กรมปศุสัตว์แจกพันธุ์เป็ด-ไก่ให้ผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม-แล้ง ต้านภัย”โควิด”

  •  
  •  
  •  
  •  

กรมปศุสัตว์ เดินสายแจกพันธุ์ไก่เนื้อ ไก่ไข เป็ดไข่ให้เกษตรกรรายละ 10 ตัว พร้อมอาหารระยะแรก และอุปกรณ์สำหรับเลี้ยงสัตว์ เพื่อเสี้ยงเป็นอาชีพเสริม ช่วยลดรายจ่าย และเป็นอาหารโปรตีนในครัวเรือน โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง ร่วมถึงผลกระทบจากการระบาดของไวรัส “โควิด-19” ด้วย ล่าวสุดมอบไปแล้วกว่า 5,000 ครัวเรือน จากเป้าหมาย 77,765 ครัวเรือน

    นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ในสถานการณ์วิกฤตจากการระบาดของโรคติดเชื้อ โคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (Covid-19) และสถานการณ์ภัยแล้งในหลายพื้นที่ของประเทศนั้น กรมปศุสัตว์ได้มอบพันธุ์สัตว์ปีกและปัจจัยการผลิต ตามโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง เพื่อเป็นอาชีพเสริม ช่วยลดรายจ่าย และ เป็นอาหารโปรตีนในครัวเรือน สร้างความพึงพอใจให้กับเกษตรกรอย่างมาก ซึ่งช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยแล้งและ โรคโควิด-19 ได้

   ปัจจุบันมีการมอบพันธุ์สัตว์ และปัจจัยการผลิตแล้ว กว่า 5,000 ครัวเรือน จากเป้าหมาย 77,765 ครัวเรือน โดยกรมปศุสัตว์ได้ให้การสนับสนุนพันธุ์สัตว์ปีก เป็นพันธุ์ไก่พื้นเมือง อายุ 1 เดือน รายละ 30 ตัว หรือพันธุ์ไก่ไข่ หรือพันธุ์เป็ดไข่ อายุ 16- 18 สัปดาห์ รายละ 10 ตัว พร้อมอาหารระยะแรก และอุปกรณ์สำหรับเลี้ยงสัตว์ ตามแนวทางฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคที่เหมาะสมและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (Good Farming Management : GFM) ซึ่งเมื่อเลี้ยงต่ออีก 2-3 สัปดาห์ก็จะให้ผลผลิตไข่ เกษตรกรสามารถบริโภคในครัวเรือน เป็นอาหารโปรตีน ช่วยลดค่าใช้จ่าย บรรเทาความเดือดร้อนในสถานการณ์ภัยแล้ง และโรคโควิด-19

     อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวอีกว่า การสนับสนุนพันธุ์สัตว์ปีกดังกล่าว เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและอุทกภัยเมื่อปี 2562 รวม 17 จังหวัด โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ.2562 จำนวน 378,188,450 บาท ทั้งนี้ มีเป้าหมายที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2563 นี้

     ทั้งนี้ด้วยความปรารถนาดีจากกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบอาหาร และอุปกรณ์การเลี้ยง ตามระบบ GFM รับพันธุ์สัตว์ปีก แต่เกษตรกรที่มาต้องใส่ผ้าปิดจมูกป้องกันโควิด-19 เพื่อให้เกษตรกร ใช้อุปกรณ์ขนย้ายที่เหมะสม