ซีพีเอฟ สนับสนุน น้องๆ”รร.บ้านท่าหลวง”จ.นครราชสีมา ร่วมโครงการ CONNEXT ED เรียนรู้ Coding

  •  
  •  
  •  
  •  
โรงเรียนบ้านท่าหลวง เป็นโรงเรียนขนาดกลาง ในจังหวัดนครราชสีมา เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 2 ถึงประะถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน 143  คน  เป็นหนึ่งใน 302 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED ภายใต้ความรับผิดชอบและการวางแผนการดำเนินงานร่วมกันกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ที่มีแนวคิดเดียวกันในการตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นต่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปในศตวรรษที่ 21 โดยมีผู้นำทางการศึกษารุ่นใหม่ (School Partner :SP)ของซีพีเอฟ ร่วมทำงานกับผู้บริหารของโรงเรียน
รร.พัฒนาการจัดการเรียนการสอน Coding หรือ การเขียนโค้ดด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมในการแก้ปัญหาและนวัตกรรมสร้างสรรค์ เน้นพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดเป็นหลักสูตรที่นักเรียนทั่วประเทศต้องเรียนอย่างเป็นทางการ (National Standards) มุ่งเน้นให้นักเรียนฝึกคิดอย่างเป็นระบบ ค้นเจอปัญหาและเงื่อนไข รู้เหตุและผล เข้าใจกระบวนการทํางาน เพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นทักษะสําคัญและจําเป็นสําหรับเด็กในศตวรรษที่ 21
โรงเรียนบ้านท่าหลวง นำมาบูรณาการ โดยนำ “ไมโครบิต”( Micro bit) จัดทําโครงการ การเขียน Coding ให้บอร์ด Micro bit แสดงผลตามต้องการ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการเรียนรู้กับโรงเรียนใกล้เคียงและชุมชนโดยรอบ สอดรับตามพันธกิจการบริหารงานของโรงเรียนด้าน Learning คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยใช้กิจกรรมการสอนในรูปแบบ Active Learning เป็นหลัก เน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของกระบวนการคิด โดยนํา Micro bit ลงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  กําหนดเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมใน 1 วัน  ส่งเสริมวินัยและรู้จักหน้าที่ของตนเองโดยไม่ต้องมีครู  หลังการนำ Micro bit มาใช้ ทุก ๆ กิจกรรมจะถูกสั่งการด้วยเสียงเพลง  เช่น นํา Micro bit มาเขียนโปรแกรมให้เพลงถูกเปิดในเวลาที่นักเรียนจะต้องทํากิจกรรมต่าง ๆ โดยที่ครูไม่ต้องไปตีระฆัง หรือเปิดเพลงเอง
นอกจากนี้ รร.มีความตั้งใจที่จะประหยัดพลังงานในการใช้ไฟฟ้า จึงนำ Micro bit มาเขียนโปรแกรม อาทิ เขียนโปรแกรมให้พัดลมในห้องเรียนเปิด-ปิด ตามเงื่อนไขที่เขียน การสร้างอุปกรณ์รดน้ำผักในโรงเรียน วัดความชื้นในดิน หากระดับความชื้นต่ำกว่าหรือเท่ากับที่ตั้งคำสั่งไว้ในโปรแกรม ระบบจะสั่งการให้รดน้ำทันที เป็นต้น
นางศิริยา มานอก ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าหลวง เล่าว่า ช่วยในเรื่องของงบประมาณในการสนับสนุนกิจกรรมที่โรงเรียนออกแบบ ได้ทำโครงการที่แปลกใหม่ เข้ากับยุคของเทคโนโลยีที่เปลี่่ยนไป เพราะต้องใช้งบประมาณสูง  ผลที่ได้รับไปสู่นักเรียนในเรื่องการเรียนการสอน  นักเรียนได้ประสบการณ์การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติที่มีอุปกรณ์ มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน คุณครูที่สอนได้รับการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญของวิทยาลัยเพื่อส่งต่อความรู้ให้กับนักเรียนและนักเรียนรอบๆตำบลเดียวกัน
รวมทั้งขยายเครือข่ายไปยังโรงเรียนรอบๆ 4 โรงเรียนได้แก่ รร.จารย์ตำรา บ้านถนน บ้านโนนม่วง เป็น 4 โรงเรียนที่มีเป้าหมายในการพัฒนาเด็กร่วมกัน โดยในส่วนของรร.บ้านท่าหลวง  มีนักเรียนชั้น ป.4-ป.6 จำนวน 52 คน และโรงเรียนที่เป็นเครือข่าย ส่งตัวแทนครูและนักเรียนมาร่วมกิจกรรม รร.ละ 5 คน ฝึกปฏิบัติในการใช้โปรแกรม Coding สัปดาห์ละ 1 วัน ในวันที่มีกิจกรรมรวมกลุ่มกัน มีคู่มือและให้อุปกรณ์ไปคิดต่อยอด และในช่วงปลายเทอมก็จะให้น้องๆที่มาเรียนมานำเสนอในสิ่งที่ได้เรียนรู้และต่อยอด และยังมีรร.บ้านทับควาย ซึ่งทุกรร.อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7
“คาดหวังว่านักเรียนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมจะมีทักษะในการคิดที่เป็นระบบในการออกแบบการเขียนโปรแกรม การทำงานเป็นกลุ่มที่เราแบ่งให้รับผิดชอบร่วมกัน ส่วนของความต่อเนื่อง ในปีต่อๆไปก็จะมีเด็กกลุ่มใหม่มาเรียนรู้ และเด็กที่มีพื้นฐานแล้ว ก็จะมีโจทย์ที่ยากขึ้นในการพัฒนาทักษะการทำงานเกี่ยวกับ Coding เช่น วางแผคิดแก้ปัญหาตาม Mission ที่คุณครูให้โจทย์  การจำโค้ดคำสั่ง การออกแบบคำสั่งต่างๆ เช่น หุ่นยนต์ยกของ ” ผอ.รร.บ้านท่าหลวง กล่าว
ด.ช.รัชวรา ม้วนหรีด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 .รร.บ้านท่าหลวง เล่าประสบการณ์เรียนรู้จากโครงการ Coding ว่า ส่วนตัวชื่นชอบในรายวิชาคอมพิวเตอร์ ทำให้มีมุมมองความรู้ใหม่ๆ รู้ว่าคอมพิวเตอร์สามารถทำอะไรได้อีกมากมาย เช่น การร่วมกิจกรรม Micro bit นำมาทำหุ่นยนต์เดินตามเส้น สนุกมาก ทำให้อยากคิดสร้างสรรค์ของใหม่ๆ ด้วย Micro bit มาใช้ได้จริงและนำมาประกอบอาขีพได
ด้านด.ญ.ปนิดา กะสิประกอบ ศึกษาอยู่ชั้น ป.4 ของรร.บ้านท่าหลวง  เช่นกัน บอกว่า ได้เข้าร่วมกิจกรรม Coding ที่นำ Micro bit มาประกอบหุ่นยนต์ รู้สึกตื่นเต้นมาก โดยเฉพาะตอนที่นำหุ่นยนต์ไปทดลอง แล้วสามารถเดินตามเส้นได้จริง หุ่นยนต์สามารถทำตามคำสั่งได้ และยังได้เรียนรู้โปรแกรมการเขียนคำสั่ง ในอนาคตอยากนำ Micro bit ทำเป็นโครงการเล็กๆที่ใช้ได้ในชีวิตจริง
รร.บ้านท่าหลวง เคยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในโครงการ Active Learning และ ในปี 2566 ได้รับการสนับสนุนอีกครั้ง ในโครงการ STEM Coding  โดยที่ผ่านมา ผลสำเร็จจากดัชนีชี้วัด ทั้งด้านผู้เรียน ด้านการมีส่วนร่วม ด้านผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการสอน และด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ในปี 2564 รร.มีคะแนน School Grading ที่ระดับ 3.95 จัดอยู่ในระดับคุณภาพโรงเรียน ระดับ Good (ระดับคะแนน 3.00-3.99) และในปี 2565คะแนน School Grading ขยับมาสู่ระดับ 4.34 เป็นระดับ Great (ระดับคะแนน 4.0-4.99)
โรงเรียนบ้านท่าหลวง เป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่ได้รับโอกาสดีๆ จากมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED ที่มุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล และร่วมสร้างพื้นฐานของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน