ไชโย!! น้ำสำรองในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศกว่า 50% แล้ว

  •  
  •  
  •  
  •  

      ศูนย์ปฏิบัติการอริยะ กรมชลประทาน รายสถานการณ์ล่าสุดดังนี้

1.สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 22ก.ย.63)

    -สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจำนวน 447 แห่ง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 38,420ล้าน ลบ.ม. (51% ของความจุอ่างฯ) ปริมาณน้ำใช้การได้ 14,557ล้าน ลบ.ม. (28% ของความจุน้ำใช้การ)

    -อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่าง จำนวน 17 แห่ง คือ ภูมิพลแควน้อยบำรุงแดน  แม่มอก ห้วยหลวง อุบลรัตน์ มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง ป่าสักชลสิทธิ์ ทับเสลา กระเสียว ศรีนครินทร์ วชิราลงกรณ คลองสียัด บางพระ แก่งกระจานและปราณบุรี

    -ปริมาณน้ำไหลลงอ่างและระบาย ของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง (1 พ.ค.63 – ปัจจุบัน) ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง12,648.43ล้าน ลบ.มปริมาณน้ำระบายจากอ่าง9,300.20ล้าน ลบ.ม.

2.สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) (ข้อมูล ณ วันที่ 22ก.ย.63)

    -ปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 10,519 ล้าน ลบ.ม (42% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 3,823ล้าน ลบ.ม.(21% ของความจุน้ำใช้การ)

    -ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง147.52ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจากอ่าง8.29ล้าน ลบ.ม.

3.ผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนปี 2563(ข้อมูล ณ วันที่ 22ก.ย.63)

    -ทั้งประเทศ แผนการจัดสรรน้ำ 11,975 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 10,794ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 90

    -เจ้าพระยา แผนการจัดสรรน้ำ 3,250 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 3,415ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ105

4.แผน-ผลการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2563 ในเขตชลประทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 16ก.ย.63)

    -ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 16.79 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 13.04ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 78ของแผน

     -ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 8.1 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 5.66 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 70 ของแผน

   -การเพาะปลูกพื้นที่ลุ่มต่ำบางระกำเพาะปลูกแล้ว 265,000 ไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 253,605 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 96 ของพื้นที่เพาะปลูก

5.คุณภาพน้ำ วันที่ 23 ก.ย. 63 เวลา 05.00 น.

     แม่น้ำเจ้าพระยา สถานีประปาสำแล จ.ปทุมธานี (ปกติ) สถานีสะพานพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี (ปกติ) แม่น้ำบางปะกง สถานีบางกระเจ็ด (ปกติ) แม่น้ำท่าจีน สถานีปากคลองจินดา (ปกติ) และ แม่น้ำแม่กลอง สถานีปากคลองดำเนินสะดวก (ปกติ)

6.กิจกรรมและการให้ความช่วยเหลือของกรมชลประทาน

   6.1 สถานการณ์ภัยแล้งและการช่วยเหลือ ปี 2562/63

โครงการจ้างแรงงานชลประทาน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ 2563 แผนจำนวน 88,838 คน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม2563  ปัจจุบัน ณ วันที่ 18 กันยายน  2563 จ้างแรงงานไปแล้ว 90,544 คน คิดเป็นร้อยละ 101.92

    6.2 สถานการณ์อุทกภัยและการช่วยเหลือ

สถานการณ์อุทกภัย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ชัยภูมิ และเลย

สถานการณ์อุทกภัย

1.จังหวัดร้อยเอ็ด

     จากอิทธิพล พายุโซนร้อน ”โนอึล” พาดผ่านประเทศไทยตอนบน ช่วงวันที่ 18 – 19 ก.ย. 63 ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ในเขตลุ่มน้ำยังตอนบน และตอนล่างเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจุบันมีพื้นที่รับผลกระทบน้ำท่วมนอกเขตคันพนัง รวม 7 ตำบล พื้นที่ประมาณ 9,330 ไร่ ได้แก่ ต.บึงเกลือ 3,350 ไร่ ต.ภูเงิน 1,840 ไร่ ต.วังหลวง 1,020 ไร่ ต.ขวาง 2,140 ไร่ ต.เหล่าน้อย 560 ไร่ ต.เมืองไพร 350 ไร่ และ ต.ศรีวิลัย 70 ไร่

แนวโน้มและการคาดการณ์

    – สถานี E.92 บ้านท่างาม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เวลา 05.00 น. มีระดับน้ำลึก 8.51 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง -0.29 ม.(ตลิ่งสูง 8.80 ม.) มีอัตราการไหล 186.90 ลบ.ม./วินาที (ความจุ 187 ลบ.ม./วินาที) แนวโน้มลดการให้ความช่วยเหลือ

     โครงการชลประทานร้อยเอ็ด ได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำ 27 เครื่อง, เครื่องผลักดันน้ำ 20 เครื่อง, กระสอบบรรจุทราย 12,000 กระสอบ, กล่อง Mattress ขนาด2x4x0.3 ม.,หินใหญ่,เสาเข็มพืด(Sheet pile),เครื่องจักรเครื่องมือและบุคลากรเฝ้าระวังตลอดแนวผนังกั้นน้ำยัง พร้อมรับมืออุทกภัยตามมาตรการการช่วยเหลือและบรรเทาอุทกภัยของกรมชลประทาน และแจ้งประชาสัมพันธ์ประชาชนบูรณาการทุกภาคส่วนในจังหวัด ในการช่วยเหลือประชาชน และสำนักงานชลประทานที่ 6

การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่

     1.ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ ท้ายฝายยางบ้านท่าลาด จำนวน 10 เครื่อง อัตราการผลักดันน้ำ เครื่องละ 1.30 ลบ.ม.รวมเป็น 13 ลบ.ม./วินาที

      2.ติดตั้ง เครื่องผลักดันน้ำ ที่สถานี E.102 สะพานบ้านค้อเหนือนางาม ช่วงรอยต่ออำเภอเมืองยโสธรและอำเภอเสลภูมิ จำนวน 10 เครื่อง อัตราการผลักดันน้ำเครื่องละ 1.30 ลบ.ม./วินาที รวมเป็น 13 ลบ.ม./วินาที

      3.บูรณาการจัดจราจรน้ำชี-น้ำยัง สชป.6 และ สชป.7 โดยการเปิดบานระบายพร่องน้ำในเขื่อนยโสธรปริมาณ 321.85 ลบ.ม.(27.8 ล้าน ลบ.ม./วัน) และเขื่อนธาตุน้อย 344.74 ลบ.ม. (29.8 ล้าน ลบ.ม./วัน) ไว้รองรับปริมาณน้ำที่จะไหลมาสมทบจากน้ำยังตอนบน

     หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มคาดว่ามวลน้ำจะไหลลงแม่น้ำชี และบางส่วนจะถูกผันเข้าไปเก็บกักไว้ตามแก้มลิงและแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยสำนักงานชลประทานที่ 6 จะบริหารจัดการน้ำรวมทั้งจัดจราจรน้ำในแม่น้ำชี-ลำน้ำยัง ให้สอดคล้องกับปริมาณฝนที่ตกลงมาและปริมาณน้ำในลำน้ำยัง เพื่อเร่งระบายลงแม่น้ำชี ลดผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 2 ฝั่งลำน้ำยัง

     2.จังหวัดชัยภูมิ

     จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “โนอึล” ช่วงวันที่18-20 ก.ย.63 เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ทำให้เกิดพื้นที่ได้รับผลกระทบอุทกภัยใน 2 ลุ่มน้ำ ดังนี้

    ลุ่มน้ำลำคันฉู มีน้ำล้นตลิ่งด้านเหนือน้ำลำคันฉู เข้าท่วมพื้นที่การเกษตรบ้านปากจาบ อ.บำเหน็จณรงค์ ประมาณ 50 ไร่ และเกิดคันดินขาด 1 จุด บริเวณด้านท้ายน้ำลำคันฉู ทำให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรประมาณ 150 ไร่ รวมพื้นที่น้ำท่วมทั้งหมด 200 ไร่ ปัจจุบันปริมาณน้ำในลำคันฉูเริ่มลดลงคาดว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 วัน

การให้ความช่วยเหลือ

    โครงการชลประทานชัยภูมิ นำเครื่องจักร เข้าทำการนำท่อนไม้ที่หักโคนลงกีดขวางทางน้ำ ที่ ฝายวังกุ่ม  ต.บ้านเพชร อ.บำเหน็จณรงค์ และนำเครื่องจักรเข้าทำการซ่อมปิดคันดินบริเวณท้ายน้ำ ปตร.ปากจาบ และทำการควบคุมปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน ปตร.ปากจาบ ให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

 การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่

     1.ควบคุมปริมาณน้ำ ที่ปตร.ปากจาบ ที่ไหลผ่านให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

     2.ระบายน้ำออก RMC ปตร. ปากจาบ เพื่อลดยอดน้ำ ประมาณ 4 ลบ.ม./วินาที

     3.จังหวัดเลย

     จากอิทธิพลพายุโซนร้อน “โนอึล” ทำให้เกิดฝนตกหนัก ปริมาณน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณน้ำพองที่สถานี E.29A เข้าท่วมบ้านผานกเค้า ต.ผานกเค้า อ.ภูกระดึง

แนวโน้มและการคาดการณ์

    – สถานี E.29A บ้านผานกเค้า อ.ภูกระดึง จ.เลย เวลา 05.00 น. ระดับน้ำ 9.30 ม. สูงกว่าตลิ่ง +0.30 ม.(ตลิ่งสูง 9.00 ม.) (ระดับน้ำสูงสุดเมื่อวันที่ 21 ก.ย.63 เวลา 09.00 น. ที่ระดับ 11.38 สูงกว่าตลิ่ง 2.38 ม.) ปริมาณน้ำ 238.50 ลบ.ม./วินาที(ความจุ 167.00 ลบ.ม./วินาที) แนวโน้มลดลงและยังมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 43 หลัง และพื้นที่การเกษตรได้รับความเดือดร้อน ไม่น้อยกว่า 6,000 ไร่

การให้ความช่วยเหลือ

    โครงการชลประทานเลย ได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำ 11 เครื่อง รถบรรทุกน้ำขนาด 6,000 ลิตร จำนวน 2 เครื่อง มอบน้ำดื่ม 240 ขวด และรถบรรทุกน้ำประปาใช้อุปโภค จำนวน 6,000 ลิตร ให้แก่เทศบาลภูกระดึง และตำบลผานกเค้า และหากมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่ม จะได้ใช้เครื่องสูบน้ำช่วยเหลือต่อไป