ภารกิจแรกสัมผัสยันมาร์ ณ สำนักงานใหญ่นครโอซากา  สำรวจเมอาหารเลิศรส ดูเลี้ยงผึ้ง ปลูกผักในตึก

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดลมนัส กาเจ

       “สำหรับพนักงาน หรือลูกค้าของยันมาร์ที่นับถือศาสนาอิสลาม ในศูนย์อาหารแห่งมีเมนูเซ็ทเป็นเมนูอาหารฮาลาลโดยเฉพาะ ขายในราคาอยู่ที่ชุดละ 600 เยน หลังที่ได้รับประทานอาหารเที่ยงแล้ว ทางบริษัท ยันมาร์ยังจัดให้มีห้องละหมาด สำหรับชาวมุสลิมอีกด้วย”

     

        ยามเช้าในนครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น เราฝ่าคลื่นมวลมนุษย์อันหนาแน่นในย่านจอแจ บนทางเดินยกระดับหรือวอล์คกกิ้ง สตรีท ใกล้สถานีรถไฟโอซาก้า หรือโอซาก้าสเตย์ชั่น มุ่งสู่ตึกกระจกสูงตระหง่านเสียดฟ้า อาคารยันม่าร์” ย่านถนนชะยะมาชิ คิตะคุ ในกลางนครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่บริษัท ยันม่าร์  จำกัด เพื่อชมการกิจกรรมต่างๆภายในอาคารนี้

            “ยันม่าร์เราก่อตั้งขึ้นที่เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2455 และในปี 2476 ได้เป็นบริษัทแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่เหมาะกับการใช้งานในตลาด นับตั้งแต่นั้นยันม่าร์ได้ขยายจากเครื่องยนต์ดีเซลที่เป็นหัวใจหลักของบริษัท ไปยังผลิตภัณฑ์ บริการ และความเชี่ยวชาญด้านอื่นๆ เพื่อนำเสนอโซลูชั่นที่ครบวงจรในฐานะผู้ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรม” เสียงหญิงสาววัยกลางคน “ฮิโรมิ คุโบตะ”  ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารแบรนด์ บริษัท ยันม่าร์ จำกัด กล่าวระหว่างบรรยายสรุป ก่อนพูดต่อว่า

     

         “สำโซลูชั่นที่โดดเด่นของยันม่าร์นั้น มีการคิดค้นเครื่องยนต์ 2LB และ เครื่องยนต์ SS สำหรับเรือประมงในปี 2490 ซึ่งเป็นช่วงหลังเกิดวิกฤตขาดแคลนอาหารหลังสงครามโลก  แทรกเตอร์พลังแรงรุ่น Y ซีรี่ส์ ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ที่เหมาะสำหรับการไถโดยเฉพาะ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ขายดีอันดับหนึ่งในปี 2509  รถไถเดินตามรุ่น HD5 เปิดตัวในปี 2508 ซึ่งเป็นเครื่องจักรกลเครื่องแรกของญี่ปุ่นที่สามารถพรวนดินได้ นับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้อุตสาหกรรมการการเกษตรและตอบโจทย์ปัญหาขาดแคลนแรงงาน  รถขุด YB600C ที่เปิดตัวในปี 2515 สามารถขุดได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ในจุดที่แคบ  Smart Assist Remote ในปี 2556 ที่เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีไอซีทีเพื่อการเกษตรหลักของยันม่าร์”

        ฮิโรมิ คุโบตะ ย้ำกว่า ยันม่าร์มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับสังคมในอีก 100 ปีข้างหน้า เราต้องการนำเสนอเทคโนโลยีที่สร้างผลผลิตได้อย่างสูงสุดโดยใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด เราจะเดินหน้าพัฒนาโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในวันนี้ และสร้างชีวิตที่ดีเพื่ออนาคตของเราทุกคน

       หลังจากที่ฟังบรรยายสรุปแล้ว สาวสวยผิวขาว “ฮิโรมิ  คูโบโตะ” พนักงานของบริษัท ยันมาร์ พาเราไปชมกิจการต่างๆภายในตึก เริ่มจากที่ชั้น 12 เป็นที่เลี้ยงผึ้งในห้องกระจกใส รูปทรงกรวย รอบๆเป็นสวนย่อมขนาดเล็ก ด้านล่างปิดมิดชิด เพื่อให้ไม่ให้ตัวผึ้งรบกวนคน แต่ด้านบนเปิดโล่ง ให้ตัวผึ้งบินออกไปหากิน ดูดเกสรดอกไม้ในรอบๆของนครอาซากา จนพลบค่ำจึงจะบินกลับสู่รัง

       บริเวณล้อมรอบใกล้ๆที่เลี้ยงผึ้งนั้น เป็นโซนของศูนย์อาหารที่หลากหลายสไตล์ญี่ปุ่น เริ่มที่อาหารพื้นเมืองเดิมๆ ที่เรียกว่า “เระมารุ” เป็นอาหารเซ็ทเมนู มีกับข้าว 3 อย่าง คือกับข้าวตามที่ชอบ น้ำซุป และสลัดผัก ขายในราคาชุดละ 900 เยน  โดยอาหารทุกอย่างต้องมีผักด้วย เป็นผักที่ปลูกแบบไร้ดินหรือไฮโดรโปนิกส์ ที่พนักงานบริษัท ยันร์มา ที่มีร่างไม่สมประกอบเป็นผู้ปลูกที่ จ.ชิกะ ส่งมาให้ โดยมีประวัติความเป็นมาของผู้ปลูกในรูปแบบให้ผู้บริโภคได้ทราบที่มาของคนปลูกผักด้วย

      ในจำนวนนี้มีอาหารฮาลาล สำหรับชาวมุสลิมลิมด้วย โดย ฮิโรมิ  คูบโตะ บอกว่า สำหรับพนักงาน หรือลูกค้าของยันมาร์ที่นับถือศาสนาอิสลาม ในศูนย์อาหารแห่งมีเมนูเซ็ทเป็นเมนูอาหารฮาลาลโดยเฉพาะ ขายในราคาอยู่ที่ชุดละ 600 เยน หลังที่ได้รับประทานอาหารเที่ยงแล้ว ทางบริษัท ยันมาร์ยังจัดให้มีห้องละหมาด สำหรับชาวมุสลิมอีกด้วย

       ถัดจากอาหารซ็ทแล้ว ยังมีอาหารให้เลือกด้วย ราคาที่เริ่มจากชิ้นละ 180 เยน อาทิ ซูชิ หน้าต่าง ๆ สลัดผัด ผลไม้ ขนมหวาน ครบ หากสนใจของฝากในศูนย์อาหารแห่งมีสินค้าประเภทของฝากด้วยมากมาย โดยเฉพาะน้ำผึ้งที่เลี้ยงในห้องกระจก

      ส่วนโต๊ะอาหารที่จัดไว้นั้น มีหลากหลาย ตั้งนั่งยาวหลายคน โต๊ะขนาดเล็กนั่ง 2 คน ที่น่าสนใจ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศในการเลี้ยงผึ้งในห้องกระจก ที่นี่จะมีโต๊ะรูปรังผึ้งด้วย จัดเป็นล็อกๆ นั่งได้ราว 5 คน

       จากนั้นขึ้นไปชมสถนที่ติดตั้งระบบแอร์ที่ใช้พลังงานแก๊สเอ็นจีวี ที่บริษัทยันมาร์ผลิตเอง รอบๆจะเป็นสวนผักไฮโดรโปนิกส์ และที่น่าสนใจคือการจัดที่ทำงานในอ๊อฟฟิตสมัยใหม่ๆ ทำให้นึกถึงเมื่อครั้งที่ยังเป็นพนักงานของบริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรู๊ป เมื่อ 10 ปีก่อนที่ผู้บริหารบางคนมอง ออหฟิตแบบใหม่สไตล์เดียวกัน คือไม่มีโต๊ะประจำเป็นตัวเอง ยกเว้นล๊อคเกอร์เก็บของส่วนตัว สำหรับโต๊ะที่ทำงานที่ไหนก็ได้ ที่ว่าง ขอให้มีไวไฟ น๊ตบุ๊ค ก็ทำงานได้แล้ว ซึ่งที่บริษัท ยันมาร์ จำกัด ที่ญี่ปุ่นก็ใช้ในลักษณะเช่นนี้ (ดูคลิปประกอบ)

        ทั้งหมดนี้เป็นบางส่วนที่ได้มีโอกาสเยี่ยมชมกิจการต่างๆ ที่สำนักงานใหญ่บริษัท ยันมาร์ จำกัด ที่นครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โดอกาสหน้จะเล่าสู่กันฟังเรื่องที่ได้ไปเยี่ยมพิพิธภัณฑ์ ยันมาร์ ที่ จ.ชิกะ ซึ่งจะเปิดให้ผู้เข้าชมในวันที่ 5 ตุลาคม 2562 นี้