โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยวสภาษิต
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งเริ่มปลูกพืชดัดแปลง พันธุกรรมเชิงพาณิชย์มาตั้งแต่ปี 2539 และการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีหลายลักษณะร่วมกัน (stacked traits) ก็เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ในปี 2562 ประมาณว่าร้อยละ 89 ของพื้นที่ปลูกฝ้าย และร้อยละ 80 ของพื้นที่ปลูกข้าวโพด ปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ที่มีลักษณะร่วมกันซึ่งเป็นการยอมรับของพืชดัดแปลงพันธุกรรมในสหรัฐอเมริกา ที่เผยแพร่โดย Department of Agriculture EconomicResearch Service (USDA-ERS)
พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืช (Herbicide tolerant – HT) มีศักยภาพช่วยให้เกษตรกรมีทางเลือกที่หลากหลาย สำหรับการควบคุมวัชพืชที่มีประสิทธิภาพ พืช HTได้รับการรับรองในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2539 โดยถั่วเหลือง HT มีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17 ในปี 2540 เป็นร้อยละ 68 ในปี 2544 ก่อนที่จะถึงร้อยละ 94 ในปี 2557 พื้นที่ปลูกฝ้าย HT ขยายตัวจากประมาณร้อยละ 10 ในปี2540 เป็นร้อยละ 56 ในปี 2544 และ สูงถึงร้อยละ 95 ในปี 2562 สำหรับอัตราการยอมรับข้าวโพด HT เพิ่มขึ้น
หลังจากช่วงเปลี่ยนศตวรรษ ปัจจุบันประมาณร้อยละ 90 ของพื้นที่ปลูกข้าวโพดในประเทศสหรัฐอเมริกาถูกปลูกด้วยเมล็ด HT พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงศัตรู ที่มียีนจากแบคทีเรียดิน Bacillus thuringiensis (Bt)
ที่ผลิตโปรตีนฆ่าแมลงสำหรับข้าวโพดและฝ้ายมีจำหน่ายให้ปลูกได้ตั้งแต่ปี 2539 พื้นที่ปลูกข้าวโพด Bt ได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8 ในปี 2540 เป็นร้อยละ 19 ในปี 2543 ก่อนที่จะถึงร้อยละ 83 ในปี 2562 พื้นที่ปลูกฝ้าย Bt ก็ขยายตัวจากร้อยละ 15 ในปี 2540 เป็นร้อยละ 37 ในปี 2544 ปัจจุบันพื้นที่ปลูกฝ้ายของสหรัฐร้อยละ 92 ปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงศัตรู
ครับ ก็เป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าการยอมรับพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั้ง 3 ชนิดในสหรัฐอเมริกาใกล้ถึงจุดอิ่มตัว แนวทางการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปลูกทั้ง 3 พืชดังกล่าวจำเป็นต้องขยายไปในทุกภาคส่วนของโลกที่มีความต้องการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้บริโภค
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ers.usda.gov/data-products/adoption-of-genetically-engineered-crops-in-the-