พิษน้ำท่วม พื้นที่การเกษตรอ่วมเกือบ 3 แสนไร่ เกษตรกรเดือนร้อนกว่า 7.7 หมื่นราย

  •  
  •  
  •  
  •  

สรุปพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเกือบ 3 แสนไร่ สัตว์เลี้ยงอีกกว่า 7.7 หมื่นตัว ในพื้นที่ 12 จังหวัด พบพืชไร่เสียหายมากที่สุดถึงพืชไร่ 120,043 ไร่ ตามนาข้าว 122 แสนไร่ เกษตรกรเดือดร้อนกว่า 7.7 หมื่นราย  

     ศูนย์ติดติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 19 ตุลาคม 2563 ว่า  สภาพภูมิอากาศประจาวัน เวลา 06.00 น.ร่องมรสุมกำลังอ่อนพัดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศกัมพูชา ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดำมัน ภาคใต้ และอ่าวไทย เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทย มีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชำชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดำมันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดำมันคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้ำคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนอง

    สถานการณ์อุทกภัย น้าไหลหลาก น้าเอ่อล้นตลิ่ง และวาตภัย จากอิทธิพลพำยุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดำมัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่งผลให้เกิดอุทกภัย น้ำไหลหลาก น้ำเอ่อล้นตลิ่ง และวาตภัย ช่วงวันที่ 7 ต.ค.63 – ปัจจุบัน จำนวน 26 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด นครราชสีมำ อุบลราชธานี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ กำแพงเพชร อุทัยธานี ชัยนาท เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี ชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรำ ปรำจีนบุรี ระยอง สระแก้ว ลพบุรี กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช พังงำ ตรัง สุราษฎร์ธานี และจังหวัดสตูล

      อย่างไรก็ตามสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 10 จังหวัด ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ กาแพงเพชร อุทัยธานี ลพบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว กาญจนบุรี เพชรบุรี ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และจังหวัดสตูล

    ส่วนผลกระทบด้านการเกษตร (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ต.ค.63) ด้านพืช ได้รับผลกระทบ 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี นครราชสีมำ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรำ สตูล และจังหวัดตรัง เกษตรกร 75,834 ราย พื้นที่ 281,964 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 116,099 ไร่ พืชไร่ 120,043 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 45,822 ไร่ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

       ด้านประมง ได้รับผลกระทบ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และจังหวัดตรัง เกษตรกร 203 ราย พื้นที่ (บ่อปลำ) 181 ไร่ กระชัง 100 ตรม. อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย  ขณะที่ด้านปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมำ เพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกษตรกร 988 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 77,421 ตัว แบ่งเป็น โค – กระบือ 11,470 ตัว สุกร 3,779 ตัว แพะ – แกะ 880 ตัว สัตว์ปีก 61,292 ตัว แปลงหญ้า 60 ไร่ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

     กระนั้นบางส่วนได้ให้การช่วยเหลือแล้ว อาทิ กรมชลประทาน ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 66 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 79 เครื่อง รถแบคโฮ 10 คัน รถเครน 1 คัน รถบรรทุก 8 คัน กระสอบทราย 500 ใบ , กรมปศุสัตว์ จัดเตรียมเสบียงอำหรรสัตว์ 5,600 ตัน ถุงยังชีพสำหรับสัตว์ 3,000 ถุง คอกสัตว์สำหรับตั้งจุดอพยพสัตว์ 30 ชุด และทีมสัตวแพทย์เคลื่อนที่ 325 หน่วย ได้ดำเนินการอพยพสัตว์แล้ว 1,828 ตัว แจกจ่ายเสบียงอำหารสัตว์พระราชทาน 24 ตัน (นครราชสีมา 12 ตัน เพชรบุรี 4 ตัน ประจวบคีรีขันธ์ 8 ตัน) สร้างเสริมสุขภาพสัตว์ 1,096 ตัว รักษาสัตว์ 19 ตัว และถุงยังชีพสำหรับสัตว์ 102 ถุง} หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเยี่ยมเยียนและประเมินความเสียหายหลังน้ำลด และได้แจกข้ำวกล่อง 1,026 กล่อง ถุงยังชีพ 100 ชุด