“น้ำมันคาโนลา” เริ่มมาแรง ประโยชน์เยอะ ให้โอเมก้า-3 สูงแทนปลาเซมอล

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

       ตอนนี้คนเริ่มสนใจ “น้ำมันคาโนลา” มากขึ้น ทำให้มีการสอบถามว่า มาจากอะไร ต้นอะไร จะมาเป็นคู่เข็งกับน้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันถั่วเหลืองหรือไม่ หลังจากที่ล่าสุดบริษัท Nuseed ร่วมหน่วยงานด้านการวิจัย ทำการวิจัยเสร็จสิ้น จนสามารถผ่านกระบวนการผลิตน้ำมันโอเมก้า-3 ในเชิงพาณิชย์ครั้งแรก จากการปลูกพืชคาโนลา ที่ปลูกบนพื้นที่ 87,500 ไร่ ในสหรัฐอเมริกา และจะนำไปใช้เป็นอาหารสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และโภชนาการของมนุษย์ได้ ถือเป็นการผลิตน้ำมันโอเมก้า 3 ที่อยู่บนพื้นดินแห่งแรก จากจากเดิมจะผลิตมาจากปลา อาทิ ปลาแซลมอน หรือปลาเรนโบว์เทราท์

       ที่จริงมนุษย์เราใช้น้ำมันคาโนลามานานมากแล้ว บางข้อมูลระบุว่ามีการใช้ในประเทศอินเดียมากกว่า 4,000 ปีแล้ว อย่างในยุโรปใช้เป็นน้ำมันตะเกียงตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 13 แล้ว ต่อมามาผลิตเป็นไบโอดีเซล ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องยนต์ไอน้ำโดยเฉพาะในกองทัพเรือสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  ต่อมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมและรับประทาน

   เป็นน้ำมันที่มาจากเมล็ดของพืชคาโนลา เป็นผักกาดก้านขาว (rapeseed) สายพันธุ์ต่าง ๆ  ที่มีกรดอีรูซิก (erucic acid) น้อยพืชในสกุล Brassica แต่กระนั้น เมื่อก่อนการผลิตภัณฑ์น้ำมันคาโนลา เป็นอาหาร ไม่ค่อได้การยอมรับจากผู้บริโภค มาจากสาเหตุหลายอย่าง อาทิรสชาต สีออกเขียว มีกรดอีรูซิก ทางนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาได้พยายามปรับปรุงพันธุ์เพาะคาโนลาจากพันธุ์ปลูกของผักกาดก้านขาว คือ B. napus และ B. rapa g,เมื่อ 50 ปีก่อน

      ข้อมูลจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า บริษัทมอนซานโต้แคนาดา ได้วางตลาดคาโนลาที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้ทนต่อสารกำจัดวัชพืช   Roundup ได้ในปี 1995 (คือ Roundup Ready canola) โดยพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นในปี 1998 จัดว่าทนโรคและความแห้งแล้งได้ดีที่สุดเท่าที่เคยทำ ในปี 2009 คาโนลา 90% ในแคนาดาเป็นแบบทนสารกำจัดวัชพืช ในปี 2005 คาโนลา 87% ในสหรัฐอเริกาเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรม

            ขณะที่ข้อมูลจากนิตยสารเพื่อสุขภาพ ระบุว่า ปัจจุบัน น้ำมันคาโนลา มีไขมันอิ่มตัวน้อย ( Less Saturated Fats ) เพียงแค่ 7% เท่านั้น  เมื่อเทียบกับน้ำมันพืชชนิดอื่น,มีกรดโอเลอิกสูง ( High Oleic Acid ) กว่า 60% ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอร์ไลท์ในร่างกาย และช่วยลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือดตามผนังของหลอดเลือด, อัตราส่วนระหว่างโอเมก้า-6 ต่อโอเมก้า-3 เหมาะสมกับร่างกาย ในน้ำมันพืชหลายชนิด เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น นั้นมีปริมาณโอเมก้า-6 กับโอเมก้า -3 ในอัตราส่วนที่ต่างกันมาก ซึ่งไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ต่างกับน้ำมันคาโนลาที่มีอัตราส่วนของโอเมก้า-6 กับโอเมก้า-3 ใกล้เคียงกับความต้องร่างกาย คือ 4:1 เท่านั้น  เมื่อเราปริโภคน้ำมันคาโลนาจะทำให้ร่างกายลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพฤกษ์ สมองตีบตัน ลดความเสื่ยงของโรคเกี่ยวกับสมอง เช่น อัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมต่างๆ เป็นต้น

            มีโทโคฟีรอล ( Tocopherol )ชนิดดีแอลฟา (D-Alpha Tocopherol) ซึ่งจัดเป็นวิตามินอีตามธรรมชาติที่ร่างกายสามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งวิตามินอีที่ได้รับจากน้ำมันคาโนลานี้มีส่วนช่วยลดอาการของโรคซึมเศร้า ช่วย ช่วยให้ผิวพรรณดี ชะลอความชรา และช่วยป้องกันโรความดันโลหิต โรคไตและโรคมะเร็ง เนื่องจากโทโคฟีรอลจัดเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระชั้นยอดอีกชนิดหนึ่ง,ช่วยเพิ่มการดูดซึมสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ ( Carotenoids )  ลดความเสื่อมและโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทตาได้,และมี High Smoke Point หรือ จุดเกิดควันสูง เป็นน้ำมันที่ทนความร้อนได้สูงมาก เหมาะสำหรับการทำอาหารทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นการผัดหรือทอดที่ต้องใช้อุณหภูมิสูงๆ ลดความเสี่ยงในการรับอนุมูลอิสระที่เกิดจากน้ำมันเข้าสู่ร่างกาย จึงเป็นการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดีด้วย

 

ที่มาภาพ : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี