“เฉลิมชัย” เดินหน้าเกษตรสำหรับคนเมือง ชูนโยบายเพิ่มพื้นที่สีเขียวในวัด โรงเรียน ชุมชน สนับสนุนการปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล ไม้ยืนต้น เน้นการใช้อินทรียวัตถุเพื่อให้เด็กนักเรียนและคนในชุมชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย สร้างรายได้จากการนำผลผลิตไปจำหน่ายรวมทั้งสร้างระบบนิเวศที่ดีและเป็นศูนย์เรียนรู้ตัวอย่างให้แก่วัดและชุมชนอื่นๆ
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่วัด (Green Temple) ณ ธรรมสถานวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานครว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแนวทางในการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองโดยให้มีการจัดสรรและใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนเมืองได้เรียนรู้การทำเกษตรปลอดภัยตามวิถีพอเพียงและคนในชุมชนมีอาหารบริโภคผลผลิตปลอดภัยและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งระบบเกษตรกรรมยั่งยืนคือระบบการเกษตรที่ครอบคลุมถึงวิถีชีวิตเกษตรกรกระบวนการผลิตและการจัดการทุกรูปแบบเพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศซึ่งนำไปสู่การพึ่งตนเองและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค
สำหรับโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่วัด (Green Temple) เป็นหนึ่งในโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชนเมืองโดยเฉพาะพื้นที่วัดในกรุงเทพมหานครมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้กับคนในชุมชนเมืองเพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนเมืองใกล้วัดเข้าถึงอาหารปลอดภัยรวมถึงเป็นรายได้ให้แก่ชุมชนเพิ่มพื้นที่สีเขียวในวัดโรงเรียนชุมชนและเป็นศูนย์เรียนรู้ให้แก่วัดและโรงเรียนรวมทั้งเพิ่มพื้นที่และกิจกรรมทางสังคมของชุมชนในการใช้พื้นที่สาธารณะทำกิจกรรมร่วมกันเช่นปลูกผักสวนครัวไม้ผลไม้ยืนต้นสมุนไพรการลงแขกช่วยงานในแปลงเป็นต้น
ทั้งนี้มีพื้นที่นำร่องในการดำเนินการในพื้นที่ทั้งสิ้น 9 แห่งได้แก่วัดพระยาสุเรนทร์ เขตคลองสามวาวัดบางกระดี่ เขตบางขุนเทียนวัดพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร วัดนายโรง เขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานครวัด โซนเหนือกรุงเทพฯวัดโซนตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯมัสยิดคอยรุดดีนศาสนสถานของฮินดูและโบสถ์และ มีเป้าหมายในการดำเนินการในพื้นที่ทั่วประเทศต่อไป
ดร.เฉลิมชัย กล่าวอีกว่า การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่วัดเพื่อผลิตอาหารเพียงพอปลอดภัยให้กับชุมชนในเมืองใกล้วัดและโรงเรียนเพื่อสร้างเป็นอาหารเป็นยารักษาโรคและสร้างรายได้รวมถึงเพิ่มพื้นที่สีเขียวสอดคล้องกับ BCG โมเดลประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลักคือ 1) Bio Economy เศรษฐกิจชีวภาพ 2) Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียนการมุ่งสร้างมูลค่าสูงสุดจากทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการลดของเสียเช่นการทำปุ๋ยหมักน้ำหมักจากเศษอาหารเป็นต้นและ 3) Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว หรือเศรษฐกิจที่พัฒนาด้วยความคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมซึ่ง
ส่วนการดำเนินงานปรับปรุงพื้นที่ในโรงเรียนและวัดจะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวในรูปแบบการปลูกพืชผักสวนครัวไม้ผลไม้ยืนต้นเน้นการใช้อินทรียวัตถุเช่นปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเองรวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริโภคผลผลิตพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัย
อีกทั้งยังไม่ทำลายสภาพแวดล้อมโดยใช้พื้นที่ว่างเปล่าในวัดทำแปลงเกษตรเพื่อให้มีอาหารปลอดภัยให้เด็กนักเรียนและคนในชุมชนได้บริโภคและมีรายได้จากการนำผลผลิตไปจำหน่ายในตลาดชุมชนรวมทั้งสร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับวัดและชุมชนรวมถึงให้เป็นศูนย์เรียนรู้แก่ชุมชนและตัวอย่างให้แก่วัดและชุมชนอื่นๆด้วยอย่างไรก็ตามทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมจะให้การสนับสนุนการดำเนินงานและพร้อมเข้ามาดูแลพี่น้องประชาชนอย่างใกล้ชิด