บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ สร้างจิตสำนึกตระหนักต่อคุณค่ าและความสำคัญของการอนุรักษ์ทรั พยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ เยาวชนและคนรุ่นใหม่ ขยายเครือข่ายและต่ อยอดโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่ า จัด”ค่ายเยาวชน ปันรู้ ปลูกรักษ์ (Green Sea We Share)” รุ่นที่ 1 เรียนรู้การอนุรักษ์และฟื้นฟู ป่าด้วยการลงมือปฏิบัติ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ณ โครงการ ซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี โดยมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 และ 6 จากโรงเรียนวัดหนองตามิ่ง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ร่วมกิจกรรมเป็นรุ่นที่ 1 จำนวน 60 คน โดยมี นายถนอมพงษ์ สังข์ธูป หัวหน้าโครงการฟื้นฟูสภาพป่ าเขาพระยาเดินธง นายสำรวย อริเดช นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ และคณะทำงานของซีพีเอฟ ร่วมให้ความรู้ และคำแนะนำในกิจกรรมต่าง ๆ
กิจกรรมค่ายเยาวชน ปันรู้ ปลูกรักษ์ (Green Sea We Share) ในครั้งนี้ เปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้ เกี่ยวกับความสำคัญของการอนุรั กษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และได้ลงพื้นที่ปฏิบัติจริง โดยได้รับรู้ความเป็นมาของการฟื้ นฟูป่าต้นน้ำเขาพระยาเดินธง จากป่าที่เสื่อมโทรมสู่ผืนป่าที่ อุดมสมบูรณ์ จากคณะทำงานของซีพีเอฟที่มีส่ วนร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟู โครงการฯมาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน การสำรวจแม่ไม้ในแปลงเสริมป่า เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ไม้สำหรั บการเพาะกล้าและปั้น Seedball เรียนรู้วิธีการดูนก การประกอบอาหารตามวัตถุดิบที่ ได้รับและการคิดค้นเมนู ในการดำรงชีพในป่า กิจกรรมนักสำรวจน้อย เรียนรู้การฟื้นฟูป่าและการสร้ างสมดุลของระบบนิเวศซึ่งเป็ นแหล่งอาหารของสัตว์ป่า กิจกรรมแผนที่เสียง ฝึกฟังเสียงธรรมชาติ กิจกรรมจินตนาการจากใบไม้ วาดรูปร่างใบไม้ เป็นสัตว์ในจินตนาการ กิจกรรมป่าในฝัน ซึ่งเด็กๆ สร้างป่าในจินตนาการ โดยใช้เทคนิควาด ฉีก ตัดแปะ เป็นต้น
นายนิตย์ ประจงแต่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนองตามิ่ ง กล่าวว่า การจัดกิจกรรมค่ายกิจกรรมในวั นนี้ เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนอย่ างมาก เป็นการสร้างความตระหนักในการรู้ คุณค่าของสิ่งแวดล้อม และช่วยกันดูแลต้นไม้ เด็กๆสามารถนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับกลั บมาใช้ประโยชน์กับที่โรงเรี ยนและที่บ้านได้จริง เพราะที่โรงเรียนก็มีการปลูกต้ นไม้ไว้จำนวนมาก ถ้าซีพีเอฟมีการจัดกิจกรรมดีๆ เช่นในครั้งนี้อีก ทางโรงเรียนก็อยากจะส่งนักเรี ยนรุ่นอื่นๆเข้ามาร่วมกิจกรรมด้ วย ถือว่าเป็นการสร้างกระบวนการเรี ยนรู้แบบบูรณาการ ให้เกิดความเชื่อมโยง เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้รู้ จักแก้ไขปัญหา เข้าใจระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ
ด้าน ด.ญ.กัญชพร พูลหลำ หรือ น้องหวาน นักเรียนชั้น ป. 6 เล่าว่า น้องมีโอกาสได้เข้ามาสำรวจป่ าเป็นครั้งแรก รู้สึกดีใจและภูมิใจ ที่ป่าในพื้นที่บ้านของเรามี ความอุดมสมบูรณ์ พี่ๆซีพีเอฟเล่าว่า แต่ก่อนไม่มีใครเข้ามาฟื้นฟูป่า จนกระทั่งเมื่อปี 2559 พี่ๆเข้ามาช่วยกันอนุรักษ์และฟื้ นฟู จนปัจจุบันเป็นป่าที่เต็มไปด้ วยพันธุ์ไม้พื้นถิ่น และพันธุ์ไม้หายาก “หนูว่าเราไม่ควรจะตัดไม้ ทำลายป่า และต้องช่วยกันปลุูกต้นไม้ให้ เยอะๆ ” เพราะต้นไม้ช่วยสร้างอากาศที่ บริสุทธิ์ให้กับโลก
ส่วน ด.ช. สุริยา สุดจิตร์ หรือน้องแบงก์ นักเรียนชั้น ป.5 เล่าถึงความรู้สึกสนุกและประทั บใจที่มีโอกาสมาป่าเป็นครั้งแรก ได้เรียนรู้พันธุ์ไม้หลายชนิด เช่น แคนา พะยูง สมอ นอกจากนี้ พวกเราได้ร่วมกิจกรรมปั้น Seedball เพื่อใช้ยิงเมล็ดพันธฺุ์ กลุ่มผมมีสมาชิก 9-10 คน ปั้นได้รวม 170 ลูก น้องแบงก์ บอกด้วยว่า กิจกรรมในครั้งนี้ รู้สึกชอบการส่องนกมากที่สุด เพราะได้เห็นนกที่หายาก และได้รับความรู้เกี่ยวกับนกชนิ ดต่างๆ
ขณะที่ ด.ช.วีรวัตร ศรีมาตร์ หรือ น้องบอส นักเรียนชั้น ป. 5 บอกว่า ได้มีโอกาสเข้าป่าเป็นครั้งแรก รู้สึกสนุกมาก และดีใจที่เรามีพันธฺุ์ไม้ที่ หลากหลาย เช่น มะค่า มะเกลือ แคนา กิจกรรมครั้งนี้ ทำให้เราได้รับความรู้ที่ สามารถนำกลับมาใช้ที่โรงเรี ยนและที่บ้านได้ด้วย เพราะที่โรงเรียนก็มีการปลูกต้ นไม้เยอะ เรามาช่วยดูแลสิ่งแวดล้ อมในโรงเรียน รดน้ำต้นไม้ และผมคิดว่าเราต้องช่วยกันรั กษาผืนป่าเอาไว้ ด้วยการไม่ตัดไม้ทำลายป่า และช่วยกันปลูกต้นไม้
ภายใต้แนวคิด “จากภูผาสู่ป่าชายเลน” เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ซีพีเอฟ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ป่าต้นน้ำ และป่าชายเลน และโครงการกับดักขยะทะเล โดยมีเป้าหมายอนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งกิจกรรมค่ายเยาวชน”ปันรู้ ปลูกรักษ์”ถือเป็นกิจกรรมนำร่ องในการสานต่อเจตนารมณ์ดังกล่าว และเป็นการสร้างเครือข่ายด้ วยการปลูกฝังและสร้างการมีส่ วนร่วมของเด็กและเยาวชนคนรุ่ นใหม่ เพื่อเป็นต้นแบบในการส่งต่อไปสู่ เยาวชนในวงกว้าง รับไม้ต่อในภารกิจร่วมอนุรักษ์ และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อมอย่างยั่งยืน