โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature รายงานว่า coronavirus (SARS-CoV-2) มี 2 รุ่น และยืนยันว่า ความแตกต่างทางพันธุกรรมไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดความรุนแรงของโรค ปัจจัยหลักของคนที่มีส่วนสำคัญต่อการรับเชื้อไวรัสเช่น อายุ ระดับเซลล์เม็ดเลือดขาว และการป้องกันระบบภูมิคุ้มกันที่มากเกิน
นักวิจัยจาก Fudan University และสถาบันอื่น ๆ ในประเทศจีน ทำการตรวจสอบพันธุกรรมของไวรัสจากผู้ป่วย 94 ราย และ 221 จีโนม ที่อยู่ในโครงการ Global Initiative on Sharing Avian Influenza Data (GISAID) และได้จำแนก coronavirus (SARS-CoV-2) ออกเป็น 2 รุ่น เรียกว่า clade I และ clade II ซึ่งแตกต่างกันใน 2 จุดของการกลายพันธุ์ที่สอดคล้องกับการวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามจากข้อมูลใหม่นี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในความรุนแรงของโรค ที่แสดงออกโดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อทั้งสองรุ่น
การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมแสดงให้เห็นว่า clade I เชื่อมโยงกับผู้ป่วยที่มาจากตลาดอาหารทะเลในหวู่ฮั่น ในขณะที่ clade II ที่พบในผู้ป่วยระยะแรก ๆ ไม่ได้เชื่อมโยงกับตลาดอาหารทะเล นอกจากนี้นักวิจัยได้ข้อสรุปว่า coronavirus ถ่ายทอดจากสัตว์สู่มนุษย์ในปลายเดือนพฤศจิกายน 2562 และยังพบว่าปัจจัยหลักของคนเป็นดัชนีหรือตัวชี้วัดที่ดีที่สุดของความรุนแรงของโรค
ปัจจัยเหล่านี้รวมถึงอายุและเงื่อนไขของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น lymphocytopenia และ cytokine storm โดยที่ Lymphocytopenia ที่สังเกตได้ในผู้ป่วย COVID-19 นั้นมีลักษณะของเซลล์เม็ดเลือดขาวในระดับต่ำโดยเฉพาะเซลล์ CD4 + และ CD8 + T และ cytokine storm เป็นภาวะที่ผู้ส่งสารภูมิคุ้มกันโปรตีนขนาดเล็กเรียกว่าไซโตไคน์อยู่ในพิกัดมากเกินไป โจมตีอวัยวะสำคัญแทนที่จะปกป้อง ซึ่งพบ cytokines IL-6 และ IL-8 ในระดับสูง ในผู้ป่วยที่มีอาการ COVID-19 รุนแรง
ครับ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า เชื้อ COVID 19 มี 2 รุ่น หรือ 2 รูปแบบ แตกต่างกันที่ 2 จุดของการกลายพันธุ์ รุ่นหนึ่งจะเชื่อมโยงกับตลาดอาหารทะเล แต่อีกรุ่นหนึ่งไม่เชื่อมโยง และก่อให้เกิดความรุนแรงของโรคได้ไม่ต่างกัน แต่ความรุนแรงของโรคจะมีมากขึ้นหรือไม่ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nature.com/articles/s41586-020-2355-0