มก.ร่วมขับเคลื่อน “อว. พารอด” แสดงพลัง “KU พารอด” ร่วมด้วยช่วยกันผู้ประทบจากโควิด

  •  
  •  
  •  
  •  

                                                 ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมพลังทุกส่วนงานและวิทยาเขต ส่งต่อ “กำลังใจและ ความช่วยเหลือ” สนับสนุนการทำงานของรัฐบาล และกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ด้วยโครงการ ” KU พารอด” ร่วมด้วยช่วยกัน .. ต้องพากันรอด เชื่อมโยงและสนับสนุนไปพร้อมๆกับโครงการ “อว.พารอด”  เพื่อให้พลังของชาวกระทรวง อว.ส่งตรงถึงประชาชนคนไทย สร้างความมั่นใจว่าประเทศไทยจะผ่านวิกฤตโควิด-19ไปได้อย่างแน่นอน

      ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่รัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ และมีผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่องมากกว่า 20,000 คนต่อวัน ซึ่งผู้คนมีความเครียดทั้งด้านสุขภาพจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 และ ปัญหาเศรษฐกิจ ส่งผลทั้งการทำงาน ปัญหาการขาดรายได้ และปัญหาปากท้องของประชาชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้จัดทำโครงการ “ KU พารอด ” ร่วมด้วยช่วยกัน .. ต้องพากันรอด

     เพื่อให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับการดำเนินงานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  ซึ่งมีโครงการชื่อว่า “ อว.พารอด ” เปลี่ยนกลุ่ม “รอ” เป็น “รอด” ได้แก่ 1. รอด ด้วยข้อมูลความรู้, 2. รอด ด้วยกล่องพารอด ยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย,และ 3. รอด ด้วยกำลังใจ ของอาสาสมัคร นิสิตนักศึกษา และ ผู้เชี่ยวชาญ โดยเป็นการรวมพลังทุกภาคส่วนของหน่วยงานสังกัดกระทรวงอว. ส่งต่อ       “ กำลังใจ ” และความช่วยเหลือทั้ง 3 สิ่งนี้ แก่ประชาชนคนไทยให้ผ่านวิกฤตโควิดนี้ไปด้วยกัน

     ในส่วนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น ในระยะสั้นและเร่งด่วน ได้มอบนโยบายให้ทุกวิทยาเขตช่วยดูแลประชาชน โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยและวิทยาเขตต่างๆ นอกจากช่วยดำเนินการบริการฉีดวัคซีนแล้ว การจัดส่ง อาหาร น้ำ และนม สำหรับช่วยเหลือประชาชนที่ลำบากหรือตกงานเป็นเรื่องเร่งด่วน ร่วมกับการช่วยเหลือในด้านให้คำแนะนำด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการระบาดและการติดเชื้อโควิด-19 รวมทั้งดูแลผู้ที่ถูกกักตัวและติดเชื้อ home isolation หรือ community isolation

       โดยมอบนโยบายให้วิทยาเขตและส่วนงานสถานีวิจัย สนับสนุนภาครัฐและเปิดพื้นที่เป็น field hospital, local quarantine, community isolation และ home isolation ซึ่งเกษตรศาสตร์เข้าไปสนับสนุนภารกิจต่างๆ ในเกือบทุกวิทยาเขต และหลายสถานี โดยจัดเตรียมเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับ home isolation ในโครงการ KU help health ซึ่งเริ่มดำเนินการส่งกล่อง KU help health อุปกรณ์ช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อดูแลตนเองระหว่าง home isolation แก่ นิสิต บุคลากร และชุมชนใกล้เคียงมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค.64 – 7 ส.ค. 64 รวม 81 กล่อง  นอกจากนี้ยังได้ให้ส่วนงานระดับคณะ สำนัก สถาบัน เร่งจัดทำโครงการช่วยประชาชนให้รอด

 สำหรับโครงการ “ KU พารอด ” มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีดังนี้ 1. เปิดโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สนับสนุน จังหวัดและ หน่วยงานท้องถิ่น ในการเปิดโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอย ได้แก่  

    1.1 โรงพยาบาลสนาม แห่งที่ 2 จังหวัดสุพรรณบุรี ที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี

    1.2 ศูนย์พักคอย 3 แห่ง ได้แก่ สถานีฝึกอาชีพ ตำบลเพนียด จังหวัดลพบุรี คณะเกษตร ,สถานีฝึกนิสิตวนศาสตร์ วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ,และวิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งมีผู้ติดเชื้อมาเข้ารับการดูแลโดยสาธารณสุขในจังหวัดต่างๆ จนเต็มจำนวนเตียงที่ได้กำหนดไว้ และยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

      2.ดำเนินการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ชุดความรู้ในเรื่องโควิด-19 ที่เป็นประโยชน์ต่อนิสิต/บุคลากร อาทิ การปฏิบัติตนเมื่อพบว่าติดเชื้อโควิด-19 , แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังการระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาตามมาตรการด้านสาธารณสุข, การ work from home / learn from home ให้ห่างไกลโควิด-19, แนวทางการรักษาตัวเองแบบ Home Isolation

       3.โครงการ KU Help Health เพื่อจัดส่ง KU help health box ประกอบด้วยอุปกรณ์เวชภัณฑ์ ยา และอาหารแห้งที่จำเป็นให้กับผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวอยู่ ณ ที่พักอาศัย เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโควิดเบื้องต้นได้ เนื่องจากโรงพยาบาลไม่สามารถรองรับผู้ป่วยซึ่งปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยมีการจัดส่ง KU Help Health Box ให้แก่นิสิต บุคลากร มก. และชุมชนใกล้เคียงมหาวิทยาลัย

      4.สร้างระบบ KU home isolation บริหารจัดการและติดตามอาการดูแลนิสิตที่ป่วยเป็นโควิด-19 ที่รักษาตัวที่บ้าน โดยทีมงานแพทย์และพยาบาล สถานพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เจ้าหน้าที่กองกิจการนิสิต และผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำนิสิต บุคลากร และชุมชนใกล้เคียงมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามแนวทางการรักษาตัวที่บ้านอย่างถูกต้องและปลอดภัย

      5.สนับสนุนอาหาร น้ำดื่ม และนมเกษตรแก่ผู้ป่วย ผู้กักตัว และผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยทุกวิทยาเขต อาทิ ชุมชนโรงสูบ ชุมชนซอยพหลโยธิน 45 ชุมชนวัดราชนัดดาที่กักตัวอยู่ในชุมชน และกลุ่มคนไร้บ้านบริเวณถนนราชดำเนิน เป็นต้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ ความทุกข์ยากของนิสิต ผู้ปกครอง ตลอดจนประชาชนทั่วไป

      6.โครงการนิสิตอาสาสู้ภัยโควิด ส่งเสริมให้นิสิตออกมาทำกิจกรรมจิตอาสาในแบบที่ตนถนัดหรือสนใจโดยเน้นทำกิจกรรมช่วยเหลือชุมชน หรือสังคม บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่เดือดร้อนได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ข่าวโดย…. ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์