เข้าหน้าฝนแล้ว!! น้ำใน 4 เขื่อหลักลุ่มเจ้าพระยายังวิกฤตใช้ได้จริงแค่ 8% เท่านั้น

  •  
  •  
  •  
  •  

 

   แม้จะสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2563 แต่สถานการน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆทั่วประเทศยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา “เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ” ข้อมูลล่าสุด ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน รายงายว่า  ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 8,228 ล้าน ลบ.ม. (33% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 1,532ล้าน ลบ.ม. หรือ 8% ของความจุน้ำใช้การได้เท่านั้น

สำหรับสถานการณ์ทั่วทั่วไป 1. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศ(ข้อมูล ณ วันที่19พ.ค.63) สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจำนวน 447แห่งมีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 33,956ล้าน ลบ.ม.(45% ของความจุอ่างฯ) ปริมาณน้ำใช้การได้ 10,293 ล้าน ลบ.ม. (20% ของความจุน้ำใช้การ) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่าง จำนวน 31 แห่ง คือ ภูมิพล สิริกิติ์ แม่งัดสมบูรณ์ชล แม่กวงอุดมธารา กิ่วคอหมา แควน้อยบำรุงแดน แม่มอกห้วยหลวง น้ำอูนน้ำพุง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำปาวลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง สิรินธร ป่าสักชลสิทธิ์ ทับเสลา กระเสียว วชิราลงกรณ์ขุนด่านปราการชล คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล ประแสร์นฤบดินทรจินดา แก่งกระจานและปราณบุรี

        2.สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) (ข้อมูล ณ วันที่ 19พ.ค.63)ริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 8,228 ล้าน ลบ.ม. (33% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 1,532ล้าน ลบ.ม. (8% ของความจุน้ำใช้การ)

     3. ผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนปี 2562/63(ข้อมูล ณ วันที่19พ.ค.63) ทั้งประเทศ แผนการจัดสรรน้ำ 11,975 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว1,647ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 14 เจ้าพระยาแผนการจัดสรรน้ำ 3,250 ล้าน ลบ.ม.จัดสรรน้ำไปแล้ว 542ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ17

     4.แผน-ผลการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2562/63 ในเขตชลประทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 13พ.ค.63) ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปี16.79 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 0.65 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.88 ของแผน  ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 8.1 ล้านไร่เพาะปลูกแล้ว 0.43 ล้านไร่คิดเป็นร้อยละ 5.31 ของแผนโดยพื้นที่ทุ่งบางระกำ แผนเพาะปลูก 265,000 ไร่เพาะปลูกแล้ว 252,605ไร่ คิดเป็นเป็นร้อยละ 95 ของแผน

       5.คุณภาพน้ำวันที่ 20 พ.ค.63 เวลา 05.00 น.:แม่น้ำเจ้าพระยา สถานีประปาสำแล จ.ปทุมธานี(สูงกว่าเกณฑ์เฝ้าระวัง) ท่าน้ำนนทบุรี จ.นนทบุรี (ปกติ)ทั้งนี้ กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาความเค็ม โดยทำการผันน้ำบางส่วนจากแม่น้ำแม่กลองมายังแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง สถานีปราจีนบุรี (ปกติ) แม่น้ำท่าจีน สถานีปากคลองจินดา (ปกติ) และแม่น้ำแม่กลอง สถานีปากคลองดำเนินสะดวก (ปกติ)

        6. จังหวัดที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2562 จำนวน 29 จังหวัด ได้แก่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ตาก พิษณุโลก หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรีจันทบุรี ชลบุรี และสงขลา รวมทั้งสิ้น164 อำเภอ867ตำบล 7,477หมู่บ้าน/ชุมชน 5 เทศบาล (ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ณ วันที่ 19 พ.ค. 63)

      7. กิจกรรมและการให้ความช่วยเหลือของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้งฯ

  • โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่านสำนักงานชลประทานที่ 3เข้าตรวจสอบระดับน้ำและติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมลงพื้นที่ดูจุดติดตั้งของเครื่องสูบ ขนาด 12 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร บริเวณแม่น้ำยมสายเก่าเขตหมู่ที่ 9 ตำบลไกรใน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
    มายังคลองทราย หมู่ที่ 9 ตำบลไกรใน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
  • สำนักงานชลประทานที่ 8 ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบและติดตามความเรียบร้อยงานขุดลอกตะกอนดินในคลองหนองแก เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน ณ.โครงการสาธิตทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.ธงชัยเหนือ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมาโดยส่วนเครื่องจักรกลสำนักงานชลประทานที่ 8 สนับสนุนรถขุด เพื่อดำเนินการขุดลอก ระยะทางรวมประมาณ 150 เมตร
  • โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบรรลือ สำนักงานชลประทานที่ 11 ดำเนินการกำจัดวัชพืชและผักตบชวา ณ บริเวณสะพานพระยาบรรลือ คลองพระยาบรรลือ ตําบลบางตาเถร อําเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องน้ำให้กับประชาชน และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ
  • โครงการชลประทานนราธิวาสสำนักงานชลประทานที่ 17 เข้าดำเนินการติดตามการกำจัดวัชพืชบริเวณคลองผันน้ำ และคลองสาย 2 เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการส่งน้ำ-ระบายน้ำและเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ ความชุ่มชื้น ให้กับพื้นที่โครงการ บรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่การเกษตรและเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการป้องกันไฟไหม้ป่าพรุ
  • โครงการจ้างแรงงานชลประทาน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ 2563 แผนจำนวน 88,838 คน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ปัจจุบัน ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 จ้างแรงงานไปแล้ว 48,080 คน คิดเป็นร้อยละ 54.12