การแก้ไขยีนช่วยให้พืชมีความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศในขณะที่ยังคงรักษาความหลากหลาย

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

มีรายงานว่านักวิทยาศาสตร์ชาวจีนได้ออกแบบวิธีการใช้เทคโนโลยีการแก้ไขยีน เพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมของพืชตามธรรมชาติ และบังคับให้พืชได้รับยีนที่จะทำให้พืชนั้นมีความยืดหยุ่นและเติบโตได้ง่ายขึ้น ตามรายงานที่ปรากฎอยู่ในเว็บ Interesting Engineering

นักวิจัยกล่าวว่า “การดัดแปลงพันธุกรรมของประชากรพืชป่า กลายเป็นกลยุทธ์ที่อาจมีพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลงได้”

เทคนิคนี้เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีการแก้ไขยีน CRISPR เพื่อกระโดดข้ามการถ่ายทอดพันธุกรรมแบบดั้งเดิม (Mendelian inheritance) ซึ่งเป็นกระบวนการถ่ายทอดยีนผ่านรุ่นสู่รุ่น เพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชให้มียีนที่ต้องการ ระบบนี้เรียกว่า CRISPR-Assisted Inheritance หรือ CAIN

นวัตกรรมล่าสุด ได้แก่ การค้นพบกลไกทางพันธุกรรมในต้นแพร์ (pear trees) ที่ช่วยให้ทนต่อสภาวะแห้งแล้ง การค้นพบการกลายพันธุ์ของยีนในต้นพีช (peach trees) ที่ช่วยให้รอดพ้นจากผลกระทบของน้ำค้างแข็งในฤดูใบไม้ผลิ และข้าวที่แก้ไขจีโนมเพื่อให้ต้านทานต่อไวรัสที่ทำลายล้าง

การค้นพบและความก้าวหน้าใด ๆ เหล่านี้สามารถนำไปใช้กับพืชชนิดอื่น ๆ โดยใช้เทคโนโลยี CRISPR เพื่อให้พืชมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเช่นกัน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thecooldown.com/green-tech/gene-editing-technology-crop-plant-breeding/