วิดสระล่าปลาดุกรัสเซีย มัจจุราชร้ายจากต่างถิ่น

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

    หลังจากที่ได้นำปลาดุก “บิ๊กอุย” หรือ “ปลาดุกรัซเซีย” มาปล่อยในสระที่ “สวนแสวงหา” บ้านดอนกระเบื้อง ต.สีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง เมื่อ 4-5 ปีก่อน ปลากฏว่า ได้ล่าปลาอย่างอื่นจนเกลี้ยง ปล่อยปลาอย่างอื่นลงไปก็ไม่เหลือ ในที่สุดต้องสูบน้ำ วิดสระเพื่อเอาปลาดุกรัซเซียตัวนี้ออกไป 

     “ปลาดุกรัสเซีย” ที่จริงคือ “ปลาดุกแอฟริกา” เป็นปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clarias gariepinus ในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) ลักษณะทั่วไปคล้ายปลาดุกด้าน แต่สุ่ย” วนหัวยาวกว่าและแนวระหว่างจะงอยปากถึงท้ายทอยเว้าและโค้งลาด ด้านบนของศีรษะขรุขระกว่า เป็นรูปสามเหลี่ยม ท้ายทอยแหลมเป็นโค้ง 3 โค้ง โดยส่วนกลางยื่นยาวมากที่สุด

      ลำตัวยาว ครีบหลังและครีบก้นยาว ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลคล้ำอมเหลือง และมีลายแต้มแบบลายหินอ่อนบนลำตัว แก้มและท้องสีจาง ที่โคนครีบหางมีแถบตามแนวตั้งสีจาง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปลาชนิดนี้ ครีบมีสีเข้ามกว่าลำตัวเล็กน้อย บางตัวอาจมีขอบครีบสีแดง ถือเป็นขนาดใหญ่สุดในสกุล Clarias ยาวเต็มที่ถึง 1.70 เมตร

       มีการนำเข้าในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2528 โดยเอกชนบางรายในภาคอีสานอาทิ จากจังหวัดหนองคายและอุบลราชธานี ผ่านมาทางประเทศลาวเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น เนื่องจากมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าปลาดุกทั่วไป ต่อมากรมประมงได้นำมาทดลองผสมข้ามพันธุ์กับปลาดุกอุย (C. macrocephalus) พบว่าลูกผสมระหว่างพ่อปลาดุกแอฟริกาและแม่ปลาดุกอุยมีผลการรอดสูง และมีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด

         ที่สำคัญเนื้อมีรสชาติที่ดีขึ้น จึงส่งเสริมและแพร่วิธีการเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงดูสู่เกษตรกรอย่างกว้างขวาง จนปัจจุบันนี้ กลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมชนิดหนึ่งของไทย และเรียกชื่อลูกปลาผสมนี้ว่า “ปลาดุกบิ๊กอุย” แต่นิยมเรียกว่า “ปลาดุกรัสเซีย” ปัจจุบันบางส่วนได้หลุดรอดและถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นชนิดหนึ่งที่คุกคามการอยู่รอดสัตว์น้ำพื้นเมืองของไทย ถือเป็นเอเลียนสปีชีส์ ( Alien pciSpecies) หรือสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่อันตรายต่อสัตว์ท้องถิ่นของไทยอย่างร้ายแรง