“แคลเซียมคาร์บอเนต” คืออะไร มีความสำคัญไฉนกับเกษตรกร?

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

เมื่อไม่นานมานี้ทางสภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมกับศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิอุษรินทร์ จัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้แคลเซียมคาร์บอเนต ณ ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมาทดลองใช้ปรับสภาพดินในแปลงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ 5 จังหวัด พบเพิ่มผลผลิตได้จริงถึง 30 % ลดต้นทุนการผลิต ใช้สะดวกประหยัดแรงงานหลายเท่าตัว

จากข้อมูลที่มาจากการทดลองในครั้งนี้ ทางสภาเกษตรกรแห่งชาติ จะสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาแคลเซียมคาร์บอเนต เปลี่ยนจากเดิมที่เกษตรกรใช้ปุ๋ยหรือสารเคมีเพื่อบำรุงดิน ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น เพราะขาดการศึกษาถึงสาเหตุและการแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุ นั่นคือ ดิน สภาพดินที่มีความเป็นกรดจากการที่ใช้สารเคมีที่มากเกินไป จึงสนับสนุนให้ใช้นาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ชนิดแขวนลอย

ขณะที่ น.ส.สดใส ช่างสลัก นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ) ผู้ซึ่งทำการทดลองเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในแปลง บอกว่า จากการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากที่ใช้ปูนปูนโดโลไมท์ หรือปูนขาว 20 % และเพิ่มขึ้นจากที่ไม่ได้ใช้ปูนขาวเลยถึง 44 % ใช้แรงงานคนเดียวก็ทำได้ หากใช้ปูนขาวจะใช้แรงงานถึง 5 คน

แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นอะไรมาจากไหน ประโยชน์อย่างไร ต้องฟังรายละเอียดจาก คุณสมนึก เต็งชาตะพันธุ์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สุรินทร์ ออมย่า เคมิคอล (ประเทศไทย)จำกัด ซึ่งอยู่ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (รายละเอียดในคลิป)