กรมปศุสัตว์ยืนยันเนื้อสัตว์ไทยปลอดภัย ไร้กังวลไทรอยด์เป็นพิษ

  •  
  •  
  •  
  •  


“สรวิศ” ยืนยันไม่มีการใช้ฮอร์โมนไทรอยด์ และฮอร์โมนอื่นๆในการเลี้ยงสัตว์ ระบุกรมปศุสัตว์ ควบคุมกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ ตั้งแต่ฟาร์ม โรงฆ่าสัตว์ ตลอดจนถึงสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ แต่ในสัตว์ในสัตว์มีต่อมไทรอยด์โดยธรรมชาติอยู่แล้ว แนะวิธีการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่ดี ถ้าเป็นเนื้อหมูต้องมีสีชมพูสดถึงแดง ใช้นิ้วกดเนื้อต้องเด้งคืน ส่วนเนื้อไก่ที่สดต้องมีเนื้อสีชมพูเรื่อๆ ไ เนื้อต้องไม่แฟบแบน หนังมีสีขาวอมเหลือง

        นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวถึงกรณีท มีข่าวพบผู้เสียชีวิต จากโรคไทรอยด์เป็นพิษ โดยคาดว่าเกิดจากการบริโภคต่อมไทรอยด์ในเนื้อหมูเนื้อไก่นั้น โดยตามปกติ ในสัตว์มีต่อมไทรอยด์อยู่แล้ว และในเนื้อสัตว์ก็มีฮอร์โมนไทรอยด์ตกค้างอยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่ภายในต่อมไทรอยด์มีปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์สูง ซึ่งผู้เสียชีวิตอาจมีการบริโภคต่อมไทรอยด์เข้าไปซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษตามมา โดยปกติต่อมไทรอยด์เป็นส่วนที่จะถูกตัดออกในกระบวนการชำแหละและแต่งตัด ไม่ได้นำมาบริโภคเป็นอาหารของมนุษย์ ซึ่งผู้บริโภคสามารถสังเกตลักษณะของต่อมไทรอยด์ที่อาจปนมากับเนื้อสัตว์ โดยมีลักษณะเป็นก้อนขนาดเล็ก ยืดหยุ่น ไม่แข็ง อยู่บริเวณคอ

        อธิบดีกรมปศุสัตว์ แนะนำ สำหรับวิธีการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่ดี เช่น เนื้อหมูต้องมีสีชมพูสดถึงแดง แต่ต้องไม่แดงมาก เมื่อใช้นิ้วกดเนื้อต้องคืนตัวไม่ยุบตามแรงกด ไม่ควรซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว กลิ่นเหม็นรุนแรง มีเมือกลื่น สีคล้ำ หรือเนื้อหมูที่สีซีดเกินไปและมีน้ำซึมไหลออกมา ส่วนเนื้อไก่ที่สดต้องมีเนื้อสีชมพูเรื่อๆ ไม่มีสีแดงมากหรือไม่ซีดเกินไป เนื้อต้องไม่แฟบแบน หนังมีสีขาวอมเหลือง ไม่มีน้ำนองออกมา

        “ขอแนะนำให้ผู้บริโภคใส่ใจการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคว่า ควรเลือกซื้อเนื้อสัตว์จากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาได้ สถานที่จำหน่าย ต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ อาทิ ตลาดสด ร้านค้าโมเดิร์นเทรด ที่มีป้ายตราสัญลักษณ์ปศุสัตว์ OK หรือสินค้าที่ติดตราสัญลักษณ์ Q mark ซึ่งได้รับการรับรองโดยกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค”นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าว