โดย…อัปสร พรสวรรค์ นักวิชาการอิสระ
ผลพวงจากกระทรวงกลาโหมรัสเซี ยประกาศเตือนเรือทุกลำที่เดิ นทางในทะเลดำไปยังท่าเรือของยู เครน ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นเป้าหมายที่อาจขนส่ งยุทโธปกรณ์ทางทหารทั้งหมด หลังรัสเซียไม่ต่ออายุข้ อตกลงเปิดทางทะเลดำให้ขนส่งธั ญพืชออกจากยูเครนได้อย่างปลอดภั ย (Black Sea Grain Initiatives) ส่งผลราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรั บขึ้นทันที 10% และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นต่อเนื่ องซ้ำรอยเดิมปีที่แล้ว ที่วัตถุดิบปรับสูงขึ้นถึง 30% ทำให้ภาคปศุสัตว์โดยเฉพาะผู้เลี้ ยงหมูได้รับผลกระทบอย่างหนัก
ทั้งนี้ ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ในตลาดโลกโดยเฉพาะข้าวสาลีปรั บสูงขึ้นแล้ว 10% ขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรั บเพิ่ม 5% ส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุ นอาหารสัตว์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 60-70% ของต้นทุนการผลิต ประกอบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ประสบปัญหาขาดทุนสะสมต่อเนื่อง นับตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยู เครนประทุเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 และยืดเยื้อมาถึงขณะนี้ รวมถึงคาดการณ์ล่าสุด ว่า สภาพอากาศร้อนแล้งจาก ‘เอลนีโญ’ จะทำให้ผลผลิตจธัญพืชต่างๆ ลดลง ซึ่งช่วง 2 ปี ที่ผ่านมาราคาวัตถุดิบอาหารสั ตว์ปรับขึ้น 25-30% สำหรับไทยต้องนำเข้าข้าวโพดเลี้ ยงสัตว์ปีละ 3 ล้านตัน เนื่องจากการผลิตไม่เพียงพอต่ อความต้องการในประเทศ ส่วนการนำเข้าข้าวสาลี 5 เดือนแรกของปี 2566 มีการนำเข้ามาแล้วกว่า 900,000 ตัน คาดว่าทั้งปีจะมีนำเข้าประมาณ 1.8 ล้านตัน
นอกจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์สู งตามตลาดโลกแล้ว ผู้เลี้ยงหมู ยังต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่อีก 2 เรื่อง คือ 1.หมูเถื่อนที่กระจายอยู่ทั่ วประเทศ และ 2.ราคาหมูลดลงต่อเนื่ องเพราะผลผลิตล้น ทำให้เกษตรกรอยู่ในภาวะยากลำบาก ตลอดจนมาตรการของภาครัฐที่ไม่ เอื้อต่อการนำเข้าวัตถุดิ บอาหารสัตว์ ทั้งมาตรการเป็นภาษีและไม่ใช่ ภาษี (Tariff & Non-Tariff Barrier) ยิ่งเป็นการซ้ำเติมเพิ่มต้นทุ นการผลิตของเกษตรกรทั้งสิ้น โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่ อยและรายเล็ก จำเป็นต้องเลิกอาชี พไปจำนวนมากเพราะไม่สามารถแบกต้ นทุนต่อไปได้อีก
ปัจจุบันราคาประกาศสุกรหน้าฟาร์ มของกรมการค้าภายในสัปดาห์ที่ผ่ าน (17-21 กรกฎาคม 2566) ปรับลง 4 บาทต่อกิโลกรัม อยู่ที่ 60.5 บาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตเดือนมิถุ นายน 2566 ของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ประกาศไว้ที่ 90.57 บาทต่อกิโลกรัม สวนทางกับราคาหน้าฟาร์มที่ปรั บลดลงต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยเมื่อต้ นปี 2566 อยู่ที่ 100 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้เกษตรกรแบกรับภาระขาดทุ นมามากกว่า 6 เดือนแล้ว
ที่ผ่านมา สมาคมภาคปศุสัตว์หลายสมาคม อาทิ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่ งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ที่ได้รับความเดือดร้ อนจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์สูง โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และกากถั่วเหลือง ออกมาประสานเสียงเรียกร้องให้รั ฐบาลทบทวนนโยบายอาหาร ภายใต้การกำกับดู แลของกระทรวงพาณิชย์ ที่มีการกำหนดสัดส่วนการนำเข้ าระหว่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : ข้าวสาลี ในอัตรา 3:1 (ซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วน ต่อการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน) และขอให้ยกเลิกภาษีนำเข้าเมล็ ดถั่วเหลือง 2% เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและปรั บเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการผลิ ตและความต้องการในประเทศ
ปี 2566 คาดว่าภาคปศุสัตว์ต้องอยู่ ในสถานะ “ปาดเหงื่อ” จากปัจจัยต้นทุนวัตถุดิบอาหารสั ตว์ปรับสูงขึ้น จากการประกาศของรัสเซีย ซึ่งรัฐบาลควรพิ จารณาแนวทางการช่ วยลดภาระของเกษตรกร ด้วยการปล่อยให้ราคาสินค้าเป็ นตามกลไกตลาด (Demand-Supply) เพื่อสนับสนุนภาคการผลิตให้มี เงินทุนหมุนเวียนรักษากิจการไว้ ได้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมความมั่ นคงทางอาหารให้การผลิตเนื้อสั ตว์เดินหน้าได้ต่อเนื่องและเพี ยงพอสำหรับคนไทยทุกคน