สทนช. จับมือ สสน. สร้างต้นแบบการจัดการน้ำชุ มชนตามแนวพระราชดำริของในหลวงรั ชกาลที่ 9 เพิ่มศักยภาพการปรับตัวกั บสถานการณ์น้ำที่เปลี่ยนแปลงด้ วยตนเอง ประเดิม 4 จังหวัดนำร่อง พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ ใช้น้ำระดับชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผลเป็ นระดับลุ่มน้ำ เสริมความเข้มแข้งที่รากฐานพร้ อมร่วมแก้ไขปัญหาด้านน้ำ
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำ แห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ร่ วมประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้ างความเข้มแข็งระหว่างองค์กรบริ หารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่ มน้ำ ภายใต้โครงการการเสริมสร้างขี ดความสามารถองค์กรบริหารจั ดการทรัพยากรน้ำในการบริหารจั ดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำ ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรั ชกาลที่ 9 เพื่อขับเคลื่อนการจั ดการและวางแผนบริหารทรัพยากรน้ำ ระดับชุมชน ณ ตำบลเกาะขนุน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่2 ก.ย.66 ว่า สทนช. ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. มุ่งสร้างต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง พร้อมปรับตัวกับสถานการณ์น้ำที่ ผันผวนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภู มิอากาศได้ด้วยตนเอง
โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริ หารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ การเป็นภาคีเครือข่ายร่ วมวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ของชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่นกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ใช้น้ำภาคประชาชน ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรผู้ใช้น้ำ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยระยะแรกจะดำเนินการในเดือนกั นยายน 2566 ในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ขอนแก่น และน่าน ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมน้ำ แล้งซ้ำซาก และชุมชนที่พร้อมเรียนรู้ขั บเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำ ของชุมชนด้วยตนเอง
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล
สำหรับกิจกรรมหลักในการประชุ มเชิงปฏิบัติการฯ มุ่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ทักษะการจัดการทรัพยากรน้ำชุ มชนตามแนวพระราชดำริ และการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการติ ดตามสถานการณ์น้ำเบื้องต้น ความรู้พื้นฐานด้านภูมิสารสนเทศ การจัดทำผังน้ำ บัญชีน้ำ สมดุลน้ำ แนวทางฟื้นฟูพัฒนาแหล่งน้ำ ตัวอย่างความสำเร็จการจัดการน้ำ ชุมชนด้วยตนเอง การสมัครเป็นองค์กรผู้ใช้น้ำ การวางแผนจัดการน้ำ และการเสนอโครงการพัฒนาการบริ หารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชน ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ นและหน่วยงานรับผิดชอบดำเนิ นการของบประมาณ และช่องทางติดตามการดำเนิ นโครงการที่ชุมชนเข้าถึงได้ โดยมีการแบ่งกลุ่มปฏิบัติ แลกเปลี่ยนแนวคิด และวางแผนร่วมกัน ด้วยข้อมูลจริงของชุมชน
อย่างไรก็ตาม การสร้างต้นแบบการจัดการน้ำชุ มชนร่วมกันของ สทนช. และ สสน. ในครั้งนี้ ทำให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรอบรม การจัดการและวางแผนบริหารทรั พยากรน้ำระดับชุมชน เกิดความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ ายร่วมบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ นำร่อง ด้วยความรู้ความเข้าใจในการวิ เคราะห์ข้อมูล และทักษะในการจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งระบบในชุ มชนตามแนวพระราชดำริ พร้อมทั้งสามารถวางแผนบริหารทรั พยากรน้ำระดับชุมชน ร่วมกับองค์กรผู้ใช้น้ำและองค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่ างเหมาะสม ตามบริบทและสถานการณ์การเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของพื้นที่ รวมทั้งร่วมขับเคลื่อน ติดตามประเมินผล และพัฒนาการบริหารจัดการทรั พยากรน้ำในพื้นที่ ผสานและต่อยอดตั้งแต่ระดับชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ลุ่มน้ำย่อย และครอบคลุมทั้ง 22 ลุ่มน้ำหลักในอนาคต
“การจัดการทรัพยากรน้ำชุ มชนตามแนวพระราชดำริด้วยความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของชุมชน ร่วมกับภาคีเครือข่ายองค์กรผู้ ใช้น้ำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานในพื้นที่ จะเป็นรากฐานที่เข้มแข็งในการพั ฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจั ดการน้ำ จากการมีส่วนร่วมที่ตรงกั บความต้องการของประชาชน ประหยัดงบประมาณ และหนุนเสริมการขับเคลื่ อนแผนแม่บทฯน้ำของประเทศอย่ างเป็นรูปธรรม และต้นแบบระดับชุมชนนี้ จะขยายผลเป็นระดับลุ่มน้ำที่พร้ อมปรับตัวและร่วมแก้ไขปัญหาด้ านน้ำที่ยั่งยืน” เลขาธิการ สทนช.กล่าว.