“นกแต้วแร้ว”ผู้ชะตาขาด บินหนีศัตรูชนกระจกตาย มีเรื่องเล่า (ชมคลิป)

  •  
  •  
  •  
  •  

     “นกแต้วแร้ว” หรือ “นกแต้วแล้ว” ตัวนี้เพื่อนเฟส ส่งมาให้ทางไลน์ในนาม Nid Noi เป็นผู้ส่งและเล่าว่า นกคงตกใจอะไรสักอย่างบินด้วยความเร็วสูงชนกระจกบ้าน แล้วตกร่วงขึ้นมา ก็พยายามสักระยะเพื่อยื้อชีวิต สุดท้ายไม่รอดตายไปอย่างน่าเสียดาย

          จริงนกแต้วแร้ว ในบ้านเราบ้างก็ว่ามี 12 ชนิด จากทั้งหมด 15 ชนิด มีอังกฤษว่า : Pittas  เป็นนกขนาดเล็กในสกุล Pitta ในวงศ์นกแต้วแร้ว (Pittidae) มีลักษณะทั่วไปคือ มีลำตัวอ้วนสั้น มีสีฉูดฉาดสลับกันทั่วทั้งตัวทั้งสีนํ้าเงิน, เขียว แดง, นํ้าตาล, เหลือง รวมอยู่ในตัวเดียวกัน มีคอและหางสั้น ขายาว มักกระโดดหรือวิ่งบนพื้นดิน รวมถึงหากินและทำรังบนพื้นดินในป่า หากบินก็จะบินเป็นระยะทางสั้น ๆ ในระดับความสูงต่ำในละแวกที่อาศัยเท่านั้น โดยทั่วไปจะพบกระจายพันธุ์ทั้งทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออก จนถึงโอเชียเนีย เช่น ในประเทศไทยในอดีตนั้นพบมากเช่นกัน

         อย่างไรก็ตาม หากเป็นนกแต้วแล้วท้องดำ บ้านเราใกล้สูญพันธุ์ ล่าสุด มีระดมนักวิจัย และทีมสำรวจนก สำรวจประชากรนกแต้วแล้วท้องดำ สัตว์ป่าคุ้มครองใกล้สูญพันธุ์ (บัญชี 1 ของไซเตส) ที่พบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบนกชนิดนี้เพียง 4 ตัวเท่านั้น ในพื้นที่ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

          สำหรับนกแต้วแล้ว ชะตาขาดตัวนี้ เป็นนกแต้วแล้วธรรมดา บางพื้นที่เรียกว่า นกกอหลอ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Blue-winged Pitta(Moluccan Pitta) แถว 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เรียก “นกปูด) ภาษยาวีเรียนกว่า “บูรงปาจะ”

                                                                              ภาพนี้จาก: Nation tv.com

         ลักษณะตัวอย่างที่เห็นนั่นแหละ ตัวเต็มวัยมีหัวสีดำ เหนือตามีลายพาดขนาดกว้างสีน้ำตาล ลำตัวด้านบนสีเขียว ขนคลุมขนปีกด้านบนตะโพกและขนคลุมโคนหางด้านบนเป็นสีน้ำเงินสด ลำตัวด้านล่างเป็นสีเนื้อถึงน้ำตาลแดง คอหอยสีขาว ตรงกลางท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีแดง ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกันมาก ต่างกันที่ขนาดตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย

                นกชนิดนี้จะพบในป่าเบญจพรรณ และป่าดิบที่ค่อนข้างโปร่ง ป่าไผ่ ป่าฟื้นตัว ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนถึงระดับความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล อาจพบระหว่างอพยพได้ในสวนและป่าโกงกาง เบญจพรรณ ทั้งภาคเหนือ และภาคใต้ เทือกเขาของภาคตะวันออกและเทือกเขา มักจะอยู่โดดเดี่ยว หรือเป็นคู่