นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเท็กซัสค้นพบเครื่องมือใหม่ในการแก้ไขยีนที่มีศักยภาพ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

    งานวิจัยใหม่นี้ทำที่ University of Texas(UT) ในเมือง Austin รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา  โดยการเพิ่มจำนวนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของระบบ CRISPR-Cas ซึ่งกลายมาเป็นเครื่องมือใหม่ที่มีศักยภาพ ที่ทำให้นักวิจัยสามารถแก้ไขยีนจำนวนมากได้

    นักวิทยาศาสตร์ ได้ระบุกลุ่มของยีนที่ใช้ CRISPR เพื่อแทรกตัวเองเข้าไปในตำแหน่งต่างๆ ในจีโนมของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า CRISPR-associated transposons (CASTs) (เป็นกลไกการปรับตัวในแบคทีเรีย และใช้เป็น CRISPR แบบใหม่ ที่มีศักยภาพในการดัดแปลงจีโนมที่มีขนาดใหญ่และแม่นยำโดยไม่ต้องพึ่งพาการซ่อมแซม DNA ที่เห็นใน CRISPR-Cas แบบเดิม) ซึ่งงานวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้เพื่อเพิ่มยีนทั้งหมดหรือลำดับดีเอ็นเอขนาดใหญ่ลงในจีโนมได้ในแบคทีเรีย ทีมวิจัยที่นำโดย Ilya Finkelstein และ Claus Wilke ที่ UT Austin ได้เพิ่มจำนวน CAST ที่น่าจะเป็นไปได้จากประมาณหนึ่งโหลเป็นเกือบ 1,500

     Finkelstein รองศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุลซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและเป็นหัวหน้าวิจัยกล่าวว่า “ด้วย CASTs เราสามารถแทรกยีนจำนวนมากที่เรียกว่า ‘ชุดยีน’ (gene cassettes)ที่ควบคุมการทำงานที่ซับซ้อนหลายอย่าง Jennifer Doudnaนักวิจัยเกี่ยวกับCRISPR และเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล คาดการณ์ว่า CAST จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในชุดเครื่องมือของพันธุวิศวกรรมที่สามารถทำให้เกิด “การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในจุดใด ๆ ทางพันธุกรรม ในสิ่งมีชีวิตใดๆ” ภายในทศวรรษนี้

    ครับ เป็นเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีการแก้ไขยีนจำนวนมาก แทนที่จะแก้ไขเพียงยีนเดียวแบบเดิม ๆ

   อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.utexas.edu/2021/12/03/potential-new-gene-editing-tools-uncovered/