ประเดิม 560 ตัว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า แห่งแรกในไทยที่สถานเสาวภา

  •  
  •  
  •  
  •  

ปศุสัตว์ร่วมกับจังหวัดเพชรบุรี ประเดิมฉีดวัคซีนป้องกันโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า แห่งแรกและครั้งแรกในประเทศไทย ที่สถานเสาวภา สภากาชาดไทย จังหวัดเพชรบุรี ให้ม้า 560 ตัว ก่อนจะดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ม้าในรัศมี 50 กิโลเมตร จากจุดเกิดโรค ใน 7 จังหวัดที่พบการระบาดของโรค และจะเริ่มในวันที่ 20 เมษายน 2563 นี้

      นายสัตวแพทย์สรวิธ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการควบคุม ป้องกันและควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563 ว่า ได้สั่งการให้สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ และปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรีร่วมกับสัตวแพทย์สถานเสาวภา ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าแห่งแรกของประเทศไทย ที่สถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลอง สถานเสาวภา สภากาชาดไทย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 560 ตัว เนื่องจากเป็นสถานที่ทั้งก่อนและ หลังการฉีดวัคซีน ตลอดจนการดูแลม้าภายหลังการฉีดวัคซีนเป็นไปตามมาตรการหลักเกณฑ์การใช้วัคซีนป้องกันโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าของกรมปศุสัตว์โดยมีนายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นำกำลัง จิตอาสาจาก มทบ.15 ร่วมทำมุ้งป้องกันแมลงดูดเลือดมากัดม้าภายหลังการฉีดวัคซีนอีกด้วย

      นอกจากนี้จะดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ม้าในรัศมี 50 กิโลเมตรจากจุดเกิดโรค ใน 7 จังหวัดที่พบการระบาดของโรค จะเริ่มในวันที่ 20 เมษายน 2563 นี้ซึ่งได้จัดประชุมซักซ้อมทำความเข้าใจกับปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์เขต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการดำเนินการอีกด้วย เพื่อให้การฉีดวัคซีนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมและทำให้โรคสงบโดยเร็ว

        เนื่องจากปัจจุบันหลายพื้นที่เกิดพายุฤดูร้อนอีกทั้งใกล้เข้าสู่ฤดูฝน ภาวะดังกล่าวเป็นสาเหตุทำให้แมลง ที่เป็นพาหะของโรคเพิ่มสูงขึ้นเสี่ยงที่จะเกิดโรค ดังนั้นขอให้ผู้เลี้ยงม้าป้องกันแมลงดูดเลือดมากัดม้า อีกทั้งกำจัดแมลงและแหล่งเพาะพันธุ์แมลง หมั่นดูแลสุขภาพม้า หากพบมีอาการ ซึม ไม่กินอาหาร มีไข้ ตาแดง ขอบตาและขมับบวม ขอให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์อำเภอ หรือสายด่วนปศุสัตว์ 063-225-6888 หรือ application DLD 4.0 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปช่วยเหลือและควบคุมโรคอย่างทันท่วงที

         สำหรับสถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลอง สถานเสาวภา สภากาชาดไทย เป็นสถานที่เพาะเลี้ยงม้าที่ใช้ในการผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 140,000 ขวด (ขวดละ 5 มล.)/ปี และเซรุ่มแก้พิษงูเพื่อรักษาผู้ที่ถูก งูกัด ทั้งสำหรับงูพิษเดี่ยว (Mono valent) และรวมพิษงูระบบโลหิต (Polgvalent) 100,000 ขวด(1 ขวด ละลายได้ 10 มล.)/ปี ซึ่งการฉีดวัคซีนในครั้งนี้