ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์
สำหรับแนวทางดำเนินการของโครงการจะมีการศึกษาทบทวนแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ลักษณะทางสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ครอบคลุม 22 ลุ่มน้ำ ก่อนมาจัดทำหลักเกณฑ์สำหรับการคัดเลือกพื้นที่ศึกษานำร่อง 1 แห่ง ขณะเดียวกัน จะมีการพัฒนาแบบจำลองเศรษฐกิจและอุทกวิทยาในพื้นที่นำร่อง เพื่อศึกษาสมดุลน้ำและวิเคราะห์ความต้องการใช้น้ำ ครอบคลุม ปริมาณน้ำต้นทุน ทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในปัจจุบันทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ ความต้องการใช้น้ำสำหรับอุปโภคบริโภค การเกษตร อุตสาหกรรม การรักษาระบบนิเวศ และการท่องเที่ยวและบริการ รวมถึงวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงและคาดการณ์อนาคตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยพิจารณาถึงผลกระทบต่างๆ ที่มีต่อการวิเคราะห์ทางเลือก เพื่อประยุกต์ใช้แบบจำลองเศรษฐกิจและอุทกวิทยาที่มีความเชื่อมโยงผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่สอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรูปแบบต่างๆ ให้เห็นผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง ครอบคลุมในทุกมิติ สทนช.จะจัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อแนวคิด วิธีการศึกษาและผลการรวบรวมข้อมูลพื้นที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับส่วนกลางและระดับลุ่มน้ำทั่วประเทศ ก่อนมาสรุปวิเคราะห์นำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย การบริหาร และการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำ
“ขั้นตอนในการศึกษาของโครงการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจะดำเนินการใน 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1.การศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ศึกษา วิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ศึกษาสภาพเศรษฐกิจสังคม ดำเนินการศึกษาข้อมูลทางเศรษฐกิจ สังคม ครอบคลุมสภาพเศรษฐกิจครัวเรือน ลักษณะและขนาดครัวเรือน การประกอบอาชีพ ค่านิยมและทัศนคติ และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงประชากรและการกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม