รู้ไว้ใช่ว่าผนวก“ปราจีนบุรี-บางปะกง” เป็นล่มน้ำเดียว

  •  
  •  
  •  
  •  

สทนช. ระดมสมองคณะกรรมการลุ่มน้ำ-หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาคตะวันออก ทบทวนการกำหนดขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำประเทศไทยใหม่ เบื้องต้นเห็นผ้องแบ่งลุ่มน้ำแบบคลัสเตอร์เป็น 4 ระดับควบรวมลุ่มน้ำปราจีนบุรี-บางปะกงเป็นหลุ่มเดียวกัน

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า การกำหนดขอยเขตลุ่มน้ำในประเทศไทยเพื่อการบริหารจัดการน้ำเดิมแบ่งเป็น 25 ลุ่มน้ำหลัก และ 254 ลุ่มน้ำสาขา ซึ่งที่ผ่านมา พบว่าการกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำในลักษณะดังกล่าว ยังมีบางส่วนที่ไม่สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม รวมถึงลุ่มน้ำหลักบางแห่งมีความสัมพันธ์คาบเกี่ยวกับลุ่มน้ำอื่น ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างเบ็ดเสร็จในแต่ละลุ่มน้ำ ทำให้มีแนวคิดในการทบทวนกำหนดขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำใหม่ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เบื้องต้นได้วางเกณฑ์การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำเป็น 4 ระดับ ประกอบด้วย ลุ่มน้ำประธาน ลุ่มน้ำหลัก ลุ่มน้ำย่อย และลุ่มน้ำสาขาย่อย โดยมีลุ่มน้ำประธานทั้งหมด 10 กลุ่มลุ่มน้ำ หรือคลัสเตอร์ลุ่มน้ำ และมีการจัดลุ่มน้ำหลักจากเดิม 25 ลุ่มน้ำ เบื้องต้นเหลือ 20 ลุ่มน้ำ

[adrotate banner=”3″]

ทั้งนี้ ปัจจุบัน สทนช. อยู่ในระหว่างดำเนินโครงการทบทวนการกำหนดขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและผลกระทบจากการแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำใหม่ให้เหมาะกับการบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวม ตลอดจนศึกษาผลกระทบของการกำหนดลุ่มน้ำในเชิงการบริหารจัดการน้ำ กฎหมาย การปกครอง และอื่นๆ พร้อมวิเคราะห์แบ่งขอบเขตของลุ่มน้ำย่อยและสาขาย่อย ให้เหมาะสมกับการนำมาใช้ในสนับสนุนงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยจัดให้มีเวทีชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ

ทั้งนี้เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคส่วนต่างๆ อันจะนำมาซึ่งผลการศึกษาที่รอบด้านและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย  โดยครั้งแรกได้จัดประชุมปฐมนิเทศโครงการศึกษาทบทวนแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำที่เหมาะสม (ภาคตะวันออก) ที่ จ.ฉะเชิงเทรา  เมื่อวันที่ 4 ก.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายจากคณะกรรมการลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำปราจีนบุรี ลุ่มน้ำโตนเลสาบ ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก พร้อมทั้งผู้แทนหน่วยงานราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 61 คนมาร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะ

ที่ประชุมเห็นด้วยตามหลักการกับการแบ่งลุ่มน้ำแบบคลัสเตอร์ และการรวมลุ่มน้ำปราจีนบุรีและลุ่มน้ำบางปะกง เป็นลุ่มน้ำเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังได้เสนอข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์อีกหลายด้าน เช่น เสนอให้มีใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นตัวกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำ การจัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดสาขานเพื่อป้องกันการซ้ำซ้อน และลดปัญหาการตกหล่นในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ เป็นต้น

“สทนช. จะเดินหน้าจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่ต่างๆอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับ ไปกลั่นกรองทบทวนการแบ่งกลุ่มลุ่มน้ำที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับ และสร้างประโยชน์กับประชาชนอย่างสูงสุด โดยคาดว่าจะสามารถสรุปรายละเอียดผลการศึกษาการแบ่งลุ่มน้ำใหม่ทั้งลุ่มน้ำประธาน ลุ่มน้ำหลัก ลุ่มน้ำย่อย และลุ่มน้ำสาขาย่อย แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2561 นี้” นายสมเกียรติ กล่าว