ซีพีเอฟ จับมือกับสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบั ง เตรียมใช้เทคโนโลยี Environmental DNA หรือ eDNA ในการจัดการและควบคุมการแพร่ ระบาดของปลาหมอคางดำ ในแหล่งน้ำและพื้นที่กันชน ร่วมสนับสนุนภาครัฐแก้ไขปั ญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร ผู้บริหารสูงสุดด้านการวิจั ยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ได้กำหนดแผนปฏิบัติการเชิงรุก 5 โครงการ เพื่อสนับสนุนการแก้ปั ญหาการแพร่ กระจายของปลาหมอคางดำอย่างเร่ งด่วนของรัฐบาล เช่น การจับปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ ให้มากที่สุดและเร็วที่สุด เพื่ออำนวยความสะดวกในการปล่ อยปลาผู้ล่า ตามขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างเป็ นระบบ ซึ่งความร่วมมือกับสถาบันการศึ กษาเป็นหนึ่งในแผนปฏิบัติงานเชิ งรุกของบริษัทฯ ภายใต้โครงการที่ 5 ที่มุ่งมั่นร่วมทำวิจัยกับผู้ เชี่ยวชาญในการหาแนวทางควบคุ มประชากรปลาหมอคางดำในระยะยาว
ผศ.ดร.ธงชัย พุฒทองศิริ
ผศ.ดร.ธงชัย พุฒทองศิริ คณบดีคณะเทคโนโลยี การเกษตร สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบั ง (สจล.) กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ ว่า สจล. เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้ นการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่ ได้นำเทคโนโลยี Environmental DNA (eDNA) มาวิเคราะห์ DNA ของปลาหมอคางดำที่อยู่ในแหล่งน้ำ ธรรมชาติ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธี ในการประเมินสุ ขภาพโดยรวมของระบบนิเวศทางน้ำ จากการเก็บรวบรวมร่องรอยพันธุ กรรมที่สัตว์ปล่อยออกมาสู่สิ่ งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยให้สามารถระบุ ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่ อาศัยอยู่ในพื้นที่ และเข้าใจว่ าจำนวนประชากรของปลามีการเปลี่ ยนแปลงอย่างไร การวิเคราะห์และประเมินผลด้วยวิ ธีนี้จะช่วยป้องกันการระบาด และโอกาสเสี่ยงในการแพร่ กระจายไปยังแหล่งน้ำอื่นได้อย่ างมีประสิทธิภาพ
ผศ.ดร.วัลย์ลดา กลางนุรักษ์ ผู้ช่วยคณบดี คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. กล่าวว่า เทคโนโลยี eDNA เป็นวิธีการใหม่ในการสำรวจสัตว์ น้ำและประเมินความหลากหลายทางชี วภาพที่มีความแม่นยำสูง สามารถตรวจพบร่องรอยดีเอ็นเอที่ สัตว์น้ำปล่อยออกมาในน้ำ ช่วยระบุการมีอยู่ของสัตว์น้ำ ชนิดนั้นได้ แม้ในปริมาณหรือจำนวนตัวที่น้ อยมาก หรือในบริเวณที่ยากต่ อการสำรวจแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้ การสุ่มตัวอย่างด้วยเครื่องมื อประมง
ผศ.ดร.วัลย์ลดา กลางนุรักษ์
“การใช้ eDNA สำรวจการแพร่ กระจายของปลาหมอคางดำเป็นวิธีที่ มีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้สามารถระบุขอบเขตพื้นที่ ที่มีการระบาดได้ชัดเจน กำหนดพื้นที่กันชนเพื่อป้องกั นการแพร่ระบาด สามารถนำข้อมูลมาประกอบการพั ฒนาการจัดการและควบคุมการแพร่ ระบาดของปลาหมอคางดำได้อย่างยั่ งยืน” ผศ.ดร.วัลย์ลดา กล่าว
สำหรับโครงการความร่วมมือระหว่ าง สจล. กับซีพีเอฟ จะทำการศึกษาในลุ่มน้ำสำคั ญของประเทศไทย โดยเริ่มต้นเก็บน้ำในพื้นที่ที่ มีรายงานการแพร่ ระบาดของปลาหมอคางดำ จากนั้นนำตัวอย่างน้ำที่เก็บได้ ไปทำการวิเคราะห์ eDNA ในห้องปฏิบัติการ เพื่อระบุการมีอยู่ และความหนาแน่ นของปลาหมอคางดำในแต่ละพื้นที่ รวมถึงแหล่งน้ำที่ยังไม่ ระบาดแต่มีโอกาสเสี่ ยงของการแพร่กระจาย (พื้นที่กันชน) นำมาช่วยให้การวางแนวทางการเฝ้ าระวังและกำหนดมาตรการควบคุมไม่ ให้มีการแพร่กระจายได้อย่างมี ประสิทธิภาพและทราบผลได้อย่ างรวดเร็ว
นอกจากนี้ ในการศึกษายังครอบคลุมถึ งการหาความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ของสัตว์น้ำประจำถิ่นชนิดอื่นๆ อาทิ ปลาผู้ล่าในธรรมชาติ ซึ่งทำได้โดยการจับปลาด้วยตาข่ ายหรือเครื่องมือประมงที่ เหมาะสม จากนั้นนับจำนวนและระบุชนิ ดของปลาที่จับได้ในพื้นที่ที่ กำหนด เพื่อนำมาร่วมพิ จารณาหาแนวทางการป้องกันการแพร่ ระบาดได้อย่างยั่งยืน
ผศ.ดร.วัลย์ลดา กล่าวต่อไปว่า การวิเคราะห์ผลจากเทคโนโลยี eDNA จะสนับสนุนการวางแผนและกำหนดวิ ธีการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดได้ อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถปล่อยปลาผู้ล่าที่ เป็นชนิดเดียวกับที่มีอยู่ ในแหล่งน้ำธรรมชาติได้อย่ างเหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องนำปลาผู้ล่าชนิ ดอื่นที่อาจเป็นเอเลียนสปีชีส์ เข้าไปในพื้นที่
สำหรับแผนปฏิบัติการเชิงรุ กของซีพีเอฟ ในการแก้ปัญหาการแพร่ กระจายของปลาหมอคางดำ ประกอบด้วย โครงการที่ 1 สนับสนุนการรับซื้ อปลาหมอคางดำจากทุกจังหวัดทั่ วประเทศที่มีการระบาด ราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 2,000,000 กิโลกรัม โครงการที่ 2 ร่วมสนับสนุนภาครัฐและชุมชน ปล่อยปลาผู้ล่าลงสู่แหล่งน้ำ จำนวน 200,000 ตัว โครงการที่ 3 ร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมจั บปลา อุปกรณ์จับปลาและกำลังคน ในทุกพื้นที่ที่ประสบปัญหา โครงการที่ 4 ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำพั ฒนาผลิตภัณฑ์ อาหารจากปลาหมอคางดำ และโครงการที่ 5 ทำวิจัยร่วมกับผู้เชี่ ยวชาญในการหาแนวทางควบคุ มประชากรปลาหมอคางดำในระยะยาว.