เสียงสะท้อนจากเกษตรกร “คอนแทร็คฟาร์มมิ่ง”ไร้ความเสี่ยง-ชีวิตมั่นคง

  •  
  •  
  •  
  •  


 เกษตรกรในระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่งของซีพีเอฟ  อำเภอครบุรี และ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีม เปิดฟาร์มให้สื่อมวลชนได้ศึกษาถึงความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในระบบ ท่ามกลางกระแสราคาเนื้อสัตว์ตกต่ำ ทุกคนประสานเสียงยืนยัน มีความมั่นคงในชีวิต ไร้หนี้สิน ไม่ต้องกังวลกับราคาผลผลิตและมีรายได้ที่มั่นคงแน่นอน  

นายแสวง วรรณรัตน์ เกษตรกรคอนแทร็คฟาร์มมิ่งไก่เนื้อประเภทประกันราคา เจ้าของฟาร์มคุ้มเจริญ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ระบุว่าเป็นเกษตรกรในระบบนี้ของซีพีเอฟมาตั้งแต่ปี 2550  รวมเป็นเวลา 11 ปี ซึ่งปัจจุบันตนไม่มีหนี้สินใดๆ เพราะระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่งช่วยสร้างความมั่นคงทางธุรกิจให้เป็นอย่างดี การผลิตภายใต้การขายที่แน่นอนในราคาที่ตกลงกันไว้ ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมั่นคง

“ผมเคยทำธุรกิจขายไก่แต่ราคาเนื้อไก่ขึ้นๆลงๆ เมื่อขยายมาทำฟาร์มในระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่งจึงรู้ว่ามันให้ความแน่นอนแก่ธุรกิจ สามารถวางแผนงานได้ ราคาที่ขายก็ไม่ต้องผูกกับราคาตลาดที่รู้กันอยู่ว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาผันผวนอยู่ตลอดเวลา แต่ในระบบนี้มีซีพีเอฟเข้ามารองรับความเสี่ยงเรื่องราคา ทำให้เรารับรู้รายได้ที่ค่อนข้างแม่นยำ ประกอบกับซีพีเอฟจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เอื้อให้การเลี้ยงไก่ง่ายขึ้น ได้มาตรฐานขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายใต้การดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่เป็นปัญหากับเพื่อนบ้านหรือชุมชน จึงทำให้ทุกวันนี้ผมสบายใจ ไม่มีหนี้สินให้ต้องกังวล” นายแสวงกล่าว

ปัจจุบัน นายแสวงเป็นเจ้าของฟาร์มไก่เนื้อขนาดใหญ่ 3 ฟาร์ม รวมจำนวน 48  โรงเรือน เลี้ยงไก่เนื้อเป็นจำนวน 1,035,000 ตัว ซึ่งทั้งหมดเป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานกรมปศุสัตว์และผ่านการประเมินด้านอาหารปลอดภัยจากประเทศคู่ค้าของซีพีเอฟ เช่น สหภาพยุโรป

สอดคล้องกับ นายคะนองเดช  พินิจด่านกลาง เจ้าของคะนองเดชฟาร์ม อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา อายุ 40 ปี กล่าวว่า แต่เดิมเป็นเกษตรกรปลูกมันสำปะหลัง และอ้อย กับพ่อแม่  ซึ่งมีรายได้เพียงปีละครั้ง ผลผลิตขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ส่วนราคาที่ขายได้ก็ไม่แน่นอน กระทั่งซีพีเอฟขยายโครงการเลี้ยงไก่เนื้อเข้ามาในพื้นที่  ตนมองว่าเป็นระบบที่ดี มีมาตรฐาน และวงจรการผลิตอยู่ในโซนเดียวกัน เป็นโอกาสในการประกอบอาชีพที่ให้ผลตอบแทนที่ดี และมั่นคง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องตลาด จึงตัดสินใจเข้าร่วมกับโครงการส่งเสริมกับบริษัท เมื่อปี 2549

ด้วยการเริ่มต้นการเลี้ยงไก่ 2 โรงเรือน จำนวน 31,200 ตัว และยังได้รับการถ่ายทอดด้านเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพการเลี้ยงในโรงเรือนที่ดี เช่น ระบบให้อาหารอัตโนมัติ ที่ช่วยลดการสูญเสียอาหารและช่วยให้คนงานทำงานง่ายขึ้น  รวมถึงการนำระบบกกลูกไก่ที่ใช้ฮีตเตอร์ และระบบควบคุมอุณหภูมิ-ความชื้นแบบอัตโนมัติมาใช้

นายคะนองเดช  กล่าวว่าเทคโนโลยีการเลี้ยงเป็นตัวช่วยที่ทำให้มีรายได้ที่ดี และแน่นอน ทำให้สามารถคืนทุนเงินกู้ภายใน 5 – 6 ปีแรก  จึงขยายการเลี้ยงเพิ่มอีก 3 โรงเรือน ปัจจุบันสามารถเลี้ยงไก่ได้รวม 96,000 ตัว มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายปีละประมาณ 3 – 4 ล้านบาท

“อาชีพนี้เป็นอาชีพที่สร้างความมั่นคงด้านรายได้  ตลอดเวลาที่ร่วมเป็นคอนแทรคฟาร์มมิ่งกับซีพีเอฟ บริษัทให้คำแนะนำทั้งเทคโนโลยี วิชาการ และความรู้ที่ทันสมัย  มีการจัดการที่เป็นมาตรฐาน เพื่อสร้างอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภค ทำให้มีความมั่นใจว่าเราสามารถประสบความสำเร็จได้ ที่สำคัญ เราไม่มีความเสี่ยงด้านตลาดเลย” นายคะนองเดชกล่าว

ด้าน นายทวีสิน คุณากรพิทักษ์กุล รองกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทให้ความสำคัญกับการผลิตอาหารปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำมาอย่างต่อเนื่อง  จึงมุ่งเสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรายย่อย หรือคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและมาตรฐานการผลิตของบริษัท  เพื่อให้การผลิตของเกษตรกร ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบต้นทางการผลิตอาหารปลอดภัย  สามารถร่วมกันผลิตและพัฒนาได้ตามมาตรฐานสากลในทุกขั้นตอน รวมทั้งสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดสายการผลิต

[adrotate banner=”3″]

นายทวีสิน กล่าวอีกว่า บริษัทส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพที่ยั่งยืน และมีรายได้ที่แน่นอน มั่นคง จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจความรับผิดชอบต่อสังคม โดยปัจจุบันเกษตรกรในโครงการคอนแทรคฟาร์มของซีพีเอฟมีจำนวนกว่า 5,200 ราย  โดยครึ่งหนึ่งเป็นเกษตรกรที่ร่วมโครงการมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี และมีเกษตรกรรุ่นแรกๆ ที่เข้าร่วมตั้งแต่เริ่มโครงการฯ เมื่อปี 2518 ที่ปัจจุบันได้ส่งมอบมรดกอาชีพสู่รุ่นลูกรุ่นหลานอีกด้วย

อนึ่ง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้นำระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งเข้ามาใช้กว่า 40 ปี และมีการปรับปรุงสัญญาให้มีความทันสมัย ตามแนวทางสากล ของ UNIDROIT หน่วยงานอิสระทางกฎหมายสากลอันดับ 1 ของโลก โดยล่าสุด ยังเป็นบริษัทแรกที่เพิ่มการประกันภัยความเสี่ยงให้แก่เกษตรกรประเภทประกันรายได้ด้วย