บทพิสูจน์ที่บังคลาเทศ เกษตรกรลดใช้เคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช แถมมีรายได้เพิ่มจากการปลูกมะเขือม่วงจีเอ็ม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

       จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในเดือนพฤศจิกายน2563 ใน American Journal of Agricultural Economicsแสดงให้เห็นว่า เกษตรกรที่ปลูกมะเขือม่วงบีที ที่ต้านทานแมลงศัตรูช่วยเพิ่มผลผลิตได้ร้อยละ51 หรือสามารถเพิ่มผลผลิตได้สูงถึง570 กิโลกรัมต่อไร่และลดต้นทุนการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูลงได้ร้อยละ37.5

    เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือม่วงดัดแปลงพันธุกรรม สามารถขายมะเขือม่วงได้มากขึ้นและได้รับราคาที่สูงขึ้น ในขณะที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ส่งผลให้มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 128

    นอกจากนี้ยังพบว่า เกษตรกรที่ปลูกมะเขือม่วงดัดแปลงพันธุกรรม ทำให้มีการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในปริมาณน้อยลง และผลที่ได้จากการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชน้อยลง ทำให้ช่วยลดความเป็นพิษของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้มากถึงร้อยละ76 ส่งผลให้เกษตรกรมีโอกาสน้อยลงที่จะแสดงอาการที่เกิดจากพิษของสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรู ทำให้ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลในขณะที่เพาะปลูกมะเขือม่วงดัดแปลงพันธุกรรม

    ครับ เป็นอีกหนึ่งรายงานล่าสุดที่แสดงให้เห็นว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรมสามารถลดการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรรายย่อย

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://allianceforscience.cornell.edu/blog/2020/12/gm-eggplant-helps-farmers-reduce-pesticide-use-and-increase-profits-study-finds/