จังหวัดนนทบุรี และกรมประมงบูรณาการความร่วมมื อภาครัฐ เอกชน และชุมชน เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำอย่ างเข้มแข็ง สนับสนุนการมีส่วนร่ วมของประชาชนช่วยกันจับขึ้ นมาปรุงเป็นมื้ออาหารทุกวัน วันละประมาณ 10-20 กิโลกรัม ตามแนวทางมาตรการในการแก้ ไขในระยะเร่งด่วน พร้อมเดินหน้าปล่อยปลานักล่าให้ครบทุ กลำคลอง หวังฟื้นความสมดุลระบบนิเวศ
สำหรับมาตรการในการแก้ ไขในระยะเร่งด่วนนั้น ประกอบด้วย 1.การควบคุมและกำจัดในทุ กแหล่งน้ำที่พบการระบาด 2. การปล่อยปลานักล่า อาทิ ปลากะพงขาว ปลาอีกง ปลาช่อน ปลากราย เป็นต้น 3. การนำปลาหมอคางดำออกจากระบบนิ เวศไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด 4. การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่ กระจายในแหล่งน้ำธรรมชาติ และ 5.การประชาสัมพันธ์สร้ างความตระหนักรู้ให้กับทุกภาคส่ วน โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องมื อจับปลาจาก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ และได้รับการสนับสนุ นงบประมาณในการจัดหาปลานักล่ าจากจังหวัดนนทบุรีและการไฟฟ้ าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ผ่ านมา จังหวัดปล่อยปลานักล่าไปแล้ว 128,000 ตัว ลงใน 2 ลำคลองรักษาความสมดุลระบบนิเวศ พร้อมร่วมมือกับผู้นำชุมชนช่ วยกันหาแนวทางใช้ประโยชน์ จากปลาหมอคางดำเพิ่มขึ้น เช่น ปลาร้า ปลาแดดเดียว เพื่อส่งเสริมการบริโภคเพื่ อกำจัดปลาหมอคางดำอย่างมีประสิ ทธิภาพมากขึ้น
นางระวีพรรณ แก้วเพียวเพ็ญ รองผู้ว่ าราชการจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า จังหวัดนนทบุรีให้ความสำคัญกั บการควบคุมและกำจั ดปลาหมอคางดำอย่างเข้มข้น โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่ วนทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคเอกชน ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน เพื่อควบคุมและกำจั ดปลาหมอคางดำในทุกลำคลอง และเมื่อเร็วๆ นี้ ( 18 ตค.67) จังหวัดนนทบุรีจัดกิจกรรม “ปล่อยปลานักล่า (ปลากินเนื้อ)” ปล่อยปลานักล่ารวม 58,000 ตัวลงสู่คลองบางคูเวียง ในอำเภอบางกรวย เพื่อควบคุมปลาหมอคางดำ ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมปล่ อยปลานักล่าครั้งที่สอง หลังจากเคยจัดกิจกรรมปล่อยปลานั กล่าครั้งแรก จำนวน 70,000 ตัวในคลองปลายบางเมื่อเดือนกั นยายนที่ผ่านมา “การกำจัดและควบคุ มปลาหมอคางดำในลำคลองจังหวั ดนนทบุรี ไม่เพียงช่วยรักษาระบบนิ เวศในลำคลองของจังหวัดนนทบุรี เท่านั้น ยังช่วยหยุดยั้งการแพร่ กระจายของปลาหมอคางดำไปในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคี ยง ได้แก ปทุมธานีนครปฐม พระนครศรีอยุธยา ที่มีลำคลองเชื่อมต่อกับจังหวั ดนนทบุรีอีกด้วย” นางระวีพรรณกล่าว
นางนิตยา รักษาราษฎร์ หัวหน้ากลุ่มบริ หารจัดการด้านการประมง รักษาราชการแทนประมงจังหวั ดนนทบุรี กล่าวว่า จังหวัดนนทบุรี พบปลาหมอคางดำกระจายในทุกอำเภอ แต่ไม่ชุกชุม ที่ผ่านมาจัดกิจกรรม “ลงแขกลงคลอง” ในลำคลองต่างๆ สามารถจั บปลาหมอคางดำออกจากลำคลองได้ ประมาณ 210 กิโลกรัม เพราะปลาหมอคางดำมักอาศัยอยู่ ตามริมตลิ่ง และพื้นคลองส่วนใหญ่ขรุขระ มีตอและหินค่อนข้างมากทำให้ใช้ อวน หรือแหได้ไม่สะดวก อุปกรณ์จับสัตว์น้ำที่มีประสิ ทธิภาพตามลำคลองในจังหวัดนนทบุ รี คือ “ข่าย” ซึ่งสำนักงานประมงจังหวัดนนทบุ รีได้รับการสนับสนุนจากซีพี เอฟนำไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านใช้ เป็นเครื่องมือช่วยกันจั บปลาหมอคางดำขึ้นมาเพื่อใช้บริ โภคทุกวัน
ปัจจุบัน ปลาหมอคางดำถูกกำจัดจากคลองต่ างๆ ในจังหวัดนนทบุรีวันละประมาณ 10-20 กิโลกรัม ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่จับได้ นำไปบริโภคในครัวเรือน และสำนักงานประมงจังหวัดนนทบุรี ได้เข้าร่วมโครงการสร้างแรงจู งใจในการนำปลาหมอคางดำที่กำจั ดออกไปใช้ประโยชน์โดยการหมั กปลาร้ากับกรมประมง เพื่อเป็นพื้นที่ที่ช่วยกำจั ดปลาหมอคางดำจากจังหวัดอื่นที่ มีการแพร่ระบาดหนาแน่น และเกิดประโยชน์กับกลุ่ มเกษตรกรและชุมชนต่อไป และเป็นการกระตุ้นให้มีการจั บปลาหมอคางดำมากขึ้น
หลังจากนี้ จังหวัดนนทบุรียังดำเนินการกำจั ดปลาหมอคางดำอย่างต่อเนื่อง ตามมาตรการกรมประมง มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน “เจอ แจ้ง จับ” หากพบปลาหมอคางดำให้แจ้งเจ้าหน้ าที่ทันทีและช่วยกันจั บปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ โดยไม่ต้องรอ พร้อมทั้งมีแผนปล่อยปลานักล่ าให้ครบทุกลำคลอง โดยจะเน้นการปล่อยพันธุ์ปลาน้ำ จืด เช่น ปลาอีกง ปลาช่อน ปลากราย และปลากด ซึ่งเป็นปลาพื้นถิ่น พร้อมทั้งมีการสื่อสารขอความร่ วมมือกับชุมชนไม่จับปลานักล่า เป็นระยะเวลา 2 เดือน หลังจากปล่อยเพื่อให้สามารถกำจั ดปลาหมอคางดำขนาดเล็กๆ ที่อยู่ในลำคลองให้หมดไปอย่างยั่ งยืน.