“สมาร์ท ฟาร์มเมอร์”กุญแจสำคัญ “พลิกโฉมภาคเกษตรไทย” แล้ว สมาร์ท ฟาร์มเมอร คืออะไร?

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส  กาเจ

            เริ่มวันนี้แล้ว ( 21-23 พ.ค.62) สำหรับงาน Young Smart Farmer Showcase ครั้งที่ 2 ” หรือYSFSHOWCASE 2” ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช (มสธ.) อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นงานที่นำความสำเร็จของเกษตรรุ่นใหม่ มาโชว์กัน ถ้ามีโอกาสก็ไปชมได้นะครับ งานมีมีอะไรมากมายที่เราจะได้พบเห็นกัน

            เกษตรรุ่นใหม่นั้น ถือเป็นกำลังสำคัญในการที่ขับเคลื่อนภาคการเกษตรสู่ “เกษตรไทย 4.0” เป็นการเกษตรที่นำความรู้ ประสบการณ์ของบรรพบุรุษ หรือนำภูมิปัญญาไทย ประยุกต์เข้าสู่เกษตรสมัยใหม่ที่มีการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในภาคการเกษตรแทนแรงงานคนที่กำลังขาดแคลน ก่อนที่ผมจะพูดถึง “ยัง สมาร์ทฟาร์มเมอร์” จะขอคุย และสร้างความเข้าใจในเรื่องของ “สมาร์ท ฟาร์มเมอร์”ก่อน โอกาสค่อยว่าเรื่องของ “ยัง สมาร์ม ฟาร์มเมอร์”ต่อครับ  

            เราคงจะได้ยิยมานานพอสมควรกับคำว่า “สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” (Smart Farmer) หรือถ้าแปลกันตรงๆคือ “เกษตรยุคใหม่”   ซึ่งคำว่า “สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” เรามักจะได้ยินมานานพอสมควร แต่บางคนยังไม่เข้าใจเนื้อหาอย่างท่องแท้ เพราะเกิดจากการอธิบายที่เป็นวิชาการเกินไป และมีการอธิบายที่แตกต่างแต่เนื้อหาแท้คืออันเดียว”เกษตรยุคใหม่” ที่ทางกรมวิชาการเกษตรบัญญัติศัพท์ให้ฟังดูดีคือ  “เกษตรอัจฉริยะ” บ้างก็ว่า “เกษตรปราดเปรียว”

         แปลง่ายๆภาษาชาวบ้าน คือ ทำการเกษตรอย่างเฉลียวฉลาด ทำให้มีผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ขายได้ราคา ที่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ บ้างก็ให้นิยามว่า เกษตรยุคใหม่ หรือผู้จัดการฟาร์มอย่างมืออาชีพ ที่สามารถพัฒนากิจการด้านการของเองได้อย่างยั่งยืน

        ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11(พ.ศ. 2555 –2559) ได้บรรจุเอา “มาร์ทฟาร์มเมอร์”เป็นส่วนหนึ่งของ แผนพัฒนาการเกษตร ซึ่งดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ.๒๕๒๒ โดยแผนดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์เมื่อ 26 กันยายน 2554

         แนวคิด“สมาร์ทฟาร์มเมอร์”เป็นวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ที่ จาก 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ของแผนพัฒนาการเกษตร ซึ่งมุ่งเน้นการ พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร โดยคาดหวังให้เกษตรกรมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้รวมทั้งมีภูมิคุ้มกันพร้อมรับความเสี่ยง ในมิติของการผลิตและการตลาดตลอดจนมีความสามารถในการผลิตและการตลาดในระดับที่พร้อมสำหรับก้าวสู่การเป็น “สมาร์ทฟาร์มเมอร์”หรือผู้จัดการฟาร์มมืออาชีพ ที่สามารถทำการเกษตรได้จนประสบความสำเร็จรวมถึงการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ทดแทนรุ่นเดิม เป็นต้น

        ในมิติของผลผลิต “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” จะเน้นการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัยต่อ ผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในด้านรายได้ การก้าวสู่ “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” นั้น เกษตรกรจะมีรายได้ อย่างน้อยในระดับเดียวกับหรือมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำซึ่งหมายถึงรายได้ที่จะพิ่มขึ้นเฉลี่ยปลละไม่ต่ำกว่า 180,000 บาท หรือเท่ากับเงินเดือนขั้นต่ำของผู้จบปริญญาตรี และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

            ที่จริง “สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” มาจากสมาร์ทฟาร์ม (Smart farm) เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 (พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย) ที่ส่งเสริม สนับสนุนให้เกษตรกร และผู้ประกอบการใช้นวัตกรรมด้านการเกษตรมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้และพัฒนาภาคการเกษตรให้ยั่งยืนในอนาคต หรือที่เรียกว่า “เกษตรอัจฉริยะ”

        “สมาร์ทฟาร์ม” จึงถือเป็นรูปแบบการทำเกษตรแบบใหม่ ที่จะทำให้การทำไร่ทำนามีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการนำข้อมูลของภูมิอากาศทั้งในระดับพื้นที่ย่อย  ระดับไร่  และระดับมหภาค  มาใช้ในการบริหารจัดการ ดูแลพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่เกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ด้วยการทำการเกษตรที่มีความแม่นยำสูง เน้นการพัฒนาเกษตรกรรม 4 ด้านคือ

       1. การลดต้นทุนในกระบวนการผลิต,2 การเพิ่มคุณภาพมาตรฐานการผลิตและมาตรฐานสินค้า,3. การลดความเสี่ยงในภาคเกษตร ซึ่งเกิดจากการระบาดของศัตรูพืชและจากภัยธรรมชาติ และ4. การจัดการและส่งผ่านความรู้ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศจากการวิจัยไปประยุกต์สู่การพัฒนาในทางปฏิบัติ และให้ความสำคัญต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของเกษตรกร ซึ่งเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการทำสมาร์ทฟาร์ม อย่างที่นิยมกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ยุโรป บางประเทศ รวมถึงญี่ปุน และอินเดียเป็นต้น

        หากจะพูดแบบชาวบ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจให้ง่ายที่เกษตรกรจะได้นำไปใช้ในยุคที่ภาคการเกษตรกำลังประสบกับปัญหานานับประการทั้งภัยพิบัติ ที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศของโลกกำลังเปลี่ยน อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ ปัญหาด้านราคาที่ผันผวน และมองไกลไปถึงปี ค.ศ.2050 ที่คาดการว่าประชากรโลกจะมีถึง 9,000 ล้านคน พื้นที่การเกษตรจะน้อยลง ความต้องการอาหารที่จะสูงขึ้น “สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” จะตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้ได้

       นั่นคือภาคการเกษตรแห่งอนาคต เกษตรกรต้องใช้ความอัจฉริยะ ซึ่งสอดคล้องกับคำว่า “สมาร์ท ฟาร์มเมอร์”นั่นเอง แปลว่า ต่อไปคนปลูกพืชผัก ทำไร่ทำนา ทำสวน ทำปศุศัตว์ และประมงจะไม่ใช่เป็นเกษตรกรอีกต่อไป หากแต่เป็น “ผู้ประกอบการเกษตร” หรือนักธุรกิจเกษตร บางครั้งอาจไม่จำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่ในการทำเกษตรในจำนวนมากๆ แต่ใช้พื้นที่น้อยๆ ให้ได้ผลผลิตและรายได้สูง ด้วยการจัดการเองตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำน้ำ และปลายน้ำ คือเตรียมพื้นที่อย่างเหมาะ ลงมือเพาะปลูก ดูแล เก็บเกี่ยว แปรรูป สร้างแบรนด์ และหาตลาดเอง โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีในสาขานั้นๆมาประยุกต์ใช้แทนแรงงานคนที่จำเป็น แล้วผลิตภัณฑ์จะมีคุณภาพ ได้ราคา และมีผลกำไรที่ตามมา

 

          สรุปคุณสมบัติพื้นฐานของ Smart farmer ตามข้อมูลจากฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP ระบุว่า คุณสมบัติพื้นฐานของ Smart farmer มี 6 ประการ

         1.เป็นผู้มีความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่ สามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร หรือให้คำแนะนำปรึกษากับผู้อื่นที่สนใจในเรื่องที่ทำอยู่ได้

         2.มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลทั้งจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอื่นๆ เช่น Internet, Mobile smart phone เป็นต้น

         3.มีการบริหารจัดการผลผลิตและการตลาด มีความสามารถในการบริหารจัดการปัจจัยการผลิต แรงงาน และทุน สามารถเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดเพื่อให้ขายผลผลิตได้ ตลอดจนสามารถจัดการของเหลือจากการผลิตที่มีประสิทธิภาพ (Zero waste management)

          4.เป็นผู้มีความตระหนักถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค มีความรู้หรือได้รับการอบรมเกี่ยวกับมาตรฐาน GAP/GMP เกษตรอินทรีย์ หรือมาตรฐานอื่นๆ

          5.มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม/สังคม มีกระบวนการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (Green economy) มีกิจกรรมช่วยเหลือชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง

          6. มีความภูมิใจในความเป็นเกษตรกร มีความมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพการเกษตร รักและหวงแหนพื้นที่และอาชีพทางการเกษตรไว้ให้คนรุ่นต่อไป มีความสุขและพึงพอใจในการประกอบอาชีพการเกษตร

         นี่คือ หลักการคร่าวๆของ “สมาร์ท ฟาร์มเมอร์ คราวหน้าพบว่า ผมจะพูดถึง“ยังสมาร์ททฟาร์มเมอร์” (Yang  Smart Farmer)ซึ่งปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่เหล่านี้ในประเทศไทยที่ทำการเกษตรจนสร้างฐานะให้กับตังเองและครอบครัวมีอยู่ราวๆ1 หมื่นคนครับ