ย้อนอดีตที่เมืองโบกอร์ วันที่อินโดฯเปิดตัวพืชจีเอ็มโอ

  •  
  •  
  •  
  •  

  ย้อนอดีตที่เมืองโบกอร์ วันที่อินโดฯเปิดตัวพืชจีเอ็มโอ

โดย… ดลมนัส  กาเจ

                           คณะที่ไปดูงานโดยมี  ดร.บาฮาเกียวตี (คนที่ 6 จากซ้ายของแถวแรก)ให้การต้อนรับ

        “ประชากรในอินโดนีเซียมีกว่า 200 ล้านคน ให้มีอาหารเพียงพอ เพราะพื้นที่การเกษตรน้อยลง โลกกำลังประสบปัญหาด้านความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอกาศ ส่งผลการผลิตอาหารจากภาคเกษตรนั้นลดน้อยลง”

           วันนี้การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพว่าด้วยการตัดแต่งพันธุวิศวกรรมพืช บ้างก็ว่าพืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือที่เรียกติดปากว่า “พืชจีเอ็มโอ” หรือ “พืชจีเอ็ม” ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งหนึ่งในประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่รัฐบาลของเขาไฟเขียวให้เกษตรกรปลูกพืชดัดแปลงพันธุ์กรรม  ได้เทคโนโลยรนี้ไปไกลแสนไกลแล้ว คือปลูกอ้อยจีเอ็มโอทนแล้งเพิ่มความหวาน เพื่อลดพึ่งพาการนำเข้ามาได้ 2-3 ปี..

            ท่ามกลางการต่อต้านพืชจีเอ็มโอในประเทศไทยอย่างแข็งกร้าวของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า องค์กรพัฒนาเอกชน หรือเอ็นจีโอ จู่ๆเราได้รับเชิญไปดูงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพว่าด้วยการตัดแต่งพันธุวิศวกรรมพืช บ้างก็ว่าพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ประเทศอินโดนีเซีย ที่เปิดตัวเป็นครั้งอย่างเป็นทางการให้โลกรู้ว่า อินโดนีเซียนั้นมีความพร้อมแล้ว ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพว่าด้วยการตัดแต่งพันธุวิศวกรรมพืช เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของเกษตรกร

            วันนี้ยามเช้าของกรุงจากกาตาร์ ประเทศอินโดยนีเซีย ช่วงกลางเดืนอกรกฎาคม 2554 ยังถูกคลุมด้วยม่านหมอกควันจากไฟป่าจากบนเกาะสุมตรา ลามทั่วอณาบริเวณ  ขณะที่รถบัสขนาด 27 ที่นั่งพาคณะของเราออกจากที่พักโรงแรมแมนฮัทตัน กลางกรุงจากกาตาร์  มุ่งหน้าไปทางตอนใต้ของกรุงจากกาตาร์กว่า 100 กม.จุดหมายปลายทางเพื่อไปดูงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพว่าด้วยการตัดแต่งพันธุวิศวกรรมพืช ที่เรียกว่าพืชจีเอ็มโอ หรือพืชจีเอ็ม ของอินโดนีเซียที่ “ศูนยวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร” ที่เมืองโบกอร์ ซึ่งเป็น 1 ใน 9 ของศูนยวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรในประเทศอินโดนีเซีย 

            เมืองโบกอร์นั้นถือเป็นเมืองท่องเที่ยวและการศึกษา มีมหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ โบกอร์ (Bogor Agricultural University) ซึ่งเป็นมหาวิทยลัยที่เปิดการเรียนการสอนด้านการเกษตรชั้นนำของประเทศอินโดนีเซีย จึงทำให้ศูนยวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรของอินโดนีเซียตั้งอยู่ที่เมืองนี้

              เราใช้เวลาราว 1 ชั่วโมงครึ่งไปถึงที่จุดหมายปลายทาง ซึ่งเป็นที่ศูนยวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร อยู่ล้อมรั้วที่แข็งแรงบนพื้นที่หลายสิบไร่  ภายในรั้วมีสำนักงานของผู้บริหาร มีห้องประชุม ห้องแล็บสำหรับเป็นที่วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร หรือพัฒนาพืชพืชจีเอ็มโอหลายห้องเรียงราย  พร้อมกันนั้ยังมีแปลงทดลองพืชจีเอ็มโอด้วย

            พลันที่ไปถึงมี ดร.บาฮาเกียวตี (Dr.Bahagiawati) ผู้อำนวยการศูนยวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรเมืองโบกอร์ มาต้อนรับ พร้อมทักตามมารยาท และในระหว่างนั้นเอง เธอบอกว่า รู้จักนักวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพของไทยหลายคนอาทิ ดร.เมธินี ศรีวัฒนกุล.จากสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร และ รศ.ดร. สุพัฒน์ อรรถธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน  เป็นต้น

             ดร.บาฮาเกียวตี อธิบายว่า ศูนยวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรเมืองโบกอร์นั้น มีงานวิจัยหลักอยู่ 2 ส่วน มีนักวิจัยที่จบระดับด๊อกเตอร์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเที่ประจำศูนย์แห่งนี้อยู่ราว 30 คนที่ นอกจากนี้มีระดับปริญญาโท และเจ้าหน้าที่รวมแล้วอยู่ในหลักร้อยคน

            ส่วนงานวิจัยหลักในศูนย์แห่งนี้ 2 ส่วนที่ว่านี้   คือส่วนหนึ่งเป็นงานวิจัยด้านชีวโมเลกุล เป็นงานที่ละเอียดอ่อน จะเน้นในการสกัดและจำแนกดีเอ็นเอ(DNA)ของยีนจากพืชต่างๆ ไม่ใช่ยีนของไวรัสจากสัตว์อย่างที่เข้ามใจ มาต่อยีนใหม่ เพื่อพัฒนาพืชที่มีคุณสมบัติที่ต้านทานต่อโรคของพืชแต่ละชนิด ตามที่ต้องการ ล่าสุดได้เน้นพัฒนาให้ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาภูมิอากาศ ที่ทำให้เกิดสภาพอากาศด้วย เน้นพืชจีเอ็มโอนอกจากนต้านทานโรคแล้ว ต้องทนต่อสภาพที่น้ำท่วม แห้งแล้ง ทนดินเค็ม และมีคุณค่างทางโภชนาการสูง

[adrotate banner=”3″]

            อีกส่วนหนึ่งเป็นงานวิจัยพัฒนาที่เน้นไปในด้านของการเพาะเนื้อเยื่อของพืชแต่ละชนิดที่มาจากพืชเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ เพื่อเป็นการขยายพันธุ์พืชจีเอ็มโอ ซึ่งปัจจุบันจะเน้นในเรื่องของพีชจีเอ็มโอลูกผสมอีกด้วย  มีหลายชนิด อาทิ ข้าว  ข้าวโพด มะละกอ อ้อย  พืชผักสวนครัว  และพืชสมุนไพร รวมถึงการร่วมมือในการวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวจีเอ็มโอที่ที่ร่วมกับ อินเดีย ฟิลิปปินส์  บังกาลาเทศ และเวียดนาม ภายใต้โครงการที่เรียกว่า “ไบโอเฟอร์ติไฟด์” (Biofertified) เป็นโครงการพัฒนาพันธุ์ข้าวจีเอ็มโอใหม่ โดยนำข้อดีของข้าวแต่ละประเทศมาวิจัยและพัฒนาในรูปแบบของข้าวจีเอ็มโอลูกผสมใหม่

            กระนั้นก็ตาม ผู้อำนวยการการพัฒนาศูนยวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรเมืองโบกอร์ บอกในตอนนั้นว่า งานวิจัยพัฒนาพืชจีเอ็มโอในประเทศอินโดนีเซีย ยังอยู่ในขั้นทดลอง ทั้งในห้องแล็บและลงแปลงที่ได้ผลเป็นรูปธรรมแล้วคือข้าว และข้าวโพด  แต่ยังไม่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เนื่องติดขัดด้านนโยบายของรัฐบาล คาดว่าทางรัฐบาลจะอนุญาตให้มีการปลูกในระดับแปลงของเกษตรกรได้ในไม่ช้านี้

            ดูเหมือนว่าจะสอดคล้องการบรรยายของ ดร.บายู  กรีสนามุรตี (Dr.Bayu Krisnamrthi ) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร อินโดนีเซีย (สมัยนั้น) ที่ว่า  ขณะนี้อินโดนีเซียได้ตระนักถึงความมั่นคงทางด้านอาหาร เนื่องจากประชากรในอินโดนีเซียมีกว่า 200 ล้านคน ให้มีอาหารเพียงพอ เพราะพื้นที่การเกษตรน้อยลง โลกกำลังประสบปัญหาด้านความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอกาศ ส่งผลการผลิตอาหารจากภาคเกษตรนั้นลดน้อยลง แม้ว่ารัฐบาลอินโดนีเซีย ยังไม่อนุญาตให้ปลูกจีเอ็มโอในแปลงเกษตรกร แต่ภาครัฐได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้จนมีความพร้อมแล้ว คาดว่าอีก 1-2 ปีจะอนุญาตให้เกษตรกปลูกในแปลงได้ แต่ต้องทำประชาพิจารณ์ก่อน

            หลังจากที่ฟังการบรรยายสรุปจาก ดร.บาฮาเกียวตี แล้วทางเจ้าหน้าที่พาไปชมห้องแล็บต่างๆ เริ่มจากห้องวิจัยด้านชีวโมเลกุล ห้องเพาะเนื้อเยื่อ จนถึงการปลูกพืชในห้องทดลอง และแปลงที่ลงดิน โดยจะมีนักวิจัยแต่ละแผนกจะเป็นผู้บรรยายในแต่ละจุด

                                                                    ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต (ขวาสุด)

           อย่างไรก็ตาม จากการเดินชมแล้ว ทาง  ดร.นิพนธ์  เอี่ยมสุภาษิต เมื่อครั้งที่ยังดำรงตำแหน่งเลขาธิการสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ (ปัจจุบันนายกสมาคม) ซึ่งเป็นหัวคณะตัวแทนของคนไทยที่ร่วมเดินทางสัมมนาในครั้งนี้  บอกว่า หากเทียบของศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (สวทช)ของไทยเราแล้ว ถือว่าของเรามีความพร้อมกว่า มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยกว่า และมีนักวิจัยที่จบระดับด๊อกเตอร์ในด้านนี้กว่า 200 คน แต่น่าเสียดายที่รัฐบาลมีนโยบานให้ระงับการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรในระดับแปลงนา ทำให้นักวิจัยเหล่านี้กลายเป็นคนตกงาน หันไปอยู่ภาคเอกชน บางคนหันไปเป็นนักบริหาร ถือว่าเป็นเสียบุคคลากรเป็นอย่างยิ่ง

            “ที่จริงนักวิจัยบ้านเราไม่แพ้ประเทศอื่น ที่ผ่านมาเราได้พัฒนาพืชจีเอ็มไปไกลพอสมควรทั้งมะละกอ พริก แต่มีองค์กรเอกชนคัดค้าน ทั้งที่ตอนนี้ทั่วโลกไปไกลมากแล้ว มีการอนุญาติให้ปลูกถึง 25 ประเทศ และนำเข้าผลผลินพืชจีเอ็มโอกว่า 50 ประเทศแล้ว ถ้าเป็นอย่างนี้อนาคตเราตามหลังประเทศเพื่อนบ้านไม่ทันแน่นอน ถึงเวลานั้นเราจะเสียเปรียบด้านการค้าทันทีหากทั่วโลกยอมรับพืชจีเอ็มโอในอนาคต” ดร.นิพนธ์ กล่าว

           จนคล้อยบ่ายแก่ๆ เราอำลาศูนยวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรแห่งเมืองโบกอร์ สู่กรุงจากาตาร์อีกครา  เพื่อภารกิจในวันรุ่งขึ้นคือสรุปการสัมนาตลอด 3 วันที่ผ่านมานั่นเอง และในวันนี้ทราบว่า อินโดนีเซียได้อนุญาติให้ปลูกอ้อยจีเอ็มโอทนแล้งเพิ่มความหวาน เพื่อการค้า และเพื่อลดพึ่งพาการนำเข้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว