โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
จีนมีแผนที่จะอนุญาตให้มีการใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมเชิงพาณิชย์ภายในปีนี้ (2565) ซึ่งเป็นการก้าวไปข้างหน้าอีกหนึ่งก้าว โดยในเดือนมกราคม กระทรวงเกษตรและกิจการชนบท (Ministry of Agriculture and Rural Affairs)ได้แก้ไขระเบียบข้อบังคับสำหรับผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ที่จะขออนุญาตใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมเชิงพาณิชย์ ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาระเบียบข้อบังคับที่มีอยู่ไม่ได้ส่งเสริมกระบวนการทางการค้า
เทคโนโลยีนี้ได้เปลี่ยนแนวคิดของรัฐบาลให้ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนทางการเกษตร ด้วยความเป็นผู้นำระดับสูงที่มุ่งพัฒนาความพอเพียงด้านอาหารของประเทศ การใช้วิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ จึงถูกมองว่าเป็นวิธีการบรรเทาความกังวลด้านความมั่นคงด้านอาหารท่ามกลางอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นและความไม่แน่นอนที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการระบาดครั้งใหญ่ของโลกที่ทำให้จีนต้องแยกตัวออกมา
เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีแบบดั้งเดิม ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ10 ที่เกิดจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมนั้นถือว่ามีค่ามาก และตามมาตรฐานแห่งชาติพันธุ์ใหม่ที่มีผลผลิตมากกว่าพันธุ์เดิมร้อยละ 1-3 จะได้รับการอนุญาตให้ใช้ในการเพาะปลูก
ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าภายในปี 2573 ผลผลิตธัญพืชของจีนจะต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ15 จากระดับปัจจุบัน ในขณะที่การผลิตเนื้อสัตว์ ไข่ และนมควรเพิ่มขึ้นร้อยละ 30-50เพื่อตอบสนองต่อความต้องการอาหารของประเทศ
ครับ จะเปลี่ยนใจผู้นำประเทศไทยได้บ้างหรือเปล่าครับ!
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.caixinglobal.com/2022-05-25/in-depth-how-china-finally-embraced-genetically-modified-farming-101890085.html