โดย…ดลมนัส กาเจ
ย้อนไปเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2553 ถือเป็นวันก่อตั้งหรือวันสถาปนาสภาเกษตรกรแห่งชาติ (สภช.) ถ้านับอายุอานามก็ 13 ปีบบริบูรณ์ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “วันเกิด” ทางสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสภาเกษตรกรจังหวัด (สภจ.) ทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ และกรุงเทพมหานคร ร่วมจัดกิจกรรมเนื่องในวันสถาปนาสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครบรอบ 13 ปี อย่างพร้อมเพรียงกัน
สำหรับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้เริ่มกิจกรรมด้วยการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจําศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ช่วงเช้ามีการทำบุญตากบาตรเลี้ยงพระ 9 รูปจากนั้น นายนัยฤทธิ์ จำเล ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวเปิดงาน
ขณะที่ยนายศรัณย์พงศ์ ฟุ้งเกียรติ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ รักษาการแทนเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นผู้อ่านสารจากนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอ่านสารจากร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในโอกาสวันสถาปนาสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครบรอบ 13 ปี วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2566
ช่วงบ่ายนายนัยฤทธิ์ นำพนักงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติไปจัดกิจกรรมเสริมสร้างการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และจิตอาสาทำความดี ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่เขตหลักสี่ ณ วัดหลักสี่ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวติด “ทำดี ด้วยหัวใจ” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายนัยฤทธิ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันฤกษ์งาม ยามดีตรงวันสถาปนาสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครบรอบ 13 ปี จึงได้จัดกิจกรรมขึ้นมาทั้งทางศาสนาและกิจกรรมกิจอาสา หลังจากนี้ไปก็ต้องทำหน้าตามบริบทของภาพเกษตรกรฯตามอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งตนเพิ่งได้รับตำแหน่งเป็นประธานสภาเกษตรกกรฯมาได้ 3 เดือนพอมมองออกว่า ทิศทางในการขับเคลื่อนของสภาเกษตรกรฯจะไปทางไหน เพื่อที่จะช่วยเหลือเหลือเกษตรกรต่อไป ซึ่งส่วนหนึ่งต้องสานต่อนโยบายเดิมที่จะต้องเดินหน้า ขณะเดียวกันก็ต้องขับเคลื่อนนโยบายใหม่ๆให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน
ทั้งนี้เนื่องจากว่าปัจจุบันภาคการเกษตรมีปัญหามากมายประดั่งเข้า ทั้งระดับโลกคือสภาพภูอมิอากาศเปลี่ยนเปลี่ยนแปลง ปัญหาภัยแล้งที่ซ้ำซาก ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร รวมถึงปัญหาสินค้าเกษตรที่ผิดกฎหมายหรือเถื่อนทะลักเข้ามา ล้วนแต่ต้องร่วมกับรัฐที่ต้องแก้ปัญหาทั้งระยะสั้น ระยะยาว ขณะที่งบประมาณของสภาเกษตรกรฯมีอย่างจำกัด ที่ตนได้ประสานงานกับกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวเพื่อให้หันมาดูแลในจุดนี้ แต่กระนั้นการของบฯมาต้องมีแผนงานที่ชัดเจนและต้องทำให้รัฐบาลเห็นผลงานด้วย (รายละเอียดในคลิป)