ภาคีเครือข่ายอนุรักษ์ปลาดุกลำพัน เดินหน้าโครงการลำพันคืนถิ่น ปล่อยลงป่าพรุควนเคร็ง หลังจากเกิดไฟไหม้ป่าพรุ และสภาพความแห้งแล้ง ทำให้สูญพันธุ์จากแหล่งน้ำแห่งนี้มานานทศวรรษ พร้อมปลูกพืชอาหาร “ต้นเตียว-เสม็ดชุน” ตั้งเป้าปี 2567 จำนวน 20,000 ต้น หวังให้ปลาดุกลำพังกลับมาเป็นอาหารของคนในท้องถิ่น
อีกครั้งภาคีเครือข่ายอนุรักษ์ปลาดุกลำพันทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมีนายประจวบ เจี้ยงยี่ ประมงจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นคนถิ่นเดิม อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราล ทำการปลาดุกลำพัน บริเวณศูนย์อนุรักษ์ปลาดุกลำพัน เนินธำมัง ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ตามโครงการลำพันคืนถิ่น ป่าพรุควนเคร็ง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ตัดต่อเนื่องกันมาหลายปี ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 7 แล้ว และเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยภาคเอกชนเป็นต้นคิด
โครงการลำพันคืนถิ่น ริเริ่มโดยนายเฉลียว คงตุก สื่อมวลชนอาวุโส ที่ริเริ่มโครงการนี้มาตั้งแต่หลายปีก่อนโดยการนำปลาดุกลำพันมาจากพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการในพื้นที่ เช่น ประมงจังหวัด ป่าไม้ ชลประทาน และผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ประชาชนในพื้นที่ โดยมีการปล่อยปลาดุกลำพัน 250 กิโลกรัม เป็นปลาดุกลำพันพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ และยังไดรับการสนับสนุนพันธุ์ปลาสายพันธุ์อื่นจากกรมประมงอีก 400,000 ตัว
นายประจวบ บอกว่า เมื่อก่อนในถิ่นป่าพรุควนเคร็งย่านนี้มีปลาดุกลำพันเยอะมาก แต่จากสถานการณ์ไฟไหม้ป่าพรุ และสภาพความแห้งแล้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงทำให้ชาวบ้านไม่ค่อยได้พบเจอปลาดุกลำพันอีก ก็เข้าใจว่า ได้สูญพันธุ์ไปจากป่าพรุควนเคร็ง และพื้นที่ข้างเคียงแล้ว
“กิจกรรมลำพันคืนถิ่นจึงเกิดขึ้น โดยคณะผู้จัดได้ไปซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ของปลาดุกลำพันมาจากป่าพรุโต๊ะแดง จาก.นราธิวาส ที่ยังพอหาได้ ก็หวังว่า ความอุดมสมบูรณ์ของปลาดุกลำพันจะกลับคืนมาเป็นอาหารให้กับคนนครศรีฯอีกครั้ง” นายประจวบ กล่าวและว่า ปลาดุกลำพันจะมีลำตัวยาว หัวเล็ก ตามตัวจะมีลายจุดสีเหลือง รสชาดจะอร่อยกว่าปลาดุกทั่วไป
ด้านนายเฉลียว กล่าวว่า ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ชาวบ้านที่ทำประมง ดักปลา เริ่มจับปลาดุกลำพันได้บ้างแล้ว อันแสดงให้เห็นว่า ปลาดุกลำพันที่ภาคีเครือข่ายอนุรักษ์ปลาดุกลำพัน ปล่อยคืนธรรมชาติ มีชีวิตรอดอยู่ได้แล้ว
“เราขอร้องชาวบ้านว่า ถ้าจับปลาดุกลำพันได้ในช่วงนี้อย่าเพิ่งเอามากิน ให้ปล่อยเขากลับคืนธรรมชาติ เพื่อให้เขาได้ขยายพันธุ์ไปสักระยะหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าอีกไม่นานถิ่น 4 อำเภอโซนลุ่มน้ำปากพนัง จะมีปลาดุกลำพันจำนวนมากแน่นอน” นายเฉลียว กล่าว
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า ปลาดุกลำพันเป็นสัตว์กินพืช โดยเฉพาะจะกินลูกของต้นเตียว และลูกเสม็ดชุน เป็นหลัก แต่ทั้งสภาพความแห้งแล้ง และไฟไหม้ป่าพรุควนเคร็ง ทำให้พืชทั้งสองชนิดอันเป็นอาหารของปลาดุกลำพันลดลงไปด้วย ทั้งนี้ในปี 2567 นอกจากการปล่อยลำพันคืนถิ่นแล้ว จะมีการปลูกต้นเตียว และต้นเสม็ดชุนด้วย เพื่อให้เป็นอาหารของปลาดุกลำพัน ตั้งเป้าจะปลูกไม่น้อยกว่า 20,000 ต้นแน่นอน
นายเฉลียว กล่าวอีกว่า มีคนสอบถามมามากว่า ถ้าจะเลี้ยงปลาดุกลำพัน จะทำอย่างไร อยากจะเรียนว่า ธรรมชาติของปลาดุกลำพัน จะอาศัยอยู่ในป่าพรุ น้ำกร่อย สามารถตีโพลงเป็นที่อยู่อาศัยได้ พื้นที่บ่อทั่วไปยังยากที่จะอยู่รอด ฉะนั้นใครคิดจะเลี้ยงปลาดุกลำพัน อยากให้ศึกษาชีวิตเขาให้ดีก่อน และถ้าเป็นไปได้อยากให้ไปดูการทดลองเลี้ยงในบ่อขุด ที่ศูนย์นวัตกรรมเกษตรใหม่ที่ยั่งยืนของอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ อดีต ส.ส.นครศรีฯ ต.สามตำบล อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช ที่ทดลองเลี้ยงปลาดุกลำพันในบ่อขุดมา 1 ปีกว่าแล้ว และพบว่า มีชีวิตรอดมาได้ด้วย
#นายหัวไทร
#ลำพันคืนถิ่น
#ปลาดุกลำพัน
#ป่าพระควรเคร็ง