ฝ่าสายฝนบุกถึงถิ่น ไปกินทุเรียนภูเขาไฟ พิสูจน์มาแล้วไม่มีกลิ่นจริงๆ

  •  
  •  
  •  
  •  

เกษตรทำกิน

        ท้องฟ้าปิด ฝนโปรย คณะของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ นำโดยนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นำทีมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ หารือกับเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เพื่อชี้โอกาสขยายตลาดสินค้าเกษตรไทย ตามโครงการ “เพิ่มศักยภาพเกษตรกรในยุคการค้าเสรี” ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 17-19 มิถุนายน 2562 นั้น หนึ่งในเป้าหมายที่ลงไปพบกับเกษตรกร ได้ไปที่สวนทุเรียนภูเขาไฟ ที่ “สวนทศพล” ของ นายทศพร สุวะจันทร์ ด้วย ที่ ต.ตระกาจ อ.กัญทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ

        สวนทศพร มีเนื้อที่ราว 10 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ที่เขาปลูกมาเมื่อ 20 ปี ในแต่ละปีจะให้ผลผลิตราว  20-30 ตัน อย่างปีที่แล้ว (ปี 61) ได้ผลผลิต 28 ตัน แต่เนื่องจากทุเรียนภูเขาใน จ.ศรีสะเกษตรได้ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ สินค้า GI ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ราคาทุเรียนเพิ่มขึ้น

“ปีที่แล้วเราขายในราคา กก.ละ 120-150 บาท แต่ปีผลผลิตน้อยคาดดว่า จะได้ราวๆกว่า 10 ตัน จากจากประสบปัญหาด้านสภาพภูมิอากาสไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร  ทำให้ปีนี้ราคาดี ขายหน้าสวนตก กก.ละ 200 บาท “ นายทศพร กล่าว

          เขา บอกด้วยว่า ทุเรียนหมอนทองที่เขาปลูกทั้งหมด ซื้อต้นกล้าพันธุ์มาจาก จ.จันทบุรี แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่ใน จ.ศรีสะเกษ เคยเป็นภูเขาไฟมาก่อนในอดีต และมีสภาพภูมิอากาศที่ต่างกัน ทำให้รูปทรงของทุเรียนก็ต่างกัน คือรูปทรงจะออกเรียวยาว

          ที่สำคัญรสชาตต่างกันด้วย ที่เห็นชัดทุเรียนภูเขาไฟที่ อ.กัญทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษตร เมื่อทุเรียนสุกแล้วจะไม่มีกลิ่นเหมือนทุเรียนที่อื่นโดยเฉพาะทางภาคตะวันออก และภาคใต้ ถ้าจะมีก็กลิ่นบ้างเป็นอ่อนมาก บางผลไม่มีกลิ่นเลย และเราก็ได้ชิม และพิสูจน์มาแล้วไม่มีกลิ่นจริงด้วย (ตามในคลิป)