“กันเกรา”ยับยั้งเนื้องอกได้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…นายสวีสอง

                                                         ภาพนี้จาก : puechkaset.com

            ปัจจุบันต้น “กันเกรา” กลายเป็นไม้หายากไปแล้ว คนนิยมปลูกจัดสวน สำหรับบ้านที่มีเนื้อที่มาก หรือสถานประกอบการประเภทรีสอร์ท เพราะใบพุ่มสวย พอถึงหน้าฝนจะออกดอกและหอมทั้งวัน

            ที่สำคัญมีสรรพคุณทางยา คือ เปลือก ต้มดื่มเป็นยาบำรุงหัวใจ ใช้ทาแก้โรคผิวหนัง ปวดแสบปวดร้อน ส่วน แก่น รสเฝื่อน ฝาดขม สรรพคุณแก้ขับลม  แก้ไข้จับสั่น แก้หืด บำรุงธาตุ บำรุงม้าม แก้โรคริดสีดวงทวาร และเป็นยาอายุวัฒนะด้วย นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ยับยั้งเนื้องอก ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราเป็นต้น

            “กันเกรา” ทางภาคใต้จะเรียกว่า “ต้นเสา” หรือ”ตำเสา” ชาวมุสลิมเรียกภาษายาวีว่า “ตะมูซู” มีชื่อสามัญเรียกว่า ” Tembusu ” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Fagraea fragrans Roxb จัดอยู่ในวงศ์ LOGANIACEAE   เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงเต็มที่ถึง 30 เมตร  ส่วนยอดเป็นทรงกระบอกทึบ ปลายกิ่งห้องลู่ลง เปลือกหยาบและแตกเป็นร่องๆ สีน้ำตาลเข้ม เนื้อไม้สีเหลือง ละเอียด เหนียว และแข็งมาก ทางภาคใต้นิยมทำเป็นเสาบ้าน    

            ใบ เป็นใบเดียวที่ไม่ผลัดใบ ขึ้นตรงกันข้ามเป็นคู่ๆ มีรูปทรงรี ยาว 8 -12 ซม. กว้าง 2-4 ซม.ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น ใบจะบางแต่เหนียว ปลายใบแหลมสีเขียวเข้ม โคนก้านมีใบหุ้มกระชับ

            ดอก เป็นช่อขึ้นตามง่ามของใบและปลายกิ่ง มีดอกย่อยด้วยแต่เล็กมากเชื่อมติดกัน เมื่อดอกบานจะมีสีขาว และค่อยเป็นสีเหลือง กลิ่นหอมเย็น ดอกเล็กปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ยื่นออกมาราว 1-2 ซม. ท่อรังไข่คล้ายกับเข็มหมุดยื่นออกมาเช่นกัน

[adrotate banner=”3″]

            ผล ขนาดเล็กสีเขียวออกส้ม  ลักษณะกลม กว้างราว 6 มม. 5 พอผลสุกเต็มที่จะมีสีแดงเนื้ออ่อน เป็นที่โปรดปราณของนกกระกูลปรอด เมื่อมาบิดหรือขยี้เล่นจะมีเมล็ดเล็กเหมือนทรายหยาบจำนวนมาก

            การขยายพันธุ์โดยเมล็ด