“ผมมั่นใจว่าเป็นการตัดสินใจเลือกทำธุรกิจกับบริษัทที่ถูกต้อง อาชีพเลี้ยงหมูกับซีพีเอฟช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับครอบครัว ทำให้ทุกวันนี้ผมมีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วตกเดือนละกว่า 2 แสนบาท”
จากการที่ได้คลุกคลีกับตัวเลขรายรับ-รายจ่าย ของเกษตรกร ที่ร่วม “โครงการคอนแทรคฟาร์ม”หรือ”โครงการฝากเลี้ยงสุกรขุนกับซีพีเอฟ” ในฐานะอาชีพพนักงานบัญชี บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ทำให้หนุ่มบัญชี “ทรงวุฒิ นิ่มนวล” ตัดสินใจทิ้งอาชีพที่มั่นคงในบริษัทหมาชนยักษ์ใหญ่ที่มีเงินเดือน 3.5หมื่นบาท กลับคืนถิ่นบ้านเกิดเปิด “สุวิทย์ฟาร์ม” เลี้ยงหมูขุน ที่ ต.แก่งโดม อ.สว่างวีรวงษ์ จ.อุบลราชธานี ร่วม“โครงการคอนแทรคฟาร์ม”ซีพีเอฟ”วันนี้กลายเป็นเถ้าแก่ที่มีรายได้เดือนละกว่า 2 แสนบาท
ทรงวุฒิ บอกว่า อาชีพเดิมที่เป็นพนักงานบัญชีในบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ คิดว่ามั่นคงอยู่แล้ว แต่พอเห็นตัวเลขตัวเลขรายรับ-รายจ่าย ของเกษตรกร ที่ร่วม”โครงการฝากเลี้ยงสุกรขุนกับซีพีเอฟ”ที่ตัวเองรับผิดชอบนั้น น่าสนใจมาก แต่ละรายมีรายไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1 แสนบาท คิดว่าตัวเองน่าจะทำได้ และเป็นอาชีพที่มั่นคงและสร้างรายได้ที่ยั่งยืนด้วย
ที่สำคัญได้กลับไปอยู่บ้านเกิดกับครอบครัวด้วย จึงได้ศีกษาได้ระระหนึ่งลาออกจากงานกลับ สร้างโรงเรือน 6 หลัง เพื่อเลี้ยงหมูโดยร่วมโครงการฝากเลี้ยงสุกรขุนกับซีพีเอฟ ทำเป็นโรงเรือนเป็นระบบฟาร์มปิด หรือเลี้ยงในโรงเรือนอีแวปในปี 2556 เลี้ยงหมูขุน 3,600 ตัวพร้อมสร้างระบบบำบัดน้ำด้วยไบโอแก๊สที่สามารถปั่นกระแสไฟฟ้าใช้เองภายในฟาร์ม
เขา บอกว่า ช่วงแรกยังไม่ลาออกจากงาน ใช้วิธีจ้างให้คนงานดูแลฟาร์มเนื่องจากยังคงทำงานประจำ ไว้ก่อนในระหว่างนั้น มีทีมงานของซีพีเอฟที่เข้าไปคอยช่วยเหลือดูแล มีสัตวแพทย์และสัตวบาลมาถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง ผลการเลี้ยงก็อยู่ในเกณฑ์ดีสามารถผ่อนชำระเงินกู้กับสถาบันการเงินได้ตลอดและยังมีเงินเหลือใช้จ่ายและเก็บออมดังที่เคยเป็น
กระทั่งเวลาล่วงเลยมากว่า 1 ปี การเลี้ยงหมูที่เป็นอาชีพเสริมในตอนแรกประสบความสำเร็จอย่างดี เขาจึงคิดว่าหากสามารถทำผลการเลี้ยงให้ดีขึ้น หมูมีอัตราแลกเนื้อดี การเจริญเติบโตของหมูที่ดีขึ้น ก็น่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น จึงตัดสินใจลาออกจากพนักงานบัญชีฟาร์ม ทิ้งเงินเดือน 35,000 บาท หันหลังให้เมืองกรุง เพื่อกลับไปบริหารงานฟาร์มด้วยตัวเอง
[adrotate banner=”3″]
“ตอนนั้นหลายคนถามว่าทำไมถึงตัดสินใจแบบนี้ คำตอบนั้นง่ายมากคือ ผมยังคงอยู่กับซีพีเอฟซึ่งเป็นบริษัทที่มั่นคง เราไม่มีความเสี่ยงทั้งเรื่องของต้นทุนการเลี้ยง และไม่ต้องเสี่ยงกับตลาดที่ผันผวน โดยเฉพาะในภาวะราคาที่ลดต่ำ เพราะบริษัททำหน้าที่เป็นตลาดรองรับผลผลิตให้ทั้งหมด” ทรงวุฒิ กล่าวอย่างมั่นใจ
เขา บอกด้วยว่า ก่อนที่จะตัดสินใจเป็นเกษตรกรเต็มขั้น ก็เพราะคิดว่าอาชีพนี้สร้างความมั่นคงให้กับตัวเองได้ กระทั่งในปี 2559 ที่ซีพีเอฟได้ปรับปรุงสัญญาคอนแทร็คฟาร์มมิ่งที่ใหม่ให้มีความทันสมัยตามหลักสากลของ UNIDROIT (The International Institute for the Unification of Private Law) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระทางกฎหมายสากลอันดับ 1 ของโลก เพื่อให้สัญญามีความเป็นระบบมากขึ้น รวมถึงปรับปรุงผลตอบแทนการเลี้ยงใหม่ จากการให้ความสำคัญกับเกษตรกรในฐานะ “พันธมิตรธุรกิจ” ที่จะเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ยิ่งทำให้ เขา องเห็นภาพอนาคตของตัวเองได้ชัดขึ้น
“ผมมั่นใจว่าเป็นการตัดสินใจเลือกทำธุรกิจกับบริษัทที่ถูกต้อง อาชีพเลี้ยงหมูกับซีพีเอฟช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับครอบครัวของผม ทำให้มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วตกเดือนละกว่า 2 แสนบาท ที่สำคัญยังได้ใช้ชีวิตกับครอบครัวได้อยู่กับภรรยาและลูก ในอนาคตหากมีการขยายโครงการก็อยากจะเพิ่มการเลี้ยงหมูอีก 6 หลัง และจะทำให้อาชีพนี้กลายเป็นมรดกให้กับลูกต่อไป”
“ ทรงวุฒิ นิ่มนวล “ นับเป็นคนรุ่นใหม่ที่กล้าเปลี่ยนวิถีชีวิตและประสบผลสำเร็จ ถือหนึ่งในตัวอย่างของเกษตรกรรุ่นใหม่ที่กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และพยายามพัฒนาอาชีพการเลี้ยงหมูของตนเองอย่างต่อเนื่อง ทำให้วันนี้การตัดสินใจทิ้งเงินเดือน 3.5 หมื่นบาท และกลายเป็นเถ้าแก่ที่มีรายได้เดือนละกว่า 2 แสนบาท