริมาณน้ำในอ่างยังน้อย ต้องเร่งเก็บกักน้ำให้มากขึ้น เพื่อเตรียมการสำหรับสนับสนุนการปลูกข้าวรอบสอง

      4.หน่วยงานต่างๆ ภายใต้ กอนช.ได้ดำเนินการตาม 10 มาตรการ ซึ่ง สทนช.จะเร่งรัดติดตามให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง

       5. กรมฝนหลวงและการบินเกษตรจะเร่งเติมน้ำในแหล่งน้ำในภาคเหนือ ภาคกลาง ก่อนที่จะหมดฤดูฝน เพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อการสนับสนุนการปลูกข้าวในฤดูแล้ง

        6.นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กรมชลประทานไปพิจารณาการปรับเปลี่ยนพืชใช้น้ำน้อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่ทำให้ฝนตกไม่สม่ำเสมอ บางแห่งมาก บางแห่งน้อย

       และ 7.นายกรัฐมนตรีได้ย้ำถึงการเตรียมความพร้อมที่บางพื้นที่อาจมีในตกหนักได้ โดยแจ้งให้ประชาชนทราบถึงแผนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องด้วย