นักลงทุนภูธรคึกคัก เตรียมยื่นชิง”โรงไฟฟ้าชุมชน”กลุ่ม Quick Win 17 เม.ย.นี้ มั่นใจกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้แน่นอน

  •  
  •  
  •  
  •  

                                                      สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์

ผู้ประกอบการแดนภูธรเตรียมตัวคึกคัก รอยื่นชิง “โรงไฟฟ้าชุมชน” กลุ่ม Quick Win ในวันที่ 17 เมษยน 2563 นี้ ตามนโยบาย “สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์” มั่นใจจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างรายได้เกษตรกรในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ได้ แถมยังเป็นการส่งเสริม EV ช่วยลดปริมาณสำรองไฟฟ้าด้วย เผยเครือข่ายเกษตรกรมีความแล้วที่จะปลูกหญ้าเนเปียรฺ์ และไผ่เกาหลีป้อนให้โรงไฟฟ้า ขณะที่นักลงทุนกลุ่มทั่วไปฟิตจัด แต่งตัวเตรียมพร้อมยื่นตรวจสอบฟีดเดอร์ ตั้งแท่นขอหนังสือรับรองจาก กฟภ. และผังเมืองเพื่อรอยื่นประมูลในรอบถัดไป

      จากนโยบายของนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เร่งรัดการขับเคลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากให้เร็วที่สุด เพื่ออัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือชุมชนให้มีรายได้จากการจำหน่ายเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ กระจายสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากเพิ่มขึ้น โดยกำหนดเปิดยื่นข้อเสนอจากผู้สนใจกลุ่ม Quick Win จำนวน 100 เมกะวัตต์ ในวันที่ 17 เมษายน 2563 ก่อนถึงคิวของกลุ่มทั่วไป จำนวน 600 เมกะวัตต์ ซึ่งทางการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้เปิดให้นักลงทุนผู้สนใจโครงการยื่นขอตรวจสอบจุดเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ที่ผ่านมานั้น ดูเหมือนว่าเป็นที่สนใจของบรรดาผู้ประกอบการในต่างจังหวัดอเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่ม Quick Win มีนักลงทุนได้มีการเตรียมพร้อมย่างคึกคัก ทั้งเตรียมลงทุน สถานที่ประกอบการ สร้างเครือข่ายเกษตรกรผลิตวัตถุดิบป้อนโรงไฟฟ้าอีกด้วย

                                                                     ผจญ ศรีบุญเรือง

      นายผจญ ศรีบุญเรือง นายกสมาคมการค้าก๊าซชีวภาพไทย ก็เป็นหนึ่งงที่ได้เคตรียมตัวในเรื่องนี้ เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาชิกแต่ละบริษัทมีความพร้อมในการเตรียมยื่นเสนอโรงไฟฟ้าชุมชนกลุ่ม Quick Win เช่นเดียวกับทางกลุ่มของตนก็พร้อมจะยื่นข้อเสนอในวันที่ 17 เมษายน นี้ เช่นกัน ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าชุมชนอยู่ในพื้นที่ อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา ขนาด 6 เมกะวัตต์ ใช้วัตถุดิบจากหญ้าเนเปียร์ ซึ่งได้วิสาหกิจชุมชนเข้ามาร่วมถือหุ้นตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด รวมถึงมีเกษตรกรที่ปลูกหญ้าเนเปียร์สนใจเข้ามาร่วมจำนวนมาก

       ทั้งนี้ การเปิดให้ยื่นโรงไฟฟ้าชุมชนครั้งนี้เป็นการนำเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก และสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับชุมชนจากการขายวัตถุดิบหญ้าเนเปียร์ในช่วงที่ได้รับความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะเดียวกันช่วงนี้มีการใช้ไฟฟ้าลดลงมากทำให้มีปริมาณสำรองไฟฟ้าเหลือขึ้นเยอะถึง 40% ซึ่งทางกระทรวงพลังงานกำลังเตรียมจะมีการทบทวนแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2561-2580 หรือ PDP 2018 อีกครั้ง ซึ่งส่วนตัวมองว่า รัฐบาลควรมีนโยบายชะลอแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่โรงใหม่ๆ ออกไปก่อน แล้วให้โรงไฟฟ้าที่จะหมดอายุปรับปรุงเครื่องจักรใหม่ เพื่อขยายเวลาการผลิตไฟฟ้าออกไปอีกสักระยะหนึ่ง

        ประการสำคัญควรส่งเสริมการลงทุนโรงไฟฟ้าชุมชนให้กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศเข้ามาแทน เพื่อรองรับการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ซึ่งต่อไปจะมีสถานีชาร์จไฟฟ้าตามจุดต่างๆ มากขึ้น โดยโรงไฟฟ้าชุมชนสามารถจ่ายไฟซัพพอร์ตตรงนี้ได้แทนที่จะส่งจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่จะมีความสูญเสียจากระบบส่งจำนวนมากในแต่ละปี

       อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์การการคัดเลือกโรงไฟฟ้าชุมชนครั้งนี้เข้มข้นมาก ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดใบอนุญาตตั้งโรงงาน หรือด้านผังเมือง ทำให้หลายโครงการไม่สามารถจะยื่นข้อเสนอครั้งนี้ได้ อย่างเช่นโครงการที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ก็ติดปัญหาผังเมืองเช่นกัน

                                                                          กิตติ ชีวะเกตุ

      ด้านนายกิตติ ชีวะเกตุ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) หรือ UAC บริษัทเจ้าของต้นแบบโรงไฟฟ้าชุมชน กำลังผลิต 1.5 เมกะวัตต์ ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ใช้วัตถุดิบจากหญ้าเนเปียร์ กล่าวว่า ในตอนนี้ทางยูเอซีสนใจยื่นเสนอโรงไฟฟ้าชุมชนที่ อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ 2 โรง กำลังการผลิตรวม 3 เมกะวัตต์ ใช้วัตถุดิบจากหญ้าเนเปียร์

                                                                    นฤพล วันทูล

        ขณะที่นายนฤพล วันทูล ผู้จัดการเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนธนาคารต้นไม้ บอกว่า  ขณะนี้ทางสมาชิกเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนธนาคารต้นไม้ทั่วประเทศ มีความพร้อมที่จะยื่นเสนอโรงไฟฟ้าชุมชนกลุ่มทั่วไปทันทีเมื่อกระทรวงพลังงานได้กำหนดวันเปิดยื่นที่ชัดเจน โดยได้ตั้งเป้าหมายไว้ 133 โรง จำนวน 499 เมกะวัตต์ ล่าสุดได้ยื่นขอตรวจสอบจุดเชื่อมต่อระบบไฟฟ้ากับทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ กฟภ. ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้ขอหนังสือรับรองต่อไป เช่นเดียวกับหนังสือรับรองจากผังเมืองด้วย

        “ตอนนี้ มีวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศเข้ามาร่วมและมีความพร้อมพื้นที่เพาะปลูกหญ้าเนเปียร์ส่งให้กับโรงไฟฟ้าชุมชน และมีความหวังโรงไฟฟ้าชุมชนจะมาสร้างรายได้ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 แต่ก็เป็นห่วงอยู่บ้างตรงที่ถ้าเปิดยื่นข้อเสนอกลุ่มทั่วไปล่าช้าเป็นหลังเดือนพฤษภาคม นี้ จะทำให้กลุ่มเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้วไม่มั่นใจอาจจะเปลี่ยนใจนำพื้นที่ไปปลูกอ้อย มันสำปะหลังแทนหญ้าเนเปียร์ก็เป็นได้ เพราะเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูกแล้ว” นายนฤพล กล่าว

                                                              ผศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล

       ส่วนน ผศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะที่ปรึกษาโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน กล่าวว่า วิสาหกิจุชมชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นเตรียมยื่นเสนอโรงไฟฟ้าชุมชนกลุ่มทั่วไปในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จำนวน 6 โรง ในพื้นที่ อ.หนองสองห้อง อ.ชนบท อ.บ้านฝาง อ.หนองนาคำ อ.ศรีชมพู และ อ.หนองเรือ โดยการร่วมมือกับ บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ ส่วนใหญ่จะใช้วัตถุดิบจากไม้ไผ่สายพันธุ์เกาหลี เพราะศักยภาพพื้นที่การเพาะปลูก 1 ไร่ สามารถปลูกได้ถึง 63 ตัน ซึ่งนอกจากจะได้ไผ่เป็นวัตถุดิบป้อนโรงไฟฟ้าแล้วยังได้ป่าเกิดขึ้นในชุมชนด้วย