วิกฤตโควิด 19 ระลอกใหม่ นอกจากต้องป้องกันตัวเองเป็นอย่างดีแล้ว เรื่องปากท้อง อาหารการกิน เป็นเรื่องใหญ่ในการดำรงชีวิต กินอย่างมีคุณภาพ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรค ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ชี้งานวิจัย การันตี หมู ไก่และเป็ด พบว่าไม่สามารถติดโรคโควิด 19 ได้อย่างแน่นอน ย้ำการปรุงอาหารต้องให้สุก
วันนี้ มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการรับประทานเนื้อสัตว์ ให้คำนึงถึงการบริโภคอย่างปลอดภัย เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดทำให้ผู้บริโภคบางส่วนยังมีความกังวลกับความปลอดภัยของเนื้อสัตว์ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยืนยันไว้ก่อนหน้านี้ว่า เชื้อโคโรน่าไวรัส หรือ โควิด 19 จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ในจีน พบว่าเชื้อนี้ติดต่อได้ในสัตว์ตระกูล Feline เช่น แมว เสือ และสัตว์จำพวก มิ้ง
นอกจากนี้มีการรายงานในสุนัข ส่วนสัตว์เศรษฐกิจ เช่น หมู ไก่และเป็ด งานวิจัยพบว่าไม่สามารถติดโรคโควิด 19 ได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้โรคโควิด 19 ที่แพร่จากคนไปสู่สัตว์เลี้ยง ยังไม่พบหลักฐานว่าเชื้อโรคชนิดนี้แพร่กลับมาสู่คนได้
“งานวิจัยชี้ชัดว่าไวรัสตัวนี้ไม่ติดใน หมู ไก่ เป็ด หรือปศุสัตว์อื่นๆ ประชาชนจึงสบายใจได้ในการบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้ แต่อยากเน้นต้องปรุงอาหารให้สุก สะอาด ไม่แนะนำให้ทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เด็ดขาดในช่วงนี้ การทานอาหารที่ปรุงสุกความร้อนจะฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิดรวมทั้งโควิด 19” ศ.นพ.ยง กล่าวย้ำ
อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารปรุงสุกแล้ว ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญกับเนื้อสัตว์ที่มาจากการฟาร์มปศุสัตว์หรือเกษตรกรที่มีเลี้ยงและจัดการฟาร์มตามมาตรฐานสากล มีการนำหลัก “สวัสดิภาพสัตว์” หรือ Animal Welfare มาใช้อย่างเคร่งครัด เพราะเป็นหลักการพื้นฐานของสัตว์ปลอดโรคและอาหารปลอดภัย สู่อาหารมั่นคงอย่างยั่งยืน
“งานวิจัยชี้ชัดว่าไวรัสตัวนี้ไม่ติดใน หมู ไก่ เป็ด หรือปศุสัตว์อื่นๆ ประชาชนจึงสบายใจได้ในการบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้ แต่อยากเน้นต้องปรุงอาหารให้สุก สะอาด ไม่แนะนำให้ทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เด็ดขาดในช่วงนี้ การทานอาหารที่ปรุงสุกความร้อนจะฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิดรวมทั้งโควิด 19” ศ.นพ.ยง กล่าวย้ำ
อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารปรุงสุกแล้ว ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญกับเนื้อสัตว์ที่มาจากการฟาร์มปศุสัตว์หรือเกษตรกรที่มีเลี้ยงและจัดการฟาร์มตามมาตรฐานสากล มีการนำหลัก “สวัสดิภาพสัตว์” หรือ Animal Welfare มาใช้อย่างเคร่งครัด เพราะเป็นหลักการพื้นฐานของสัตว์ปลอดโรคและอาหารปลอดภัย สู่อาหารมั่นคงอย่างยั่งยืน
สวัสดิภาพสัตว์ หรือที่เรียกกันว่า หลักอิสระ 5 ประการ ประกอบด้วย 1. อิสระจากความหิวกระหาย 2. อิสระจากความไม่สบายกาย 3. อิสระจากความเจ็บปวดและโรคภัย หากเจ็บป่วยควรได้รับการวินิจฉัยและการรักษาโดยสัตวแพทย์ 4. อิสระจากความกลัวและไม่พึงพอใจ ไม่ให้อยู่ในภาวะเครียด และ 5. อิสระในการแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ ได้แสดงพฤติกรรมทางสังคมตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้สัตว์มี “ความสุขกาย สบายใจ อารมณ์ดี” ส่งผลให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง เติบโตตามวัย ไม่ป่วย และไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ยาปฏิชีวนะ หรือฮอร์โมนเร่งโต เป็นต้น ดั่งคำกล่าวที่ว่า “no sick animals produce no sick food” ซึ่งหมายถึง “สัตว์ที่ไม่เจ็บป่วย การผลิตอาหารก็มีคุณภาพดี” ที่สำคัญต้องตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต
ด้าน น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านระบบมาตรฐานอาหารสากล ในฐานะประธานคณะกรรมการด้านสวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีความรับผิดชอบ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ นำหลักอิสระ 5 ประการ มาใช้ในการบริหารจัดการฟาร์มทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ ช่วยให้มั่นใจว่าสัตว์ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีตามมาตรฐานสากล ทำให้สัตว์สุขภาพดี ไม่ป่วย จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยา ส่งผลดีต่อคุณภาพเนื้อสัตว์และนำไปผลิตอาหารคุณภาพดีตามมาตรฐานสากลอย่างเป็นระบบ มีความปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจว่าการส่งออกเนื้อสัตว์และสัตว์น้ำของไทยปลอดภัยกับทุกคน
สำหรับผู้บริโภค ควรเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัย โดยสังเกตจากสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” บนบรรจุภัณฑ์ เนื้อสัตว์อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่มิดชิด มีชื่อผู้ผลิต วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือหมดอายุชัดเจน ที่สำคัญควรปรุงสุกก่อนรับประทาน เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดี