ดลมนัส กาเจ
“เกษตรทำกิน พาไปกินอาหารบ้านบ้าน” เราเก็บตกเมนูพิเศษหลังอาหารเย็นของวันหนึ่ง ในแดนซากุระ ที่ไปกับ “ทริปยันมาร์” เพื่อทำข่าว ”ยันม่าร์ โชว์เทคโนโลยีสุดล้ำในญี่ปุ่น และโครงการเพื่อสังคมเพื่อสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนทั่วโลก” ระหว่างวันที่ 25-29 กันยายน 2562 ที่ผ่านมาเป็นอาหารพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อของเมืองเกียวโต หรือที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า เมืองเกียวโตะ เมืองหลวงเก่า คือเมนู “เต้าหู้หม้อไฟ”ที่ ร้านอาหารของโรงแรม แกรนด์เวีย เกียวโต บริเวณสถานีรถไฟกลางใจเมืองเกียวโต
เมืองเกียวโต มีชื่อเสียงในการทำเต้าหู้ มาตั้งแต่โบราณแล้วว่า มีรสที่กลมกล่อม อร่อย เหนียวนุมละมุนลิ้น ที่ใช้เป็นอาหารมังสวิรัติที่นิยมรับประทานในหมู่สงฆ์สมัยก่อน ซึ่งเล่ากันว่า กำเนิดมาจากพระสงฆ์ที่เดินทางมาจากประเทศจีนเมื่อประมาณ 1,200 ปีก่อนในสมัยนะระ – เฮอัน เป็นอาหารแบบมังสวิรัติเพื่อเลี้ยงต้อนรับผู้ที่มาสักการะวัดหรือศาลเจ้า แล้วก็ค่อย ๆ แผ่ความนิยมเข้าในในหมู่ชาวบ้าน จนปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จนเป็นที่ทราบกันดีว่า อาหารเมนูเต้าหู้เป็นอาหารขึ้นชื่ออันดับหนึ่งของเมืองเกียวโต หนึ่งในจำนวนเมนูยอดนิยมนั้นมี “เต้าหู้หม้อไปด้วย” คนที่ไปเที่ยวเมืองเกียวโต ไม่ควรพลาดกับเมนูนี้
“เต้าหู้หม้อไฟ “นั้นปรุงด้วยน้ำซุปสาหร่ายคอมบุ ใส่หมอไฟ ลักษณะกล้ายกับสุกี้ยากี แต่ไม่มีเนื้อสัตว์ มีเพียงเต้าหู้เนื้อละเอียด สีข้าวตัดเป็นลูกเต๋าสี่เหลี่ยม และเห็ด และมีผักเป็นส่วนผสม น้ำจิ้มเป็นซอสโซยุ ปรุ่งด้วยหัวไชเท้าขูด ผสมสาหร่อยทอดกรอบและต้นหอม เวลารับประทานก็เหมือนรับประทานสุกี้ยากี้นั่นเอง
เต้าหู้ เป็นผลิตภัณฑ์ทำมาจากถั่วเหลือง ที่อุดมไปด้วยโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นบางตัว คือเมทไทออนีนและซีสตีนสูง แต่ไลซีนต่ำ ถ้าคิดเทียบน้ำหนักกับอาหารประเภทอื่น ๆ จะพบว่ามีปริมาณโปรตีนสูงกว่าเนื้อสัตว์ 2 เท่า สูงกว่าไข่ไก่ 4 เท่า และสูงกว่านมวัว 12 เท่า ไม่มีแป้ง
ดังนั้นเหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ,คนที่ต้องการลดน้ำตาล หรือผู้หญิงที่ย่างเข้าสู่วัยทอง เพราะในถั่วเหลือง อุดมไปด้วยเกลือแร่ต่าง ๆ เช่น เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก และที่สำคัญก็คือ ธาตุเหล็กช่วยในการบำรุงโลหิต นอกจากนี้ยังมีวิตามินเอ ,บี 1, บี 2 , ดี, อี, เค และไนอะซีน โดยเฉพาะวิตามินบี 2 มากกว่าพืชชนิดอื่น ๆด้วย