ฟิลิปปินส์ปรับปรุงกฎระเบียบด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการอนุญาตที่เร็วขึ้น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยสุภาษิต

ฟิลิปปินส์ได้ออกกฎระเบียบ(Circular)ด้านเทคโนโลยีชีวภาพฉบับแก้ไขซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงกระบวนการราชการและเร่งการอนุญาตผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพที่ส่งผลต่อความมั่นคงด้านอาหาร

การแก้ไขกฎระเบียบที่เรียกว่า Joint Department Circular (JDC) No. 01 ของปี 2564 (2021) ดำเนินการโดยกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Department of Science and Technology – DOST) กรมวิชาการเกษตร (Department of Agriculture – DA) กรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Department of Environment and Natural Resources – DENR) กรมอนามัย (Department of Health – DOH) และกรมกิจการภายในและรัฐบาลท้องถิ่น (Department of Interior and Local Government – DILG)

หลังจากได้มีการทบทวนอย่างรอบคอบของ JDC เมื่อปี 2559 (2016)ซึ่งจะใช้แทนที่DA Administrative Order No. 8.หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน JDC ใหม่คือการปฏิบัติตามRepublic Act No. 11032 หรือ “พระราชบัญญัติการผ่อนปรนในการทำธุรกิจและการให้บริการของภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ พ.ศ.2561” การแก้ไขนี้จะรวมถึง ข้อกำหนดและขั้นตอนที่สะดวกขึ้น รวมทั้งระยะเวลาดำเนินการในการยื่นคำขอที่สั้นลง ซึ่งการแก้ไขเหล่านี้จะช่วยลดความล่าช้าในการปฏิบัติงานของภาครัฐและเร่งกระบวนการอนุญาตสำหรับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่

JDC 2021 เน้นว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากนวัตกรรมใหม่ในการปรับปรุงพันธุ์ที่ไม่มีการรวมตัวใหม่ของสารพันธุกรรมที่ดำเนินการโดยเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่จะไม่ครอบคลุมอยู่ในกฎระเบียบ (Circular)

มาตรา 6 ของ JDC ระบุว่าสำนักงานอุตสาหกรรมพืช(Bureau of Plant Industry – BPI)จะทำหน้าที่เป็นสถาบันแรกในการรับและดำเนินการสำหรับคำร้องขอเพื่อการทดลองภาคสนาม การขยายพันธุ์เชิงพาณิชย์ และการใช้งานโดยตรง

ข้อกำหนดใหม่อีกประการหนึ่งของCircularคือการจัดตั้งกลุ่มการประเมินร่วม (Joint Assessment Group – JAG) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนหรือบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจากคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพและจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคภายนอก

JAG จะรับผิดชอบในการประเมินตามกฎระเบียบในข้อกำหนดที่จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากไปกว่าที่มีอยู่เดิม กลุ่มJAGซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคภายนอกจาก DOST, DA, DENR และ DOH จะเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่ผู้อำนวยการ BPI

ในการอนุญาต ข้อมูลทางด้านสังคม-เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และจริยธรรม จะพิจารณาจากความคิดเห็นที่ได้รับในกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะ โดยผู้อำนวยการ BPI พร้อมกับการประเมินทางเทคนิคเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ที่ทำโดย Joint Assessment Group สำหรับการทดลองภาคสนามได้มีการเพิ่มแผนฉุกเฉินในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยหรือการบุกรุกในพื้นที่ทดลองภาคสนามเป็นเอกสารประกอบที่จำเป็น

ระยะเวลาแสดงความคิดเห็นของประชาชน จะลดลงจาก 60 วันเป็น 15 วันทำการ นับตั้งแต่ลงพิมพ์ข้อมูลสาธารณะในหนังสือพิมพ์เพื่อเผยแพร่ฉบับใดฉบับหนึ่ง

JDC ยังระบุด้วยว่าระเบียบข้อบังคับของพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีหลายลักษณะร่วมกัน (stacked traits) ที่พัฒนาจากการปรับปรุงพันธุ์แบบเดิม ระหว่างของพ่อแม่พันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรมที่ผ่านการอนุญาตแล้ว ไม่ถือว่ามีความแปลกใหม่ ดังนั้น ผู้ถือใบอนุญาตควรขอรายชื่อของ ลักษณะร่วมกัน (stacked events) ที่มีอยู่ใน BPI Approval Registry เพื่อเผยแพร่การใช้งานโดยตรงในเชิงพาณิชย์

Circular นี้ได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565ใน Daily Tribune และ Malaya Business Insights และจะมีผล 15 วันหลังจากนั้น

ครับ เป็นที่น่ายินดีกับฟิลิปปินส์ที่ภาคส่วนกำกับดูแลมีการทำงานที่รวดเร็ว ไม่เหมือนกับประเทศไทย

สนใจในรายละเอียดของ Circular นี้ สามารถดาวโหลดได้จาก   http://biotech.da.gov.ph/upload/JDC1_s2021.pdf.