สรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำประเทศไทย(10 พ.ย.61)

  •  
  •  
  •  
  •  

           สรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำประเทศไทย

                                         วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายนพ.ศ. 2561 (07.00 น.)

  • สภาพอากาศและฝน: วันนี้มีฝนตกหนักบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา และภูเก็ตปริมาณฝน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จ.ชุมพร (205มม.) ประจวบคีรีขันธ์ (186มม.)นครศรีธรรมราช (145 มม.) และ จ.สุราษฎร์ธานี (122มม.)
  • สถานการณ์น้ำในแม่น้ำ: ทุกภาคของประเทศมีระดับน้ำน้อยถึงปกติ ยกเว้นภาคใต้แม่น้ำเจ้าพระยา อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ อัตราการไหลผ่าน427ลบ.ม./วินาที แม่น้ำมูล อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา อัตราการไหลผ่าน6 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำชีอ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ อัตราการไหลผ่าน13 ลบ.ม./วินาทีแม่น้ำแม่กลอง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี อัตราการไหลผ่าน87 ลบ.ม./วินาที ส่วนแม่น้ำโขงระดับน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยทุกสถานี
  • คุณภาพน้ำ :ภาพรวมคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นที่คลองลัดโพธิ์ อ.พระปะแดง จ.สมุทรปราการ และแม่น้ำตราดอ.เมืองตราด จ.ตราด ค่าความเค็มเกินเกณฑ์มาตรฐานน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา ส่วนแม่น้ำชี อ.โกสุมพิสัยจ.มหาสารคาม แม่น้ำนครชัยศรีอ.นครชัยศรี จ.นครปฐม แม่น้ำกุยบุรี อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ค่าความเค็มอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง
  • ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ : อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 35 อ่าง มีปริมาณน้ำ 57,548ล้าน ลบ.ม.ร้อยละ 81ปริมาณน้ำใช้การ 34,006 ล้าน ลบ.ม.อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 419 แห่ง มีปริมาณน้ำ 3,829ล้าน ลบ.ม. ร้อยละ 70ปริมาณน้ำใช้การ 3,397 ล้าน ลบ.ม.
  • อ่างเก็บน้ำ : อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำมากกว่า80% ของความจุ ที่ต้องเฝ้าระวัง (ภาคใต้) :ขนาดใหญ่ 3แห่ง ได้แก่ แก่งกระจาน ปราณบุรีและรัชชประภา ขนาดกลาง 15แห่งอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำน้อยกว่า 50% ของปริมาณน้ำใช้การ: ขนาดใหญ่ 10 แห่ง ได้แก่ แม่กวงอุดมธารา แม่มอกห้วยหลวง อุบลรัตน์ มูลบน ลำนางรองลำพระเพลิง สิรินธร ทับเสลา และกระเสียว ขนาดกลาง 87 แห่ง
  • สถานการณ์น้ำภาคใต้: จากอิทธิพลหย่อมกดอาการต่ำกำลังแรงปกคลุมชายฝั่งภาคใต้ตอนล่างส่งผลให้ผลตกหนักใน 2 วันที่ผ่านมาก่อให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ ประกอบกับอิทธิพลน้ำทะเลหนุนทำให้น้ำระบายลงสู่ทะเลได้ช้าลง ปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมขังและระดับน้ำสูงกว่าระดับตลิ่งในพื้นที่ จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ยกเว้นที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระดับน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง 0.81 ม. แนวโน้มลดลง ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ดังกล่าว ได้แก่อ่างฯ แก่งกระจาน จ.เพชรบุรีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 90% ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 2.70 ล้าน ลบ.ม./วัน ปริมาณน้ำระบาย 3.46 ล้าน ลบ.ม./วัน ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ในช่วง 1-2 วัน มีแนวโน้มคงเดิมและ อ่างฯ ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 83% ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 3.83 ล้าน ลบ.ม./วัน ปริมาณน้ำระบาย 2.36 ล้าน ลบ.ม./วันปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ในช่วง 1-2 วัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้
  • การติดตามการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 61/62

        กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดพื้นที่เป้าหมายให้ชัดเจน และกำหนดมาตรการเชิงป้องกันภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้งพิจารณาแหล่งน้ำสำรองเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

        กระทรวงมหาดไทย สำรวจแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อการอุปโภค บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งประปาชุมชนและประปาเทศบาลที่คาดว่าจะเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2561/2562

        กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมทรัพยากรน้ำ สำรวจพื้นที่ที่คาดว่ามีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำ เพื่อป้องกัน มิให้เกิดความเสียหายและกระทบต่อประชาชน และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล พิจารณาจัดหาแหล่งน้ำทางเลือกสำรองเพื่อบรรเทาปัญหา รวมทั้งจัดทำแผนที่แหล่งน้ำในอนาคตที่อาจมีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำในระดับตำบล

        สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานสนับสนุนในการจัดทำแผนที่แสดงพื้นที่คาดว่าประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทั้งอุปโภค บริโภค เกษตร และอุตสาหกรรม

        หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันบูรณการข้อมูล และเร่งดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ ต่อการอุปโภค บริโภค การเกษตร ปัญหาด้านการบริหารจัดการน้ำ ปริมาณความต้องการใช้น้ำ รวมทั้งมาตรการลดผลกระทบจากความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำ      

จัดทำโดย…ศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ  สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ