ซีพีเอฟ สนับสนุนกรมประมง และประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรม “ลงแขกลงคลอง” ครั้งที่ 3 ร่วมเปิดปฏิบัติการล่ าปลาหมอคางดำในพื้นที่ ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร พร้อมทั้งสาธิตการนำปลาใช้ ประโยชน์ทั้งการทำพิซซ่าหน้าปลา และสอนน้องๆ นักเรียนทำน้ำหมักชีวภาพสำหรั บใช้กับแปลงผักอินทรีย์ ของโรงเรียน
นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เป็นประธานในกิ จกรรมลงแขก-ลงคลอง ครั้งที่ 3 จับปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ ณ คลองสาขา ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วย นายกอบศักดิ์ เกตุเหมือน ประมงนครศรีธรรมราช นายอำเภอหัวไทร หน่วยงานราชการในพื้นที่ กรมราชทัณฑ์ การยางแห่งประเทศไทย สถานีพัฒนาที่ดินนครศรีธรรม และผู้นำชุมชน นำอวนและแหมาช่วยกันจั บปลาออกจากแหล่งน้ำ และเปิดจุดรับซื้อปลาที่จับได้ เพื่อส่งมอบให้การยางแห่ งประเทศไทยโดยมีบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ สนับสนุนเครื่องมือจับสัตว์น้ำ อาหาร และน้ำดื่มให้ผู้ร่วมงานกว่า 200 คน
กิจกรรมในวันนี้ อธิบดีกรมประมง ร่วมสังเกตการณ์การถ่ ายทอดความรู้เกี่ยวกั บปลาหมอคางดำให้แก่น้องๆ นักเรียนโรงเรียนชุมชนวั ดเกาะเพชร และสาธิตการทำเมนูพิซซ่าหน้าเนื้ อปลาพร้อมกับเกษตรกรจากฟาร์มสุ ขมี เกษตรกรหนึ่งไร่โมเดล นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาที่ดินยังจัดสาธิ ตวิธีการทำน้ำหมักชี วภาพจากปลาหมอคางดำให้นักเรี ยนได้นำไปทำเองที่โรงเรียนสำหรั บใช้กับแปลงปลูกผักอินทรีย์ ของโรงเรียนต่อไป
ปลาที่จับได้ในวันนี้ 1,780 กิโลกรัมซึ่งประมงจังหวัดส่งต่ อให้กับสำนักพัฒนาที่ดินผลิตน้ำ หมักชีวภาพ รวมทั้งแบ่งให้กรมราชทัณฑ์ ทำอาหารให้กับผู้ต้องขัง และมอบให้โรงเรียนชุมชนวั ดเกาะเพชรผลิตน้ำหมักชีวภาพ
นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชสร้างการมี ส่วนร่วมภาครัฐ – ชุมชน – เอกชน ในการจัดการปลาหมอคางดำ โดยมุ่งนำออกไปจากแหล่งน้ำ ธรรมชาติให้ได้มากที่สุด สร้างความตระหนักให้ชาวบ้ านและเยาวชนได้ตระหนักถึงปั ญหาและร่วมมือกันป้องกันการแพร่ พันธุ์ของปลาชนิดนี้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมการนำไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ได้สูงสุด โดยเฉพาะ การทำน้ำหมักชีวภาพ รวมถึง การแปรรูปเป็นอาหารเมนูต่างๆ เพื่อที่จะหยุดยั้งการแพร่ กระจายปลาชนิดนี้อย่างมีประสิ ทธิภาพ
ซีพีเอฟร่วมมือกับกรมประมงดำเนิ นโครงการเชิงรุกในการกำจั ดปลาหมอคางดำใน 12 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี นครปฐม รวมทั้งในชุมพร สุราษฎร์ธาน และนครศรีธรรมราช ซึ่งได้ช่วยกำจั ดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำได้ แล้วมากกว่า 10,000 กิโกกรัม และบริษัทยังเดินหน้าร่วมกั บกรมประมงเพื่อช่วยกั นลดจำนวนประชากรปลาหมอคางดำไห้ น้อยลงมากที่สุด คืนความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิ เวศให้กับแหล่งน้ำในจังหวัด นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังให้ได้สนับสนุนปลานั กล่ารวมแล้ว 64,000 ตัวแก่ประมงสมุทรสงคราม ประมงสมุทรสาคร ประมงจันทบุรี และประมงระยอง ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
ซีพีเอฟร่วมบูรณาการกรมประมงจั ดการปัญหาปลาหมอคางดำขับเคลื่อน 5 โครงการเชิงรุก ประกอบด้วย โครงการร่วมกับกรมประมงรับซื้ อปลาเพื่อทำปลาป่น 2,000,000 กิโลกรัม ยังเปิดรับซื้ออย่างต่อเนื่อง โครงการปล่อยปลานักล่า 200,000 ตัว รวมถึง โครงการร่วมมือกับมหาวิทยาลั ยเกษตรกรศาสตร์ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุ ณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยขอนแก่นนำปลาไปใช้ ประโยชน์ เช่น แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และโครงการสนับสนุนผู้เชี่ ยวชาญและมหาวิทยาลัยในการศึ กษาวิจัยนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี เพื่อตัดวงจรและควบคุมการแพร่พั นธุ์ของปลาชนิดนี้ในระยะยาว