จับตา 5 เขื่อนน้ำเกิน 100 % ช่วง ก.ย.-ต.ค.64 นี้ ชี้อีสาน 2 อ่างฯเสี่ยงล้น

  •  
  •  
  •  
  •  

กอนช. สั่งจับตา 5 เขื่อน “จุฬาภรณ์-อุบลรัตน์ -ลำพระเพลิง-หนองปลาไหล-ประแสร์” มีแนวโน้มปริมาณน้ำมากกว่า 100 % ของความจุเก็บกัก และมีความเสี่ยงน้ำล้นอ่าง และอีก 2 อ่างเก็บน้ำในภาคอีสาน “เขื่อนน้ำพุง-จุฬาภรณ์” ระบบ ONE MAP ชี้ว่าน้ำเกินเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวัง ในเดือนกันยายน- ตุลาคม 2564.ค.นี้ คากว่าฝนตกชุกมากกว่าค่าปกติ  แต่อีก 8 เขื่อน้ำยังมีน้อย โดยเฉพาะ 4 เขื่อนลุ่มน้ำเข้าพระยา พร้อมกำชับ กฟผ.เกาะติดน้ำเขื่อนบางลาง รองรับฝนตกหนักทางภาคใต้ช่วง 19-24 ก.ค.นี้

    ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ทั้งนี้ กอนช. ได้มีการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้น

    สำหรับสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศไทยในวันนี้ (19 ก.ค. 64) พบว่า ปัจจุบันปริมาณน้ำทั้งประเทศ มีจำนวน 36,073 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุรวม ในจำนวนนี้เป็นปริมาณน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 31,627 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 44% ของความจุรวม ในส่วนของระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักในภาคกลางและภาคตะวันออก มีน้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อาทิ แม่น้ำเจ้าพระยา สะแกกรัง ป่าสัก บางปะกง เป็นต้น ส่วนภาคใต้ มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มลดลง อาทิ แม่น้ำตาปีและแม่น้ำปัตตานี ขณะที่ภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน

      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี และแม่น้ำโขง มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มทรงตัว อย่างไรก็ตาม จากการติดตามพบว่า มีอ่างเก็บน้ำเฝ้าระวังน้ำมาก เนื่องจากเกินเกณฑ์ระดับควบคุมสูงสุด 2 แห่ง ได้แก่ อ่างฯน้ำพุง จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำเก็บกัก 56 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุ ยังมีพื้นที่สามารถรับน้ำได้อีก 109 ล้าน ลบ.ม. อ่างฯจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 116 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 71 ของความจุ มีพื้นที่สามารถรับน้ำได้อีก 48 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งได้เน้นย้ำกรมชลประทานติดตามสถานการณ์ฝนเพื่อปรับแผนบริหารจัดการน้ำไม่ให้มีการเก็บกักน้ำมากเกิน หากมีฝนตกในพื้นที่มากขึ้นจนส่งผลกระทบกับพื้นที่ท้ายน้ำได้

      ขณะเดียวกัน ช่วงวันที่ 19– 24 ก.ค. 64 พบว่า มรสุมรตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้ฝังตะวันตกมีฝนตกหนัก กอนช. จึงได้กำชับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พิจารณาควบคุมระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำบางลางให้อยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำในเขื่อนสูงสุด เพื่อให้มีพื้นว่างรองรับน้ำหลากกรณีฝนตกหนัก

      ปัจจุบันมีปริมาณน้ำคิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุ มีพื้นที่สามารถรับน้ำหลากได้ 756 ล้าน ลบ.ม. ซึ่ง กอนช. ได้ติดตามฝนคาดการณ์ระบบ ONE MAP พบว่า ในเดือน ก.ย.-ต.ค.ปีนี้ จะมีฝนตกชุกและปริมาณฝนตกมากกว่าค่าปกติ โดยปริมาณน้ำในอ่างฯ ส่วนใหญ่จะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเดือน ก.ย. ต่อเนื่องถึงเดือน พ.ย. โดยอ่างเก็บน้ำที่ปริมาณน้ำมีแนวโน้มมากกว่าร้อยละ 100 ของความจุเก็บกักและมีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ  มี 5 เขื่อนได้แก่ อ่างฯจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ อ่างฯอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น อ่างฯลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา       อ่างฯหนองปลาไหลและอ่างฯประแสร์ จ.ระยอง ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งเร่งเก็บกักน้ำสำหรับเป็นน้ำต้นทุนในช่วงฤดูแล้งหน้าด้วย

    นอกจากนี้ กอนช. ยังคงเฝ้าระวังปัญหาขาดแคลนน้ำช่วงฤดูฝน โดยขณะนี้พบว่ายังมีอ่างเก็บน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ อ่างฯแม่กวงอุดมธารา มีปริมาณน้ำเก็บกัก 48 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุ อ่างฯภูมิพล มีปริมาณน้ำเก็บกัก 4,125 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุ อ่างฯแม่จาง มีปริมาณน้ำเก็บกัก 22 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของความจุ

    อ่างฯสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 3,154 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุ บึงบอระเพ็ด มีปริมาณน้ำเก็บกัก 12 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของความจุ อ่างฯทับเสลา มีปริมาณน้ำเก็บกัก 25 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุ อ่างฯศรีนครินทร์ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 11,051 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 62 ของความจุ อ่างฯวชิราลงกรณ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 3,573 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุ ซึ่งจะมีการติดตามเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ