สแกนก้นเขื่อน พบ 7 แห่งวิกฤติ มีน้ำไม่ถึง 30 % ลำพระเพลิงหนักสุดตามด้วยลำนางรอง

  •  
  •  
  •  
  •  

                                                         ดร.ทองเปลว กองจันทร์

สแกนก้นอ่างเก็บน้ำ พบ 7 เขื่อนวิกฤตสุดมีน้ำไม่ถึง 30 %ของความจุน้ำ อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิงที่โคราชหนัดสุมีน้ำเพียงร้อยบะ 17 ตามด้วยลำเขื่อนนางรอง จ.บุรีรัมย์  20 % กรมชลประทาน สั่งทุกโครงการชลประทานเฝ้าระวัง และคุมเข้มการบริหารจัดการน้ทั้ง 7 แห่ง และให้ดำเนินการตามแผนอย่างเคร่งครัด ย้ำน้ำที่มีอยู่เพียงพอที่จะสนับสนุนกิจกรรมการใช้น้ำเฉพาะการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ไม่มีสพหรับภาคการเกษตร

     ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึง สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศว่า ปัจจุบัน(26 พ.ย. 62) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 46,288 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 65 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 22,780 ล้าน ลบ.ม.

      สำหรับอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็บกักน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ ปัจจุบัน(26 พ.ย.62) มีจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 72 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 58 ล้าน ลบ.ม. , เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 48 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 11 ล้าน ลบ.ม. ,

       เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น มีปริมาณน้ำเก็บกัก 547 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 23 ของความจุอ่างฯ ขณะนี้ได้มีการนำน้ำก้นอ่างฯขึ้นมาใช้แล้ว ซึ่งจะไม่ส่งผลต่อเสถียรภาพความมั่นคงของตัวเขื่อน , อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา มีปริมาณน้ำเก็บกัก 26 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 17 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 25 ล้าน ลบ.ม. , เขื่อนลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 25 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 20 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 21 ล้าน ลบ.ม. , เขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี มีปริมาณน้ำเก็บกัก 38 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 21 ล้าน ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี มีปริมาณน้ำเก็บกัก 63 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 23 ล้าน ลบ.ม.

     ทั้งนี้ ปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำดังกล่าวข้างต้น เพียงพอที่จะสนับสนุนกิจกรรมการใช้น้ำเฉพาะการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ไม่เพียงพอต่อการภาคการเกษตร กรมชลประทาน จำเป็นต้องควบคุมและจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาเสถียรภาพของอ่างเก็บน้ำ ลำน้ำ ลำคลอง และระบบนิเวศต่างๆ จึงต้องขอความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนให้ร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัด และให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ด้วย