เตือน..เหนือล่าง-กลางบน – อีสานล่าง เตรียมรับฝน13-15 ก.ย.นี้

  •  
  •  
  •  
  •  

ศูนย์เฉพาะกิจฯ ชี้พิกัดภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลุ้นฝนยังตกหนักช่วง 13 – 15 กันยายนนี้ เผยสาเหตุร่องมรสุมพาดผ่าน แย้มเป็นข่าวดีสำหรับ 3 เขื่อนในภาคเหนือที่ยังมีน้ำน้อย “แม่งัดสมบูรณ์ชล -กิ่วลม –แม่กวงอุดมธารา”

นายสำเริง  แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ ประจำวันที่ 11 กันยสบย 25 61 ว่า ช่วงวันที่ 11 – 12 กันยายนนี้.ประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกบหนักบางแห่ง ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสมใน 28 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก ชัยภูมิ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด กาญจนบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร

[adrotate banner=”3″]

สำหรับฝนสะสม 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา  มีฝนตกหนักใน ภาคเหนือ จ.เชียงราย 88 มม. น่าน 60 มม. เชียงใหม่ 60 มม. ตาก 55 มม. พะเยา 42 มม. ภาคกลาง จ.กรุงเทพมหานคร 43 มม. นครสวรรค์ 41 มม. อุทัยธานี 38มม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น 51 มม. บุรีรัมย์ 42 มม. ภาคตะวันออก จ.นครนายก 57 มม. ปราจีนบุรี 43 มม. ฉะเชิงเทรา 39 มม. และภาคใต้ จ.นราธิวาส 35 มม. พังงา 35 มม. ส่วนภาคตะวันตก มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง

ทั้งนี้ ศูนย์เฉพาะกิจฯ ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ฝนและคาดการณ์พื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบอย่างใกล้ชิด เนื่องจากในช่วงวันที่ 13 – 15 กันยายน 2561 จะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น

เขื่อนแม่กวงอุดมธารา

อย่างไรก็ตาม จากการคาดการณ์แนวโน้มฝนจะเคลื่อนลงมาทางตอนกลางของประเทศในช่วงกลาง – ปลายเดือนกันยายน  แต่ปัจจุบันยังพบว่ามีอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้อยกว่า 60% ที่แม้ว่ามีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มขึ้นในบริเวณภาคเหนือตอนบน แบ่งเป็น อ่างฯ ขนาดใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล 59% เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 1% เขื่อนกิ่วลม 39% เพิ่มขึ้นเมื่อวาน 1% เขื่อนแม่กวงอุดมธารา 39% เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 1% และอ่างฯ ขนาดกลาง 17 แห่ง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นขนาดใหญ่ 1 แห่ง คือ เขื่อนห้วยหลวง ยังคงที่ 44% และขนาดกลาง 13 แห่ง ศูนย์เฉพาะกิจฯ ได้กำกับติดตามการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเร่งเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักในเขื่อนต่างๆ ให้เพียงพอไว้ใช้ในฤดูแล้ง รวมถึงปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงที่ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีความเหมาะสม โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนอย่างต่อเนื่องด้วย

“ตอนนี้สถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ 6 แห่งเฝ้าระวัง พบว่า ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนต่างๆ ลดลง และเร่งดำเนินการพร่องน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันเขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 105% ของความจุ เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ปริมาณน้ำ 102% ของความจุ เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี ปริมาณน้ำ 95% ของความจุ เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ปริมาณน้ำ 92% ของความจุ  เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก ปริมาณน้ำ 86% ของความจุ และเขื่อนนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี ปริมาณน้ำคิดเป็น 89% ของความจุ” นายสำเริง กล่าว