วิกฤตแล้ว!!น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาเหลือใช้ได้อีก 10%

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

      ข้อมูลล่าสุด (7 พ.ค.63) ทางศูนย์อัจฉริยะ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สรุปรายงานถึงสถาการณ์น้ำตามอ่างเก็บน้ำต่างๆทั่วประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้ครับ สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ(ข้อมูล ณ วันที่7พ.ค.63) สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจำนวน 447แห่งมีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 34,855ล้าน ลบ.ม.(46% ของความจุอ่างฯ) ปริมาณน้ำใช้การได้ 11,181 ล้าน ลบ.ม. (22% ของความจุน้ำใช้การ)

       ส่วน อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่าง จำนวน 27แห่ง คือ ภูมิพล สิริกิติ์ แม่งัดสมบูรณ์ชล แม่กวงอุดมธารา กิ่วคอหมา แควน้อยบำรุงแดน แม่มอกห้วยหลวง น้ำพุง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ลำตะคองลำพระเพลิง มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง สิรินธร ป่าสักชลสิทธิ์ ทับเสลา กระเสียววชิราลงกรณ์ขุนด่านปราการชล คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล ประแสร์และนฤบดินทรจินดา

      ขณะที่สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) (ข้อมูล ณ วันที่ 7พ.ค.63) มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 8,497 ล้าน ลบ.ม. (34% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 1,801ล้าน ลบ.ม. (10% ของความจุน้ำใช้การ)

      อย่างไรก็ตาม  ผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนปี 2562/63(ข้อมูล ณ วันที่7พ.ค.63) ทั้งประเทศ แผนการจัดสรรน้ำ 11,975 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว628ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 5 ,เจ้าพระยาแผนการจัดสรรน้ำ 3,250 ล้าน ลบ.ม.จัดสรรน้ำไปแล้ว 211ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ7, แผน-ผลการเพาะปลูกข้าวนาปรังปี 2562/63 ในเขตชลประทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 6พ.ค.63)

       ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง2.31 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 4.21 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 182.27ของแผนฯเก็บเกี่ยวแล้ว 3.11 ล้านไร่

       ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง – ล้านไร่ (รณรงค์งดทำนาต่อเนื่องฤดูแล้ง ปี 2562/63)เพาะปลูกแล้ว 1.98 ล้านไร่เก็บเกี่ยวแล้ว 1.87 ล้านไร่โดยพื้นที่ทุ่งบางระกำ แผนเพาะปลูก 265,000 ไร่เพาะปลูกแล้ว 133,090ไร่ คิดเป็นเป็นร้อยละ 50.22 ของแผนฯ

      สำหรับ.คุณภาพน้ำวันที่ 8พ.ค.63 เวลา 05.00 น.:แม่น้ำเจ้าพระยา สถานีประปาสำแล จ.ปทุมธานี(ปกติ) ท่าน้ำนนทบุรี จ.นนทบุรี (ปกติ)ทั้งนี้ กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาความเค็ม โดยทำการผันน้ำบางส่วนจากแม่น้ำแม่กลองมายังแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง สถานีปราจีนบุรี (ปกติ)
แม่น้ำท่าจีน สถานีปากคลองจินดา (ปกติ) และแม่น้ำแม่กลอง สถานีปากคลองดำเนินสะดวก (ปกติ)