วว. โชว์กิจกรรม “สถานีสีเขียว : นวัตกรรมเปลี่ยนขยะเป็นเงิน” ในงานถนนสายวิทยาศาสตร์ 2567  

  •  
  •  
  •  
  •  

วว. โชว์กิจกรรม “สถานีสีเขียว : นวัตกรรมเปลี่ยนขยะเป็นเงิน” ภายใต้แนวคิด “เด็กช่างคิด  วิทย์สร้างฝัน”ในงานถนนสายวิทยาศาสตร์ 2567 พร้อมโชว์และสาธิต “ตู้อัจฉริยะ..รวบรวมและคัดแยกวัสดุรีไซเคิลแบบอัตโนมัติ” 

นางสาวศุภมาส   อิศรภักดี  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  เป็นประธานเปิดงาน SCIENCE   AVENUE   ถนนสายวิทยาศาสตร์  รับวันเด็กแห่งชาติ  2567  ซึ่ง  อว. จัดขึ้นระหว่างวันที่  12-13  มกราคม  2567  ณ กระทรวง อว. ถนนโยธี  ภายใต้แนวคิด “เด็กช่างคิด  วิทย์สร้างฝัน” ในการนี้ นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัด อว.  คณะผู้บริหารหน่วยงาน  อว.  พร้อมด้วย  ดร.ชุติมา   เอี่ยมโชติชวลิต  ผู้ว่าการ  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  (วว.)  และบุคลากร ร่วมเป็นเกียรติ

โดย วว. ได้ร่วมจัดกิจกรรมรักษ์โลกด้วยนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพ น้องๆ หนูๆ ในโอกาสนี้ด้วย ผ่านกิจกรรม “สถานีสีเขียว ตอน  นวัตกรรม วว. เปลี่ยนขยะเป็นเงิน” และโชว์/สาธิต “ตู้อัจฉริยะ..รวบรวมและคัดแยกวัสดุรีไซเคิลแบบอัตโนมัติ” ซึ่งน้อง ๆ และผู้ปกครองได้ร่วมสนุก  “แยกพลาสติกก่อนทิ้ง  รีไซเคิลต่อได้” และร่วมเล่นเกมรักษ์โลก อาทิ  เกมคิดส์ก่อนเท… แยกก่อนทิ้ง    เกมคิดส์รู้…คิดส์รักษ์  เกมรู้หรือไม่?…ขยะแต่ละชนิดใช้เวลาสลายตัวนานเท่าไร  โดย วว. มุ่งหวังให้ความรู้ฝึกสมอง ต่อยอดความคิดจินตนาการ และสร้างแรงบันดาลใจนักวิทย์น้อยต่อไป  (วันที่ 12 ม.ค.2567 ณ กระทรวงอว.)

ทั้งนี้ วว. เป็นหน่วยงานแรกและหน่วยงานแกนหลัก ร่วมกับพันธมิตรดำเนินงานขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ  BCG  ภายใต้โครงการตาลเดี่ยวโมเดลจัดการขยะสู่พลังงานและสร้างรายได้เพื่อความยั่งยืนของชุมชน  ณ  ตำบลตาลเดี่ยว  อำเภอแก่งคอย  จังหวัดสระบุรี  โดย  ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม  ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมิต  ของ วว.  มีความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ด้านการจัดการขยะชุมชนอย่างยั่งยืน และมีความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยใช้  วทน. จัดการขยะชุมชน

ทั้งนี้เพื่อเพิ่มมูลค่าและการนำไปใช้ประโยชน์  ซึ่งเป็นการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดจากหิ้งสู่ห้าง   ปัจจุบันโครงการตาลเดี่ยวโมเดล จังหวัดสระบุรี ได้เป็นต้นแบบในการจัดการขยะชุมชนที่เป็นรูปธรรม ซึ่งได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาแนวทางนำเทคโนโลยีการจัดการขยะที่เหมาะสมของ วว. ไปปรับใช้ในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ต่อไปอย่างยั่งยืน